หน่วยสมรรถนะ
ประเมินความผิดปกติจากการเข้าทำลายของศัตรูพืช
สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ARC-ZMNE-1056A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ประเมินความผิดปกติจากการเข้าทำลายของศัตรูพืช |
3. ทบทวนครั้งที่ | / |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
N/A
1 8341 ผู้ควบคุมเครื่องจักรโรงงานชนิดเคลื่อนที่ได้ที่ใช้ในด้านการเกษตรและป่าไม้ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่มีสมรรถนะประเมินความผิดปกติจากการเข้าทำลายของศัตรูพืช ต้องมีทักษะและความรู้ในการประเมินอาการผิดปกติของพืชที่เกิดจากเชื้อสาเหตุโรคพืช แมลงและไรศัตรูพืช ทราบชนิดของวัชพืชที่ต้องการกำจัด เพื่อนำไปสู่การเลือกใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้ถูกต้อง |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ผู้ให้บริการโดรนทางการเกษตร (Drone services for agriculture provider) |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
10.1 พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 มาตรา 24 10.2 หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับ หรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมจากภายนอก พ.ศ. 255810.3 ประกาศ กสทช. เรื่องเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ สำหรับอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน สำหรับใช้งานเป็นการทั่วไป10.4 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 256210.5 (ร่าง) ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอกที่มีน้ำหนักเกิน 25 กิโลกรัม (ที่ใช้ในปัจจุบัน)10.6 จรรยาบรรณสำหรับผู้ค้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรและการใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย10.7 มาตรการควบคุม ตรวจสอบ กำกับ ดูแล วัตถุอันตราย ปุ๋ย และพันธุ์พืช |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
A151 ประเมินอาการผิดปกติของพืชที่เกิดจากเชื้อสาเหตุโรคพืชได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
1.อธิบายข้อปฏิบัติสำหรับผู้รับจ้างพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช |
A151.01 | 215603 |
A151 ประเมินอาการผิดปกติของพืชที่เกิดจากเชื้อสาเหตุโรคพืชได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
2.สำรวจเชื้อสาเหตุโรคพืช |
A151.02 | 215604 |
A151 ประเมินอาการผิดปกติของพืชที่เกิดจากเชื้อสาเหตุโรคพืชได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
3.เลือกใช้สารเคมีให้ตรงกับเชื้อสาเหตุโรคพืช |
A151.03 | 215605 |
A152 ประเมินอาการผิดปกติของพืชที่เกิดจากแมลงศัตรูพืชได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
1.อธิบายข้อปฏิบัติสำหรับผู้รับจ้างพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช |
A152.01 | 215606 |
A152 ประเมินอาการผิดปกติของพืชที่เกิดจากแมลงศัตรูพืชได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
2.สำรวจชนิดของแมลงศัตรูพืช |
A152.02 | 215607 |
A152 ประเมินอาการผิดปกติของพืชที่เกิดจากแมลงศัตรูพืชได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
3.เลือกใช้สารเคมีให้ตรงกับชนิดของแมลงศัตรูพืช |
A152.03 | 215608 |
A153 ประเมินชนิดวัชพืชที่ระบาดได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
1.อธิบายข้อปฏิบัติสำหรับผู้รับจ้างพ่นสารกำจัดวัชพืช |
A153.01 | 215609 |
A153 ประเมินชนิดวัชพืชที่ระบาดได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
2.สำรวจชนิดของวัชพืช |
A153.02 | 215610 |
A153 ประเมินชนิดวัชพืชที่ระบาดได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
3.เลือกใช้สารกำจัดวัชพืชได้ตรงกับชนิดของวัชพืช |
A153.03 | 215611 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
1. มีทักษะในการฟัง พูด อ่าน เขียน 2. เข้าใจความผิดปกติของพืชจากเชื่อสาเหตุโรคพืช แมลงและไรศัตรู และวัชพืช 3. ทราบขั้นตอนในการประเมินความผิดปกติจากเชื่อสาเหตุโรคพืช แมลงและไรศัตรู และวัชพืช 4. มีทักษะในการประเมินความผิดปกติจากเชื่อสาเหตุโรคพืช แมลงและไรศัตรู และวัชพืช |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ทักษะการวิเคราะห์สาเหตุและประเมินอาการผิดปกติของพืชจากเชื่อสาเหตุโรคพืช 2. ทักษะการวิเคราะห์สาเหตุและประเมินอาการผิดปกติของพืชจากแมลงและไรศัตรู 3. ทักษะการวิเคราะห์สาเหตุและประเมินอาการผิดปกติของพืชจากวัชพืช (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้เกี่ยวกับการเก็บตัวอย่างความผิดปกติของพืช 2. ความรู้ในการสำรวจเพื่อเก็บตัวอย่างแมลงและไรศัตรู 3. ความรู้ในการสำรวจเพื่อเก็บตัวอย่างวัชพืช 4. ความรู้ในการจัดจำแนกชนิดของเชื้อสาเหตุโรคพืช 5. ความรู้ในการจัดจำแนกชนิดของแมลงและไรศัตรู |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ ผลจากการสอบสัมภาษณ์ ผลจากการประเมินสาธิตการปฏิบัติงาน (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) ผลการสอบข้อเขียน (ค) คำแนะนำในการประเมิน N/A (ง) วิธีการประเมิน สอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์ ประเมินสาธิตการปฏิบัติงาน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ
เรื่องการประเมินอาการผิดปกติของพืชที่เกิดจากเชื้อสาเหตุโรคพืช ผู้เข้ารับการประเมินมีทักษะและองค์ความรู้ในการอธิบายข้อปฏิบัติสำหรับผู้รับจ้างพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชได้ครอบคุลมตามหลักการปฏิบัติงานของโดรนเพื่อการเกษตร และเข้าใจวิธีการสำรวจเชื้อสาเหตุโรคพืช สามารถอธิบายอาการผิดปกติของพืชจากการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุโรคพืชได้ และนำข้อมูลที่ได้ไปใช้สำหรับการตัดสินใจเลือกใช้สารเคมีให้ตรงกับเชื้อสาเหตุโรคพืชที่สำรวจพบในแปลงเกษตรได้อย่างถูกต้อง
เรื่องการประเมินอาการผิดปกติของพืชที่เกิดจากแมลงศัตรูพืช ผู้เข้ารับการประเมินมีทักษะและองค์ความรู้ในการอธิบายข้อปฏิบัติสำหรับผู้รับจ้างพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงและไรศัตรูพืชได้ครอบคลุมตามหลักการปฏิบัติงานของโดรนทางการเกษตร และเข้าใจวิธีการสำรวจชนิดของแมลงและไรศัตรูพืช สามารถอธิบายถึงอาการผิดปกติของพืชจากการเข้าทำลายของแมลงและไรศัตรูพืชได้ และนำข้อมูลที่ได้ไปใช้สำหรับการตัดสินใจเลือกใช้สารเคมีให้ตรงกับแมลงและไรศัตรูพืชที่สำรวจพบในแปลงเกษตรได้อย่างถูกต้อง
เรื่องการประเมินชนิดวัชพืชที่ระบาด ผู้เข้ารับการประเมินมีทักษะและองค์ความรู้ในการอธิบายข้อปฏิบัติสำหรับผู้รับจ้างพ่นสารกำจัดวัชพืชได้ครอบคลุมตามหลักการปฏิบัติงานของโดรนทางการเกษตร และเข้าใจวิธีการสำรวจชนิดของวัชพืช สามารถระบุชนิดของวัชพืชที่ระบาดภายในแปลง และนำข้อมูลที่ได้ไปใช้สำหรับการตัดสินใจเลือกใช้สารเคมีให้ตรงกับวัชพืชที่สำรวจพบในแปลงเกษตรได้อย่างถูกต้อง (ข) คำอธิบายรายละเอียด
การอธิบายข้อปฏิบัติสำหรับผู้รับจ้างพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ข้อปฏิบัติสำหรับผู้รับจ้างพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช มีข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้ 1) กำหนดวัตถุประสงค์ของการฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช การฉีดพ่นเพื่อป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุโรคพืช ควรเลือกใช้กลุ่มสารออกฤทธิ์แบบป้องกัน ในกรณีที่ตรวจพบพืชในแปลงแสดงอาการผิดปกติจากการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุโรคพืช อาจเลือกใช้กลุ่มสารออกฤทธิ์แบบดูดซึม เพื่อยับยังการระบาดของเชื้อสาเหตุโรคพืช 2) กำหนดช่วงระยะการเจริญเติบโตของพืชและช่วงเวลาที่ควรเริ่มทำการฉีดพ่นสารเพื่อป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุโรคพืช กรณีมีวัตถุประสงค์ในการฉีดพ่นสารกลุ่มออกฤทธิ์แบบป้องกัน 3) เลือกใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชได้ตรงกับอาการผิดปกติของพืชที่เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุโรคพืช 4) ปฏิบัติตามข้อแนะนำบนฉลากสารป้องกันกำจัดโรคพืช ได้แก่ การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันขณะผสมสารและขณะฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ผสมสารในอัตราส่วนที่ฉลากแนะนำ จัดเก็บบรรจุภัณฑ์สารตามที่ฉลากแนะนำ 5) เลือกใช้อุปกรณ์พ่นสารและปรับแรงดัน เพื่อให้ได้ขนาดละอองสารที่เหมาะสมและครอบคลุมพื้นที่ผิวใบของพืช 6) วัดความเร็วและทิศทางลมวัดความเร็วแรงของลมด้วยเครื่องวัดความเร็วลม (Anemometer) ค่าที่วัดได้ต้องไม่เกิน 3 เมตรต่อวินาที หากมีลมแรงหรือมีฝนตก ต้องงดทำการบิน 7) ผู้บังคับโดรนต้องยืนอยู่เหนือลมและอยู่หลังแนวบินเสมอ 8) ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศขณะฉีดพ่นต้องไม่ต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ 9) อุณหภูมิที่เหมาะสมในการฉีดพ่นสาร 15 - 30 องศาเซลเซียส ไม่ควรเกิน 38 องศาเซลเซียส 10) การบินโดรนแนะนำให้บินสูง 1.5 - 2.5 เมตร เหนือพืชเป้าหมาย 11) ความเร็วของการบินแนะนำอยู่ที่ 4 - 6 เมตร/วินาที
การสำรวจเชื้อสาเหตุโรคพืช การสำรวจเชื้อสาเหตุโรคพืช เป็นการสำรวจอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับพืชจากการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุโรคพืช ซึ่งเชื้อสาเหตุโรคพืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า นักบินโดรนจึงต้องสังเกตจากอาการที่เกิดขึ้นกับพืช ได้แก่อาการ ใบจุด ไหม้ เน่าเละ เหี่ยว ปม สีผิดปกติ ใบด่าง ใบเหลือง สีซีด แคระแกร็นหรือชะงักการเจริญเติบโต จากนั้นทำการคาดเดาเชื้อสาเหตุจากอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับพืช หรือนำข้อมูลที่ทำการสำรวจมาเปรียบเทียบกับเอกสารอ้างอิงลักษณะอาการผิดปกติบนพืชจากการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุโรคพืช
การเลือกใช้สารเคมีให้ตรงกับเชื้อสาเหตุโรคพืช การเลือกใช้สารเคมีให้ตรงกับเชื้อสาเหตุโรคพืช กรณีที่พบการระบาดของเชื้อสาเหตุโรคพืชในแปลง นักบินโดรนสามารถเลือกใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชได้ตรงกับข้อมูลที่ได้มีการสำรวจเชื้อสาเหตุโรคพืชภายในแปลง ซึ่งการแบ่งประเภทของสารป้องกันกำจัดโรคพืชสามารถแบ่งกลุ่มได้ตามชนิดเชื้อสาเหตุโรคพืชได้แก่ 1) สารป้องกันกำจัดเชื้อรา 2) สารป้องกันกำจัดแบคทีเรีย 3) สารป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอย และแบ่งกลุ่มตามคุณสมบัติการแทรกซึมของสารในพืช ได้แก่ 1) สารประเภทไม่ดูดซึม (non-systemic) หรือประเภทสัมผัส (contact) สารในกลุ่มนี้เมื่อพ่นลงบนต้นพืชจะปกคลุมผิวภายนอกพืช สารจะคงอยู่เพียงผิวพืชและกำจัดเชื้อที่อยู่บนผิวภายยอกเท่านั้นไม่ดูดซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อด้านในพืช จึงยับยั้งเชื้อสาเหตุโรคพืชบริเวณที่สัมผัสโดยตรง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพ่นสารเหล่านี้ซ้ำหลายครั้ง เพื่อป้องกันส่วนของพืชที่เจริญเข้ามาใหม่ และทดแทนสารที่พ่นไปแล้วถูกชะล้างไปโดยน้ำฝนหรือน้ำที่ใช้รด หรือการสูญสลายไปด้วยปัจจัยทางสภาพแวดล้อม เช่น แสงแดด 2) สารประเภทดูดซึม (systemic) สารเคมีชนิดนี้เมื่อพ่นลงบนพืชแล้วจะถูกดูดซึมเข้าไปในเนื้อเยื่อพืช และอาจยังคงมีประสิทธิภาพกำจัดโรคพืชได้หลังจากพืชถูกเชื้อสาเหตุโรคพืชเข้าทำลายแล้ว สารในกลุ่มนี้จึงใช้ทำลายหรือยับยั้งการเจริญของเชื้อสาเหตุโรคพืชที่อยู่ภายในต้นพืช การอธิบายข้อปฏิบัติสำหรับผู้รับจ้างพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ข้อปฏิบัติสำหรับผู้รับจ้างพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช รวมถึงไรศัตรูพืช มีข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้ 1) สำรวจชนิดของแมลงที่ระบาดภายในแปลงและสถานการณ์การระบาดของแมลงศัตรูพืช 2) เลือกใช้สารป้องกันกำจัดแมลง ได้ตรงกับชนิดที่สำรวจพบในแปลง 3) ปฏิบัติตามข้อแนะนำบนฉลากสารป้องกันกำจัดแมลง ได้แก่ การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันขณะผสมสารและขณะฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดแมลง ผสมสารในอัตราส่วนที่ฉลากแนะนำ จัดเก็บบรรจุภัณฑ์สารตามที่ฉลากแนะนำ 4) เลือกใช้อุปกรณ์พ่นสารและปรับแรงดัน เพื่อให้ได้ขนาดละอองสารที่เหมาะสมและครอบคลุมโดนตัวแมลง 5) วัดความเร็วและทิศทางลมวัดความเร็วแรงของลมด้วยเครื่องวัดความเร็วลม (Anemometer) ค่าที่วัดได้ต้องไม่เกิน 3 เมตรต่อวินาที หากมีลมแรงหรือมีฝนตก ต้องงดทำการบิน 6) ผู้บังคับโดรนต้องยืนอยู่เหนือลมและอยู่หลังแนวบินเสมอ 7) ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศขณะฉีดพ่นต้องไม่ต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ 8) อุณหภูมิที่เหมาะสมในการฉีดพ่นสาร 15 - 30 องศาเซลเซียส ไม่ควรเกิน 38 องศาเซลเซียส 9) การบินโดรนแนะนำให้บินสูง 1.5 - 2.5 เมตร เหนือพืชเป้าหมาย 10) ความเร็วของการบินแนะนำอยู่ที่ 4 - 6 เมตร/วินาที
การสำรวจชนิดของแมลงศัตรูพืช การสำรวจชนิดของแมลงศัตรูพืช รวมถึงไรศัตรูพืช เป็นการสำรวจเพื่อระบุชนิดของแมลง และระยะเจริญพันธุ์ของแมลง ซึ่งสามารถแบ่งชนิดของแมลงศัตรูพืชออกตามลักษณะการทำลายพืชดังนี้ 1) แมลงจำพวกกัดกินใบ (leaf feeder) 2) แมลงจำพวกดูดกินน้ำเลี้ยง (juice sucker) 3) แมลงจำพวกหนอนชอนใบ (leaf minor) 4) แมลงจำพวกหนอนเจาะลำต้น (stem borer) 5) แมลงจำพวกกัดกินราก (root feeder) 6) แมลงจำพวกที่ทำให้เกิดปุุมปม (gall maker)
การเลือกใช้สารเคมีให้ตรงกับชนิดของแมลงศัตรูพืช การเลือกใช้สารเคมีให้ตรงกับแมลงศัตรูพืช รวมถึงไรศัตรูพืช สำหรับการใช้งานร่วมกับโดรนจะมุ่งเน้นไปที่การฉีดพ่น ซึ่งการที่นักบินโดรนจะสามารถเลือกใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ตรงกับชนิดของแมลงนั้น นักบินโดรนจำเป็นต้องใช้ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจแมลงภายในแปลงเกษตร เพื่อนำมาเทียบกับข้อมูลอ้างอิงชนิดแมลงและสารเคมีที่ควรเลือกใช้ ซึ่งกลุ่มสารที่เข้าทำลายแมลงและไรที่เหมาะสมนำมาใช้กับโดรนทางการเกษตร ได้แก่ 1) สารประเภทกินตาย (Stomach poison) พ่นสารที่ต้นพืชแล้วแมลงได้รับสารโดยการกัดกินหรือดูดกินพืช 2) สารประเภทสัมผัสหรือถูกตัวตาย (Contact poison) พ่นสารถูกตัวแมลงแล้วสารซึมผ่านทางผิวหนัง ผนังลำตัว หรือเข้าทางท่อหายใจของแมลง 3) สารประเภทดูดซึม (Systemic poison) สารในกลุ่มนี้มีคุณสมบัติซึมเข้าทางราก ลำต้น หรือใบพืช แล้วเข้าสู่ท่อน้ำท่ออาหารของต้นพืช สารเข้าสู่แมลงโดยการกัดกินหรือดูดกิน
การอธิบายข้อปฏิบัติสำหรับผู้รับจ้างพ่นสารกำจัดวัชพืช ข้อปฏิบัติสำหรับผู้รับจ้างพ่นสารสารกำจัดวัชพืช มีข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้ 1) สำรวจชนิดของวัชพืชที่ระบาดภายในแปลง 2) เลือกใช้สารกำจัดวัชพืช ได้ตรงกับชนิดที่สำรวจพบในแปลง 3) ปฏิบัติตามข้อแนะนำบนฉลากสารกำจัดวัชพืช ได้แก่ การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันขณะผสมสารและขณะฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืช ผสมสารในอัตราส่วนที่ฉลากแนะนำ จัดเก็บบรรจุภัณฑ์สารตามที่ฉลากแนะนำ 4) เลือกใช้อุปกรณ์พ่นสารและปรับแรงดัน เพื่อให้ได้ขนาดละอองสารที่เหมาะสมและครอบคลุมโดนวัชพืช 5) วัดความเร็วและทิศทางลมวัดความเร็วแรงของลมด้วยเครื่องวัดความเร็วลม (Anemometer) ค่าที่วัดได้ต้องไม่เกิน 3 เมตรต่อวินาที หากมีลมแรงหรือมีฝนตก ต้องงดทำการบิน 6) ผู้บังคับโดรนต้องยืนอยู่เหนือลมและอยู่หลังแนวบินเสมอ 7) ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศขณะฉีดพ่นต้องไม่ต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ 8) อุณหภูมิที่เหมาะสมในการฉีดพ่นสาร 15 - 30 องศาเซลเซียส ไม่ควรเกิน 38 องศาเซลเซียส 9) การบินโดรนแนะนำให้บินสูง 1.5 - 2.5 เมตร เหนือพืชเป้าหมาย 10) ความเร็วของการบินแนะนำอยู่ที่ 4 - 6 เมตร/วินาที
การสำรวจชนิดของวัชพืช การสำรวจชนิดของวัชพืช เป็นการสำรวจเพื่อจำแนกหรือแบ่งประเภทของวัชพืช ซึ่งจำแนกตามลักษณะของลำต้น ใบ สำหรับงานผู้ให้บริการโดรนทางการเกษตรประเภทของวัชพืชที่พบเป็นส่วนมาก ได้แก่ 1) วัชพืชประเภทใบแคบ (Narrow leafed weeds) เป็นวัชพืชวงศ์หญ้า 2) วัชพืชประเภทใบกว้าง (Broad leafed weeds) ส่วนมากเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ 3) วัชพืชประเภทกก (Sedge)
การเลือกใช้สารกำจัดวัชพืชได้ตรงกับชนิดของวัชพืช การเลือกสารกำจัดวัชพืช มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้คลุมวัชพืช คือการพ่นสารกำจัดวัชพืชลงบนดิน เพื่อให้สารเคมีเข้าทำลายหรือยับยั้งส่วนของวัชพืชที่อยู่ในดิน เช่น เมล็ด ราก และยอดอ่อน หรือเพื่อใช้ฆ่าวัชพืช คือการพ่นสารลงบนใบ ซึ่งสารเคมีจะถูกดูดซึมพร้อมกับการเคลื่อนย้ายไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช หรือดูดซึมเฉพาะจุด (สารไม่เคลื่อนย้าย) โดยสารกำจัดวัชพืชสามารถแบ่งประเภทตามลักษณะการใช้ และการเลือกทำลาย ได้ดังนี้ 1) จำแนกตามลักษณะการใช้กับพืช แบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่ 1.1) ประเภทใช้ทางใบ (foliar applied herbicides) สารกำจัดวัชพืชประเภทนี้จะเข้าสู่พืชทางใบหรือทางยอด โดยการพ่นไปที่ต้นวัชพืช ใช้ก่อนปลูกพืชประธานหรือหลังปลูกพืชประธานไปแล้ว แบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1.1.1) ประเภทสัมผัส (Contact herbicides) สารกำจัดวัชพืชประเภทนี้จะทำลายพืชเฉพาะส่วนบริเวณที่ได้รับสาร 1.1.2) ประเภทดูดซึม (systemic herbicides) สารกำจัดวัชพืชประเภทนี้ เมื่อเข้าสู่ต้นพืชแล้วจะเคลื่อนย้ายไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช ทำให้ส่วนของพืชถูกทำลาย 1.2) ประเภทใช้ทางดิน (soil app;ied herbicides) สารกำจัดวัชพืชประเภทนี้จะเข้าทางรากหรือยอดอ่อนขณะกำลังงอก ใช้ก่อนปลูกพืชประธาน (pre-planting) หรือพ่นทันทีหลังปลูกพืชประธานแล้วก่อนวัชพืชงอก (pre-emergence) 2) สารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลาย (selective herbicides) เป็นสารกำจัดวัชพืชที่ทำลายพืชบางชนิด โดยไม่มีผลต่อพืชอีกหลายชนิด หรือไม่ทำลายพืชปลูก ดังนั้นการเลือกใช้สารกำจัดวัชพืช จึงต้องทราบวัตถุประสงค์ของการฉีดพ่น และชนิดของวัชพืช ว่าต้องการฉีดเพื่อยับยั้งส่วนของวัชพืชที่อยู่ในดิน หรือเพื่อกำจัดวัชพืชที่เจริญอยู่เหนือดิน โดยไม่ส่งผลเสียต่อพืชประธานหรือพืชที่ต้องการเพาะปลูก |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
รายละเอียดกระบวนการ เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ ซึ่งมีเครื่องมือประเมินได้แก่ 1. ประเมินจากการสอบข้อเขียน 2. ประเมินความสามารถในการทำงานจากการสัมภาษณ์ 3. ประเมินจากสาธิตการปฏิบัติงาน |