หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินการประเมิน

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-UHKH-343B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินการประเมิน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
N/A

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
N/A

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1012.1

ชี้แจงแผนการประเมินร่วมกับผู้เข้ารับการประเมิน

1. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้เข้ารับการประเมินมีความพร้อมก่อนการประเมินตามแผนการประเมินและสำรวจความแตกต่างของบุคคล

1012.1.01 215727
1012.1

ชี้แจงแผนการประเมินร่วมกับผู้เข้ารับการประเมิน

2. ตกลงเห็นชอบการนัดหมายเวลาร่วมกัน เมื่อมีการประเมินสมรรถนะในสถานประกอบการ

1012.1.02 215728
1012.1

ชี้แจงแผนการประเมินร่วมกับผู้เข้ารับการประเมิน

3. กำหนดบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนขอบเขต และวิธีการ ในกรณีที่ต้องมีการช่วยเหลือ สนับสนุน ในระหว่างการประเมิน

1012.1.03 215729
1012.1

ชี้แจงแผนการประเมินร่วมกับผู้เข้ารับการประเมิน

4. ชี้แจงหรือระบุทางเลือกอื่นๆ เพื่อหาข้อสรุปและอธิบายให้ชัดเจน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแผนการประเมิน ในกรณีที่มีข้อคิดเห็นที่แตกต่างกัน

1012.1.04 215730
1012.1

ชี้แจงแผนการประเมินร่วมกับผู้เข้ารับการประเมิน

5. ทบทวน ปรับปรุงแผนการประเมินใหม่ที่ได้ผ่านการตกลงเห็นชอบร่วมกัน

1012.1.05 215731
1012.2

ดำเนินการประเมินให้เป็นไปตามแผนการที่ได้เตรียมการไว้

1. เลือกใช้หลักฐานจากสถานประกอบการและจากสถานการณ์จำลองได้ตามที่มาตรฐานอาชีพกำหนดโดยมีความน่าเชื่อถือ และเที่ยงธรรม

1012.2.01 215732
1012.2

ดำเนินการประเมินให้เป็นไปตามแผนการที่ได้เตรียมการไว้

2. ใช้คำถามที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะในมาตรฐานอาชีพได้ตามที่เครื่องมือประเมินกำหนด หรืออยู่ในขอบข่ายของเกณฑ์การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

1012.2.02 215733
1012.2

ดำเนินการประเมินให้เป็นไปตามแผนการที่ได้เตรียมการไว้

3. แสดงผลความก้าวหน้าของการประเมินให้ผู้เข้ารับการประเมินทราบ

1012.2.03 215734
1012.2

ดำเนินการประเมินให้เป็นไปตามแผนการที่ได้เตรียมการไว้

4. ดูแลผู้เข้ารับการประเมินให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย

1012.2.04 215735
1012.2

ดำเนินการประเมินให้เป็นไปตามแผนการที่ได้เตรียมการไว้

5. ประเมินด้วยความเป็นธรรม ตามเกณฑ์ในมาตรฐานอาชีพ

1012.2.05 215736
1012.2

ดำเนินการประเมินให้เป็นไปตามแผนการที่ได้เตรียมการไว้

6. ดูแลผู้เข้ารับการประเมิน โดยปราศจากการรบกวนระหว่างการทำงาน หากมีการประเมิน ณ สถานประกอบการ

1012.2.06 215737
1012.2

ดำเนินการประเมินให้เป็นไปตามแผนการที่ได้เตรียมการไว้

7. ระบุขอบเขตความรู้ที่ครอบคลุมการทำงาน โดยสังเกตการณ์จากการปฏิบัติงานของผู้เข้ารับการประเมิน

1012.2.07 215738
1012.3

วิเคราะห์ผลการประเมิน

1. วิเคราะห์ความสอดคล้องของหลักฐานประกอบการประเมินกับสมรรถนะที่ต้องการในมาตรฐานอาชีพ

1012.3.01 215739
1012.3

วิเคราะห์ผลการประเมิน

2. วิเคราะห์ผลจากหลักฐานประกอบการประเมินด้วยความเที่ยงตรง มีเหตุผล และเป็นธรรม

1012.3.02 215740
1012.3

วิเคราะห์ผลการประเมิน

3. วิเคราะห์และประเมินคุณภาพของหลักฐานประกอบการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงานในสมรรถนะของมาตรฐานอาชีพ

1012.3.03 215741
1012.3

วิเคราะห์ผลการประเมิน

4. ปรับการประเมินได้บ้างในบางกรณี เพื่อทำให้มั่นใจว่าเกิดความเป็นธรรมในกระบวนการประเมิน

1012.3.04 215742
1012.3

วิเคราะห์ผลการประเมิน

5. ประเมินหลักฐานประกอบการประเมินที่ต้องเกี่ยวข้องกับการยอมรับเหตุสุดวิสัยนอกเหนือการควบคุมของผู้เข้ารับการประเมิน ซึ่งต้องทำโดยปราศจากความลำเอียง และเป็นไปอย่างเที่ยงธรรม

1012.3.05 215743
1012.4

ตัดสินผลการประเมิน

1. ตัดสินผลการประเมินตามคุณภาพหลักฐานประกอบการประเมินที่เพียงพออันแสดงให้เห็นถึงสมรรถนะในการปฏิบัติงาน และความรู้ของผู้เข้ารับการประเมิน

1012.4.01 215744
1012.4

ตัดสินผลการประเมิน

2. ตัดสินผลการประเมินสมรรถนะในการปฏิบัติงานของผู้เข้ารับการประเมินและหลักฐานประกอบการประเมินต่างๆในช่วงระยะเวลาที่กำหนด

1012.4.02 215745
1012.4

ตัดสินผลการประเมิน

3. ตัดสินผลสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินต้องกระทำด้วยความรอบคอบ เป็นธรรม เที่ยงตรง ปราศจากความลำเอียง โปร่งใส และเชื่อถือได้

1012.4.03 215746
1012.4

ตัดสินผลการประเมิน

4. ปรึกษาและเห็นชอบผลการประเมินร่วมกับเจ้าหน้าที่สอบที่ทำการประเมินร่วมกัน

1012.4.04 215747
1012.4

ตัดสินผลการประเมิน

5. ปรึกษาหารือเพื่อหาข้อแนะนำกับเจ้าหน้าที่สอบที่มีประสบการณ์มากกว่า เมื่อเกิดความไม่แน่ใจหรือสับสนในการตัดสินผลการประเมิน

1012.4.05 215748
1012.4

ตัดสินผลการประเมิน

6. ตรวจสอบว่าผลการตัดสินสอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้

1012.4.06 215749
1012.4

ตัดสินผลการประเมิน

7. จัดเก็บหลักฐานประกอบการประเมินและผลการตัดสินไว้อย่างเป็นระบบ และสอบทวนย้อนหลังได้

1012.4.07 215750

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้ในสาขาอาชีพที่จะทำการประเมิน ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานอาชีพที่จะทำการประเมิน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

•    วิเคราะห์และตีความทักษะเพื่อ 

   -  จำแนกมาตรฐานสมรรถนะ

   -  ตีความเครื่องมือประเมินและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน ตรวจสอบ ในส่วนที่ใช้ RPL

   -  กำหนดความต้องการของผู้เข้ารับการประเมิน

   -  ตัดสินการประเมินบนพื้นฐานของหลักฐานที่นำมาประกอบการประเมิน

•    ทักษะในการสังเกตการณ์เพื่อ 

   -  รับเอาประสบการณ์/การเรียนรู้ของผู้เข้ารับการประเมิน

   -  สิ่งที่ผู้เข้ารับการประเมินต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ใน Standard

   -  ชี้ให้เห็นเมื่อผู้เข้ารับการประเมินอาจความช่วยเหลือในระหว่างกระบวนการประเมิน

•    ทักษะในการประเมินและค้นคว้า

   -  เข้าสู่ / ศึกษานโยบายระบบการประเมินและกระบวนการประเมิน

   -  ประเมินหลักฐาน

   -  ประเมินผลกระบวนการการประเมิน

•    ทักษะในการคิด : เพื่อ :

   -  ให้น้ำหนักกับหลักฐานประกอบการประเมินและการตัดสินใจ

   -  พิจารณาและให้ข้อเสนอแนะการปรับอย่างมีเหตุผล

•    ทักษะในการตัดสินใจ : เพื่อ :

   -  RPL ของผู้เข้ารับการประเมิน (หากมี)

   -  ตัดสินใจบนสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมิน

•    ทักษะในการอ่าน และเขียน เพื่อ

   -  อ่านและตีความข้อมูลที่สำคัญเพื่อดำเนินการประเมิน

   -  เตรียมเอกสารที่ต้องใช้บันทึก และรายงานผลของการประเมิน ตามที่องค์กรรับรองกำหนด (หรือ สคช. กำหนด)

•    ทักษะการสื่อสารและการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นเพื่อ

   -  อธิบายการประเมิน รวมถึงกระบวนการเทียบโอนประสบการณ์ 

   -  ในการแนะนำที่ชัดเจนที่และตรงไปตรงมา

   -  ถามคำถามที่ได้ผลดี

   -  หารือกระบวนการกับเจ้าหน้าที่สอบท่านอื่นๆ

   -  ให้ข้อเสนอแนะกลับ ที่เหมาะสม

   -  พูดคุยผลของการประเมิน

   -  ใช้ภาษาที่เหมาะสมกับผู้เข้ารับการประเมิน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

•    การประเมินฐานสมรรถนะ รวมถึง

   -  มาตรฐานสมรรถนะ/ คุณวุฒิวิชาชีพ

   -  โครงสร้างและการใช้ มาตรฐานสมรรถนะ

   -  หลักการของการประเมินและการนำไปใช้

   -  หลักการในการพิจารณาหลักฐาน

   -  ขอบเขตของวัตถุประสงค์ในการประเมิน และ บริบทในการประเมิน รวมถึง RPL


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

บันทึกผลการประเมิน  check list การเตรียมงานและการจัดเก็บเอกสาร

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ใบประกาศนียบัตรผ่านการอบรมเจ้าหน้าที่สอบของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง














แผนการประเมิน อาจหมายรวมถึง เอกสารการวางแผนโดยรวม ระบุถึง

- ประเมินอะไร

- ดำเนินการประเมินเมื่อไร

- ดำเนินการประเมินที่ไหน

- ดำเนินการประเมินอย่างไร
ความแตกต่างของบุคคล อาจหมายรวมถึง - ความชำนาญในการใช้ภาษา การพูด การอ่าน การเขียน และการคำนวณ

- ความซับซ้อนหรือข้อด้อยทางกายภาพ

- ความซับซ้อนหรือข้อด้อยด้านการเรียนรู้ (เช่น เชื่องช้า สมาธิสั้น)

- เงื่อนไขทางการแพทย์ที่อาจมีผลกระทบต่อการประเมิน เช่น หอบหืด เบาหวาน ลมบ้าหมู 

- ศาสนาและความเชื่อ

- ภาพลักษณ์ทางวัฒนธรรมและแนวความคิด

- อายุ

-เพศ


หลักฐาน เลือกประเมินหลักฐานประกอบการประเมินอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานอาชีพ ประเมินหลักฐานอื่นๆที่เกิดจากการทำงานของผู้เข้ารับการประเมิน

วิธีการประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินมีความเที่ยงตรงและสอดคล้องกับหลักฐานตามมาตรฐานอาชีพ

ใช้คำถามที่ชัดเจน โดยปราศจากการชี้นำในการประเมินสมรรถนะ และสามารถตอบคำถามของผู้เข้ารับการประเมินได้ตามความเหมาะสม

ปรึกษาหารือกับบุคคลที่เหมาะสม หมายรวมถึง เจ้าหน้าที่องค์กรรับรอง นายจ้าง ผู้บังคับบัญชา 

วิเคราะห์ผลจากหลักฐานประกอบการประเมินที่มีปริมาณเพียงพอ เป็นปัจจุบัน เป็นผลงานของผู้เข้ารับการประเมินจริง และน่าเชื่อถือ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

- ข้อเขียน

- สัมภาษณ์

- ผู้เข้าสู่การรับรองเป็นเจ้าหน้าที่สอบต้องติดตามกระบวนการประเมินของเจ้าหน้าที่สอบในสาขาวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญจำนวน อย่างน้อย 2 ครั้ง 

 



ยินดีต้อนรับ