หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมการประเมิน

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-NCYN-342B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมการประเมิน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
N/A

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
N/A

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1011.1

ตรวจสอบหน่วยสมรรถนะตามมาตรฐานอาชีพที่จะทำการประเมิน

1. ระบุและแยกแยะสมรรถนะมาตรฐานอาชีพที่ต้องประเมินได้อย่างครบถ้วน

1011.1.01 215710
1011.1

ตรวจสอบหน่วยสมรรถนะตามมาตรฐานอาชีพที่จะทำการประเมิน

2. เข้าใจความหมายของนิยามศัพท์เฉพาะที่ใช้ในมาตรฐานอาชีพ

1011.1.02 215711
1011.1

ตรวจสอบหน่วยสมรรถนะตามมาตรฐานอาชีพที่จะทำการประเมิน

3. รวบรวมข้อมูลด้านกฎ ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานอาชีพ

1011.1.03 215712
1011.1

ตรวจสอบหน่วยสมรรถนะตามมาตรฐานอาชีพที่จะทำการประเมิน

4. ประยุกต์ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ให้เข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติ

1011.1.04 215713
1011.2

ตรวจสอบและแนะนำรายการหลักฐานประกอบการประเมินที่ต้องใช้สำหรับมาตรฐานอาชีพที่จะดำเนินการประเมิน

1. ระบุหลักฐานประกอบการประเมินที่ต้องการเพื่อการประเมินได้ครบถ้วน สอดคล้องกับสมรรถนะที่ต้องการประเมิน

1011.2.01 215714
1011.2

ตรวจสอบและแนะนำรายการหลักฐานประกอบการประเมินที่ต้องใช้สำหรับมาตรฐานอาชีพที่จะดำเนินการประเมิน

2. แนะนำและสนับสนุนการนำเอาหลักฐานและ/หรือความสามารถจากประสบการณ์ของผู้เข้ารับการประเมินมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการประเมิน

1011.2.02 215715
1011.2

ตรวจสอบและแนะนำรายการหลักฐานประกอบการประเมินที่ต้องใช้สำหรับมาตรฐานอาชีพที่จะดำเนินการประเมิน

3. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าหลักฐานประกอบการประเมินเป็นผลงานของผู้เข้ารับการประเมิน

1011.2.03 215716
1011.2

ตรวจสอบและแนะนำรายการหลักฐานประกอบการประเมินที่ต้องใช้สำหรับมาตรฐานอาชีพที่จะดำเนินการประเมิน

4. คัดเลือก และประเมินหลักฐานประกอบการประเมินจากบุคคลอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลงานของผู้เข้ารับการประเมิน

1011.2.04 215717
1011.3

ตรวจสอบวิธีการ  กระบวนการและบริบทในการประเมิน

1. กำหนดเวลา ซักซ้อมกระบวนการ วิธีการประเมินและการใช้เครื่องมือกับทีมเจ้าหน้าที่สอบ ตามคู่มือการประเมินมาตรฐานอาชีพ

1011.3.01 215718
1011.3

ตรวจสอบวิธีการ  กระบวนการและบริบทในการประเมิน

2. ตรวจสอบกระบวนการ บริบทและวิธีการให้เป็นไปตามคู่มือเจ้าหน้าที่สอบตามที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพได้กำหนด

1011.3.02 215719
1011.3

ตรวจสอบวิธีการ  กระบวนการและบริบทในการประเมิน

3. ตรวจสอบวิธีการประเมินให้สามารถยืดหยุ่น สอดคล้องกับลักษณะและความถนัดของผู้เข้ารับการประเมิน

1011.3.03 215720
1011.4

ตรวจสอบเครื่องมือในการประเมิน

1. เข้าใจข้อความในเครื่องมืออย่าง   ถูกต้อง สื่อความหมายให้เข้าใจได้ตรงกัน

1011.4.01 215721
1011.4

ตรวจสอบเครื่องมือในการประเมิน

2. ตรวจสอบเครื่องมือให้เกิดความมั่นใจในการใช้ประเมินได้อย่างเป็นธรรม ปลอดภัย และมีประสิทธิผล

1011.4.02 215722
1011.4

ตรวจสอบเครื่องมือในการประเมิน

3. ใช้เครื่องมือในการประเมินได้อย่างเหมาะสมและยืดหยุ่น สามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับวิธีการประเมินและสภาพจริงในการประเมินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยยึดแนวทางของเครื่องมือประเมิน

1011.4.03 215723
1011.5

จัดทำแผนเพื่อเตรียมการประเมิน

1. เตรียมแผนงานครอบคลุมกระบวนการ และขั้นตอนการประเมินสอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพอย่างครบถ้วนและชัดเจน

1011.5.01 215724
1011.5

จัดทำแผนเพื่อเตรียมการประเมิน

2. กำหนดผู้รับผิดชอบปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอน

1011.5.02 215725
1011.5

จัดทำแผนเพื่อเตรียมการประเมิน

3. แสดงแผนงานที่มีรายละเอียดในการประเมินที่โปร่งใส ชัดเจน เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินเข้าใจได้โดยง่าย

1011.5.03 215726

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้ในสาขาอาชีพที่จะทำการประเมินและทักษะที่มีต้องสูงกว่าคุณวุฒิของผู้เข้ารับการประเมิน

ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานอาชีพที่จะทำการประเมิน

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

•    ทักษะในการตีความ

    -  ตีความมาตรฐานอาชีพ และเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน ตลอดจนอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในหน้าที่ที่ต้องมีการปรับให้เข้ากับสถานการณ์ในการประเมิน

    -  ระบุวิธีการประเมินแบบบูรณาการหากจำเป็นต้องมี

    -  ใช้มาตรฐานอาชีพในบริบทของสภาพแวดล้อมของการประเมิน

    -  คำนึงถึงการเข้าถึงและความถูกต้องให้กับผู้เข้ารับการประเมินที่หลากหลาย

•    ทักษะในการศึกษาค้นคว้าและประเมินผล

    -  ศึกษามาตรฐานอาชีพ, เครื่องมือประเมิน และปัจจัยที่สำคัญต่อการประเมิน

    -  ศึกษา/เรียนรู้คุณลักษณะเบื้องต้นของผู้เข้ารับประเมิน และเหตุผลของความต้องการปรับการประเมิน

•    ทักษะในการอ่านและเขียนเพื่อตีความข้อมูลสำคัญในการดำเนินการประเมินและการกระบวนการรับรองบุคคล

•    ทักษะในการสื่อสารเพื่อสนทนาแลกเปลี่ยนในเรื่องการประเมิน ตลอดจนกระบวนการเทียบโอนประสบการณ์กับผู้เข้ารับการประเมินและเจ้าหน้าที่สอบท่านอื่นๆ

•    ทักษะด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น

    -  แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการเข้าถึงและการคำนึงถึงความถูกต้องและความหลากหลายของผู้เข้ารับการประเมิน

    -  สนับสนุนให้เกิดการนำไปปฏิบัติในเรื่องของความถูกต้อง, ความยุติธรรม, ความน่าเชื่อถือ, ความเป็นธรรม และความยึดหยุ่นในการเตรียมกระบวนการประเมิน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

•    จริยธรรมและแนวทางการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่สอบของ สคช.

•    การประเมินตามพื้นฐานของสมรรถนะ ประกอบด้วย

    -  มุ่งเน้นในการปฏิบัติงาน

    -  พื้นฐานของมาตรฐานอาชีพ

    -  พื้นฐานของหลักฐานที่นำมาประกอบ

    -  เกณฑ์ที่ได้เทียบเคียง/อ้างอิง

•    บริบทที่แตกต่างในการประเมิน (รวมถึงการเทียบโอนประสบการณ์)

•    อ่านและตีความมาตรฐานอาชีพที่ได้กำหนดไว้ เพื่อเป็นเกณฑ์ในการประเมิน รวมถึงเครื่องมือประเมิน

•    วิธีการประเมินที่หลากหลายประเภท

•    แนวทางของหลักฐานและแนวทางในการรวบรวมหลักฐาน

•    เป้าหมายและลักษณะของหลักฐานเพื่อการประเมิน และการนำประเภทหลักฐานที่แตกต่างกันมาใช้ในการประเมินสมรรถนะ รวมถึงการเทียบโอนประสบการณ์

•    ความรู้เกี่ยวกับสมรรถนะในมาตรฐานอาชีพที่จะประเมิน เครื่องมือประเมิน และกระบวนการประเมิน

ความรู้เกี่ยวกับกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) 

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

แผนการประเมิน แฟ้มสะสมงาน Check list 

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ใบประกาศนียบัตรผ่านการอบรมเจ้าหน้าที่สอบของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ

คำแนะนำในการประเมิน

วิธีการประเมิน


สอบข้อเขียน/สัมภาษณ์

ตรวจสอบหลักฐาน

สังเกตการณ์ปฏิบัติงานจริง

สถานการณ์จำลอง

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง


































วัตถุประสงค์ของการประเมินทดสอบ/การเทียบโอนประสบการณ์

อาจหมายรวมถึง
- การรับรองสมรรถนะที่มีอยู่ปัจจุบันของผู้เข้ารับการประเมิน

- การบ่งบอกถึงความต้องการด้านภาษา การอ่าน การพูด การเขียน การคำณวน ของผู้เข้ารับการประเมิน
บริบทในการประเมินทดสอบ อาจหมายรวมถึง - สภาพแวดล้อมระหว่างการประเมิน/สถานที่ทำงานจริงหรือจำลอง

- โอกาสในการรวบรวมหลักฐานเพื่อนำมาประกอบการประเมิน

- ความเชื่อมโยงระหว่างมาตรฐานอาชีพ กับ

- หลักฐานประกอบการเทียบโอนประสบการณ์

- การปฏิบัติงานในที่ทำงานของผู้เข้ารับการประเมิน

- ใครคือเจ้าหน้าที่สอบ/เทียบโอนประสบการณ์
สิ่งจำเป็นด้านองค์กร ระเบียบข้อบังคับ และจริยธรรม อาจหมายรวมถึง - นโยบายด้านระบบการประเมินทดสอบและกรบวนการ

- การจัดทำรายงาน บันทึก และการนำเข้าสู่ระบบสำหรับการประเมินทดสอบ

- ระบบการประกันคุณภาพ

- กรอบคุณวุฒิวิชาชีพ 

- ความเท่าเทียม

- การรักษาความลับและความเป็นส่วนตัว
ประเภทของหลักฐานประกอบการประเมิน อาจหมายรวมถึง - หลักฐานทางตรง

- หลักฐานทางอ้อม

- หลักฐานเสริม
หลักเกณฑ์ของหลักฐานประกอบการประเมิน ต้องสร้างความมั่นใจได้ว่า หลักฐานนั้น - เชื่อถือได้

- เพียงพอ

- เป็นของจริง

- เป็นปัจจุบัน
วิธีการประเมิน เป็นเทคนิคเฉพาะที่สามารถใช้ในการเก็บหลักฐานและการประเมินทดสอบ ซึ่งอาจหมายรวมถึง (11 วิธีของสถาบันฯ)

- การสังเกตการณ์โดยตรง

- ทำงานจริง/เวลาที่ปฏิบัติงานจริงในสถานที่ทำงาน 

- การปฏิบัติงานในสถานการณ์และสภาพแวดล้อมจำลอง

- การปฏิบัติงานที่จัดทำขึ้น เช่น

- การจำลองและการแสดงบทบาท

- โครงการ

- การนำเสนอผลงาน

- ใบปฏิบัติงาน/ใบสั่งงาน

- การตั้งคำถาม เช่น

- คำถามที่เป็นข้อเขียน 

- สัมภาษณ์

- การประเมินตัวเอง

- ถามปากเปล่า

- แบบสอบถาม

- การทำข้อสอบข้อเขียนหรือข้อสอบสัมภาษณ์ (สำหรับชั้นคุณวุฒิสูง)

- แฟ้มหลักฐานประกอบการประเมิน เช่น

- ตัวย่างผลงานที่จัดทำโดยผู้เข้ารับการประเมิน

- ผลิตภัณฑ์งานที่มีเอกสารประกอบ

- หนังสือพิมพ์

- ข้อมูลที่เกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิต

- หลักฐานอื่นๆ เช่น

- หนังสือรับรองจากนายจ้าง หรือ หัวหน้างาน

- หลักฐานในการได้ผ่านการอบรม

- ผลงานสำเร็จที่ได้รับการรับรอง
แผนการประเมิน อาจหมายรวมถึง เอกสารการวางแผนโดยรวม ระบุถึง

- ประเมินอะไร

- ดำเนินการประเมินเมื่อไร

- ดำเนินการประเมินที่ไหน

- ดำเนินการประเมินอย่างไร


 



วิธีการประเมิน ต้องคำนึงถึง วิธีการประเมินที่มีความเที่ยงตรง และเชื่อถือได้ มีความคุ้มค่า ถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นธรรมแก่ผู้เข้ารับการประเมิน เปรียบเทียบวิธีการประเมินแบบต่างๆ เพื่อระบุจุดแข็ง จุดอ่อน และการประยุกต์ใช้งาน

แผนงาน มีการกำหนดเวลาในการดำเนินการอย่างเหมาะสม แผนงานเอื้อผู้เข้ารับการประเมินอยู่ในสภาวะที่มีความพร้อมมากที่สุด

 



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

- ข้อเขียน

- สัมภาษณ์

- ผู้เข้าสู่การรับรองเป็นเจ้าหน้าที่สอบต้องติดตามกระบวนการประเมินของเจ้าหน้าที่สอบในสาขาวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญจำนวน อย่างน้อย 2 ครั้ง 

 



ยินดีต้อนรับ