หน่วยสมรรถนะ
ตรวจสอบหลังการซ่อมบำรุงโดรนทางการเกษตร
สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ARC-ONYH-1060A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ตรวจสอบหลังการซ่อมบำรุงโดรนทางการเกษตร |
3. ทบทวนครั้งที่ | / |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
N/A
1 8341 ผู้ควบคุมเครื่องจักรโรงงานชนิดเคลื่อนที่ได้ที่ใช้ในด้านการเกษตรและป่าไม้ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่มีสมรรถนะตรวจสอบหลังการซ่อมบำรุงโดรนทางการเกษตร ต้องมีทักษะและความรู้ในการทดสอบการบินหลังการซ่อมบำรุงของโดรนทางการเกษตร และมีการทดสอบการทำงานระหว่างโครงสร้างและอุปกรณ์หลักกับอุปกรณ์ต่อพ่วง เพื่อทดสอบว่าโดรนทางการเกษตรมีการทำงานเป็นปกติ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ช่างซ่อมบำรุงโดรนทางการเกษตร (Drone repair & maintenance for agriculture technician) |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
10.1 พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 มาตรา 24 10.2 หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับ หรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมจากภายนอก พ.ศ. 255810.3 ประกาศ กสทช. เรื่องเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ สำหรับอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน สำหรับใช้งานเป็นการทั่วไป |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
A231 ทดสอบการบินหลังการซ่อมบำรุงของโดรนได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
1.ทดสอบการบินระบบบังคับมือ |
A231.01 | 215630 |
A231 ทดสอบการบินหลังการซ่อมบำรุงของโดรนได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
2.ทดสอบการบินระบบอัตโนมัติ |
A231.02 | 215631 |
A232 ทดสอบการทำงานระหว่างโครงสร้างและอุปกรณ์หลักกับอุปกรณ์ต่อพ่วงได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
1.ทดสอบการเชื่อมต่อของรีโมทควบคุมกับโดรน |
A232.01 | 215632 |
A232 ทดสอบการทำงานระหว่างโครงสร้างและอุปกรณ์หลักกับอุปกรณ์ต่อพ่วงได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
2.ทดสอบการทำงานของมอเตอร์และใบพัด |
A232.02 | 215633 |
A232 ทดสอบการทำงานระหว่างโครงสร้างและอุปกรณ์หลักกับอุปกรณ์ต่อพ่วงได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
3.ทดสอบการทรงตัวบนอากาศของโดรน |
A232.03 | 215634 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
1. มีทักษะในการฟัง พูด อ่าน เขียน 2. มีความรู้ในอุปกรณ์ช่างซ่อม 3. มีทักษะในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ช่างซ่อม 4. มีความรู้ในเรื่องของความปลอดภัยขณะปฏิบัติงาน 5. มีทักษะในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ทักษะการตรวจสอบขั้นตอนการทำงาน 2. ทักษะการทดสอบการบิน 3. ทักษะการทดสอบการทำงานระหว่างโครงสร้าง อุปกรณ์หลัก และอุปกรณ์ต่อพ่วง (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของโดรนตามคู่มือของแต่ละรุ่น 2. ความรู้ในการตรวจสอบสภาพโครงสร้าง อุปกรณ์หลัก และอุปกรณ์ต่อพ่วง 3. ความรู้ในการทดสอบการทำงานของโครงสร้าง อุปกรณ์หลัก และอุปกรณ์ต่อพ่วง |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ ผลจากการสอบสัมภาษณ์ ผลจากการประเมินสาธิตการปฏิบัติงาน (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) ผลการสอบข้อเขียน (ค) คำแนะนำในการประเมิน N/A (ง) วิธีการประเมิน สอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์ ประเมินสาธิตการปฏิบัติงาน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ
ผู้เข้ารับการประเมินทราบวิธีทดสอบการบินหลังการซ่อมบำรุงของโดรนทางการเกษตรทั้งระบบบังคับมือและระบบอัตโนมัติ และทราบวิธีทดสอบการทำงานระหว่างโครงสร้างและอุปกรณ์หลักกับอุปกรณ์ต่อพ่วง ได้แก่ ทดสอบทดสอบการเชื่อมต่อของรีโมทควบคุมกับโดรน ทดสอบการทำงานของมอเตอร์และใบพัด และทดสอบการทรงตัวบนอากาศของโดรน ตามที่ระบุไว้ในคู่มือของโดรนแต่ละรุ่น
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
การทดสอบการบินระบบบังคับด้วยมือ และระบบอัตโนมัติ การทดสอบการบินทั้งสอบระบบตามคำแนะนำในคู่มือของโดรนแต่ละรุ่น มีขั้นตอนการดำเนินการดังต่อไปนี้ 1) ใช้เอกสารตรวจสอบขั้นตอนการทำงาน (Check Sheet) หมายถึง เอกสารที่ใช้ในการตรวจสอบขั้นตอนการทำงานที่ระบุลักษณะการทำงานที่ต้องการดำเนินการตรวจสอบ 2) การทดสอบการบินหลังซ่อมบำรุงโดรนทางการเกษตร มีการทดสอบดังต่อไปนี้ 2.1) การทดสอบการบินด้วยระบบบังคับด้วยมือ ได้แก่ การทดสอบการทงานของรีโมทเพื่อเริ่มต้นทำงานของมอเตอร์ในการบังคับโดรนให้ขึ้นบินลอยตัวอยู่บนอากาศและลงจอด ทดสอบคันบังคับบนรีโมทให้โดรนเคลื่อนตัวไปทางซ้ายและขวา ไปด้านหน้าและด้านหลัง บังคับโดรนให้หมุนตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกา บังคับโดรนเพื่อการเกษตรให้ลงจอดฉุกเฉิน 2.2) การทดสอบการบินระบบอัตโนมัติ มีขั้นตอนการทดสอบ ได้แก่ ทดสอบการวาดแปลง เพื่อทดสอบระบบการสร้างเส้นทางการบิน ทดสอบการตั้งค่าพารามิเตอร์ ทดสอบการส่งข้อมูลเส้นทางการบินไปยังโดรนเพื่อการเกษตร ทดสอบการขึ้นบินของโดรนทางการเกษตรในระบบอัตโนมัติ การทดสอบการเชื่อมต่อของรีโมทควบคุมโดรน ตรวจสอบการเชื่อมต่อสัญญาณของรีโมทกับโดรนทางการเกษตร ตามที่ระบุไว้ในคู่มือของโดรนแต่ละรุ่น ได้แก่ ตรวจสอบเลขประจำตัวของโดรนที่ปรากฏบนรีโมทควบคุมโดรน ตรวจสอบการเชื่อต่อสัญญาณดาวเทียม ตรวจสอบปุ่มคันบังคับควบคุมการเคลื่อนที่ของโดรนทางการเกษตร ทดสอบการทำงานของมอเตอร์และใบพัด ทดสอบการทำงานของมอเตอร์และใบพัด โดยการเร่งความเร็วจากรีโมทควบคุมเพื่อตรวจสอบว่า ทุกมอเตอร์มีการทำการเป็นปกติทุกตำแหน่ง
ทดสอบการทรงตัวบนอากาศของโดรนทางการเกษตร ทดสอบการทรงตัวของโดรนทางการเกษตร เมื่อติดตั้งอุปกรณ์ต่อพ่วงและบรรจุน้ำหนักสูงสุดลงในถังสาร เมื่อนำโดรนขึ้นบิน โดรนจะต้องไม่เอียงซ้ายหรือขวา โครงสร้างและอุปกรณ์หลัก หมายถึง โครงสร้างและอุปกรณ์หลักที่เป็นแกนหลักที่ใช้สำหรับการบิน ถ้าโดรนขาดโครงสร้างและอุปกรณ์หลักเหล่านี้ จะไม่สามารถทำการบินได้ โดยการออกแบบและพัฒนาโดรนใช้หลักการของอากาศพลศาสตร์ เพื่อให้สามารถลอยตัวได้อย่างสมดุลมากที่สุด รวมถึงการติดตั้งด้วยแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอกนิกส์หรือชิป และซอฟต์แวร์ ไว้ด้านในที่เป็นหัวใจหลักของอุปกรณ์ชนิดนี้สำหรับวัสดุที่ใช้ในการผลิตโดรนมักเป็นวัสดุเชิงประกอบ เพื่อช่วยเรื่องของน้ำหนักที่เบาลงและคล่องตัวตลอดระยะการบิน ซึ่งโครงสร้างและอุปกรณ์หลักของโดรน เช่น
อุปกรณ์ต่อพ่วง หมายถึง อุปกรณ์ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ถ้าโดรนขาดอุปกรณ์เหล่านี้ ยังสามารถทำการบินได้ เช่น
|
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
รายละเอียดกระบวนการ เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ ซึ่งมีเครื่องมือประเมินได้แก่ 1. ประเมินจากการสอบข้อเขียน 2. ประเมินความสามารถในการทำงานจากการสัมภาษณ์ 3. ประเมินจากสาธิตการปฏิบัติงาน |