หน่วยสมรรถนะ
ประเมินสาเหตุความผิดปกติเพื่อการซ่อม โดรนทางการเกษตร
สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ARC-PYFC-1062A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ประเมินสาเหตุความผิดปกติเพื่อการซ่อม โดรนทางการเกษตร |
3. ทบทวนครั้งที่ | / |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
N/A
1 8341 ผู้ควบคุมเครื่องจักรโรงงานชนิดเคลื่อนที่ได้ที่ใช้ในด้านการเกษตรและป่าไม้ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่มีสมรรถนะประเมินสาเหตุความผิดปกติเพื่อการซ่อมโดรนทางการเกษตร ต้องมีทักษะและความรู้ในการประเมินสาเหตุความผิดปกติและตรวจสอบความผิดปกติเพื่อทำการซ่อมโดรนทางการเกษตร และให้คำแนะนำการใช้งานแก่ผู้นำโดรนมาให้ซ่อมเพื่อป้องกันโครงสร้างและอุปกรณ์ชำรุดเสียหาย |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ช่างซ่อมบำรุงโดรนทางการเกษตร (Drone repair & maintenance for agriculture technician) |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
10.1 พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 มาตรา 24 10.2 หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับ หรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมจากภายนอก พ.ศ. 255810.3 ประกาศ กสทช. เรื่องเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ สำหรับอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน สำหรับใช้งานเป็นการทั่วไป |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
A251 ประเมินสาเหตุความผิดปกติได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
1.ประเมินสาเหตุความผิดปกติของโดรนจากการสอบถามผู้ใช้งาน |
A251.01 | 215643 |
A251 ประเมินสาเหตุความผิดปกติได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
2.ประเมินสาเหตุความผิดปกติของโดรนจากการสังเกตของช่าง |
A251.02 | 215644 |
A252 ตรวจสอบความผิดปกติเพื่อการซ่อมโดรนได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
1.ระบุข้อควรระวังในการซ่อมโครงสร้างและอุปกรณ์หลัก |
A252.01 | 215645 |
A252 ตรวจสอบความผิดปกติเพื่อการซ่อมโดรนได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
2.ตรวจสอบความผิดปกติเพื่อซ่อมโครงสร้างและอุปกรณ์หลัก |
A252.02 | 215646 |
A252 ตรวจสอบความผิดปกติเพื่อการซ่อมโดรนได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
3. ระบุข้อควรระวังในการซ่อมอุปกรณ์ต่อพ่วง |
A252.03 | 215647 |
A252 ตรวจสอบความผิดปกติเพื่อการซ่อมโดรนได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
4. ตรวจสอบความผิดปกติเพื่อซ่อมอุปกรณ์ต่อพ่วง |
A252.04 | 215648 |
A253 ให้คำแนะนำการใช้งานเพื่อป้องกันโดรนทางการเกษตรชำรุดเสียหายได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
1.ระบุข้อควรระวังในการใช้งานโดรนทางการเกษตร |
A253.01 | 215649 |
A253 ให้คำแนะนำการใช้งานเพื่อป้องกันโดรนทางการเกษตรชำรุดเสียหายได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
2.แนะนำวิธีการใช้งานโดรนทางการเกษตรในกรณีฉุกเฉิน |
A253.02 | 215650 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
1. มีทักษะในการฟัง พูด อ่าน เขียน 2. มีความรู้ในอุปกรณ์ช่างซ่อม 3. มีทักษะในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ช่างซ่อม 4. มีความรู้ในเรื่องของความปลอดภัยขณะปฏิบัติงาน 5. มีทักษะในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ทักษะด้านการถอดประกอบโดรนตามคำแนะนำของคู่มือแต่ละรุ่น 2. ทักษะการตรวจสอบการซ่อม 3. ทักษะในการซ่อมบำรุงโดรน 4. ทักในการให้คำแนะนำการใช้งานเพื่อป้องกันอุปกรณ์ชำรุดเสียหาย (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของโดรนตามคู่มือของแต่ละรุ่น 2. ความรู้ในการตรวจสอบการทำงานของโดรน 3. ความรู้ด้านอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมโดรน 4. ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอุปกรณ์ชำรุดเสียหาย |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ ผลจากการสอบสัมภาษณ์ ผลจากการประเมินสาธิตการปฏิบัติงาน (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) ผลการสอบข้อเขียน (ค) คำแนะนำในการประเมิน N/A (ง) วิธีการประเมิน สอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์ ประเมินสาธิตการปฏิบัติงาน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ
ผู้เข้ารับการประเมินมีการประเมินสาเหตุความผิดปกติของโดรนโดยการสอบถามจากผู้ใช้งาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประเมินสาเหตุความผิดปกติควบคู่ไปกับการสังเกตของช่างซ่อม แล้วจึงดำเนินการซ่อมในตำแหน่งที่มีปัญหา ในการดำเนินการซ่อมโดรน ช่างซ่อมควรทราบข้อควรระวังในการซ่อมโครงสร้างและอุปกรณ์หลัก รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วง เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานซ่อมโดรนทางการเกษตรตามคำแนะนำในคู่มือของโดรนแต่ละรุ่น เมื่อดำเนินการตรวจสอบสาเหตุความผิดปกติและดำเนินการซ่อมโดรนเสร็จสิ้น ก่อนส่งมอบโดรนคืนลูกค้ามีการชี้แจงข้อควรระวังในการใช้งานเพื่อยืดอายุการใช้งานของโดรนทางการเกษตร
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
การประเมินสาเหตุความผิดปกติของโดรนจากการสอบถามผู้ใช้งาน การประเมินสาเหตุความผิดปกติจากการสอบถามผู้ใช้งาน เช่น ผู้ใช้งานอาจมีการใช้งานโดรนโดยการบรรทุกน้ำหนักเกินกำลังของมอเตอร์ใบพัดทำให้แบตเตอรี่ทำงานหนักและเกิดเพลิงลุกไหม้ได้ ผู้ใช้งานใส่ขั้วปลั๊กผิดด้านหรือใส่ไม่ตรงช่อง ทำให้ขั้วปลั๊กหักเป็นสาเหตุทำให้สัญญาณไฟฟ้าเดินไม่ครบวงจรส่งผลให้อุปกรณ์ไม่ทำงาน กรณีผู้ใช้งานใส่ใบพัดผิดตำแหน่งหรือใส่สลับมอเตอร์ส่งผลให้เกิดแรงลมตรงกันข้าม คือเมื่อบังคับให้โดรนบินลงแต่ผลที่ปรากฏคือโดรนมีลักษณะบินขึ้น การประเมินสาเหตุความผิดปกติของโดรนจากการสังเกตของช่าง การประเมินสาเหตุความผิดปกติจากการสังเกตของช่าง เช่น ลักษณะการแตกหักของข้อพับแขนโดรน ประเมินความเสี่ยงจากการมีควันออกมาจากแบตเตอรี่ ทราบลักษณะฉนวนหุ้มสายไฟมอเตอร์ชำรุด ทราบลักษณะความผิดปกติของขั้วรับสายไฟมีลักษณะร้อนจนกระทั่งตะกั่วที่บัดกรีหลุด ทำให้ไฟฟ้าเดินไม่ครบวงจร ลักษณะความผิดปกติของแบตเตอรี่ที่ไม่สามารถจ่ายไฟเข้าระบบการทำงานของปั๊มน้ำ
การระบุข้อควรระวังในการซ่อมโครงสร้างและอุปกรณ์หลัก รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วง ข้อควรระวังในการซ่อมโดรนได้แก่ 1) เพื่อป้องกันการผิดพลาด และการตรวจเช็คขั้นตอนการทำงานว่าถูกต้องตามมาตรฐานหรือไม่ควรมีการการตรวจสอบการซ่อมตามเอกสารตรวจสอบขั้นตอนการทำงาน (Check Sheet) 2) ทราบข้อปฏิบัติในการชาร์จแบตเตอรี่เพื่อยืดอายุการใช้งาน 3) ทราบข้อควรระวังและขั้นตอนการปฏิบัติในการซ่อมโดรนที่ตกน้ำ เพื่อป้องกันความเสียหายของแบตเตอรี่ โครงสร้างและอุปกรณ์หลัก รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วง 4) ระมัดระวังในส่วนของการตั้งค่าการทำงานของโดรน การตรวจสอบความผิดปกติเพื่อซ่อมโครงสร้างและอุปกรณ์หลัก รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วง ทำการตรวจสอบข้อมูลความผิดปกติของโดรนจากการประเมินสาเหตุความผิดปกติของโดรนโดยการสอบถามผู้ใช้งาน และจากการสังเกตของช่าง เพื่อดำเนินการจัดหาชิ้นส่วนอะไหล่ของโครงสร้างและอุปกรณ์หลัก รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วง เพื่อดำเนินการซ่อมโดรนทางการเกษตรในตำแหน่งที่เกิดความเสียหายหรือระบบการทำงานที่ขัดข้องไม่สามารถทราบได้จากการตรวจสภาพโดรนเฉพาะภายนอก การระบุข้อควรระวังในการใช้งานโดรนทางการเกษตร ข้อควรระวังในการใช้งานโดรนทางการเกษตร ได้แก่ 1) ต้องตรวจสอบพื้นที่ไม่ให้มีสิ่งกีดขวางการขึ้นบิน และสภาพอากาศ รวมถึงความแรงของลมต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการขึ้นบิน 2) ต้องตรวจสอบสภาพภายนอกของโดรนก่อนขึ้นบินเสมอ มีการล็อคข้อต่อแขนใบพัดอย่างแน่นหน้า ฝาครอบกล่องควบคุมโดรนปิดสนิท ใบพัดมีการกางทุกตำแหน่ง 3) ตรวจสอบการเชื่อมต่อสัญญาณดาวเทียม 4) ตรวจสอบระดับแบตเตอรี่และแรงดันแบตเตอรี่ รวมถึงการต่อสายไฟของแบตเตอรี่มีความแน่นไม่มีลักษณะเสี่ยงหลุดออกระหว่างนำโดรนขึ้นบิน 5) เมื่อใช้งานโดรนเสร็จไม่ควรชาร์จแบตเตอรี่ในทันที ควรรอให้อุณหภูมิแบตเตอรี่เย็นตัวลงก่อน การแนะนำวิธีการใช้งานโดรนทางการเกษตรในกรณีฉุกเฉิน คำแนะนำการใช้งานอุปกรณ์โดรนในกรณีฉุกเฉิน กรณีมอเตอร์เกิดการสูญเสียกำลังนักบินโดรนจะต้องนำโดรนลงจอดฉุกเฉินในพื้นที่สำรองข้างเคียงหรือบริเวณพื้นที่ที่ไม่มีสิ่งกีดขวางและทำการนำส่งช่างซ่อมเพื่อดำเนินการตรวจสอบหาสาเหตุและดำเนินการแก้ไขให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอีกครั้ง
โครงสร้างและอุปกรณ์หลัก หมายถึง โครงสร้างและอุปกรณ์หลักที่เป็นแกนหลักที่ใช้สำหรับการบิน ถ้าโดรนขาดโครงสร้างและอุปกรณ์หลักเหล่านี้ จะไม่สามารถทำการบินได้ โดยการออกแบบและพัฒนาโดรนใช้หลักการของอากาศพลศาสตร์ เพื่อให้สามารถลอยตัวได้อย่างสมดุลมากที่สุด รวมถึงการติดตั้งด้วยแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอกนิกส์หรือชิป และซอฟต์แวร์ ไว้ด้านในที่เป็นหัวใจหลักของอุปกรณ์ชนิดนี้สำหรับวัสดุที่ใช้ในการผลิตโดรนมักเป็นวัสดุเชิงประกอบ เพื่อช่วยเรื่องของน้ำหนักที่เบาลงและคล่องตัวตลอดระยะการบิน ซึ่งโครงสร้างและอุปกรณ์หลักของโดรน เช่น
อุปกรณ์ต่อพ่วง หมายถึง อุปกรณ์ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ถ้าโดรนขาดอุปกรณ์เหล่านี้ ยังสามารถทำการบินได้ เช่น
|
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
รายละเอียดกระบวนการ เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ ซึ่งมีเครื่องมือประเมินได้แก่ 1. ประเมินจากการสอบข้อเขียน 2. ประเมินความสามารถในการทำงานจากการสัมภาษณ์ 3. ประเมินจากสาธิตการปฏิบัติงาน |