หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนบำรุงรักษา โดรนทางการเกษตร

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-EAUJ-1055A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนบำรุงรักษา โดรนทางการเกษตร

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 8341 ผู้ควบคุมเครื่องจักรโรงงานชนิดเคลื่อนที่ได้ที่ใช้ในด้านการเกษตรและป่าไม้

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่มีสมรรถนะเตรียมสารสำหรับใช้งานร่วมกับโดรนทางการเกษตร ต้องมีทักษะและความรู้เกี่ยวข้องกับการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ได้แก่ โรคพืช แมลงและไรศัตรู และวัชพืช ด้วยการใช้สารเคมีหรือชีวภัณฑ์ในการผสมสาร คำนวณปริมาณที่ต้องใช้ และใช้โดรนในการบินพ่น โดยมีวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องได้มาตรฐาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ให้บริการโดรนทางการเกษตร (Drone services for agriculture provider)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 มาตรา 24 10.2 หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับ หรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมจากภายนอก พ.ศ. 255810.3 ประกาศ กสทช. เรื่องเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ สำหรับอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน สำหรับใช้งานเป็นการทั่วไป10.4 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 256210.5 (ร่าง) ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอกที่มีน้ำหนักเกิน 25 กิโลกรัม (ที่ใช้ในปัจจุบัน)10.6 จรรยาบรรณสำหรับผู้ค้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรและการใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย10.7 มาตรการควบคุม ตรวจสอบ กำกับ ดูแล วัตถุอันตราย ปุ๋ย และพันธุ์พืช

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A141

วางแผนบำรุงรักษาโครงสร้างและอุปกรณ์หลักได้ถูกต้องตามข้อกำหนด

1.ตรวจสอบระยะเวลาการใช้งานโครงสร้างและอุปกรณ์หลัก

A141.01 215599
A141

วางแผนบำรุงรักษาโครงสร้างและอุปกรณ์หลักได้ถูกต้องตามข้อกำหนด

2.ปรับเทียบระบบตรวจจับโครงสร้างและอุปกรณ์หลัก

A141.02 215600
A142

วางแผนบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่อพวงได้ถูกต้องตามข้อกำหนด

1.ตรวจสอบระยะเวลาการใช้งานอุปกรณ์ต่อพ่วง

A142.01 215601
A142

วางแผนบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่อพวงได้ถูกต้องตามข้อกำหนด

2.ปรับเทียบระบบตรวจจับของอุปกรณ์ต่อพ่วง

A142.02 215602

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. มีทักษะในการฟัง พูด อ่าน เขียน



2. มีความรู้ในเรื่องของการประเมินโรคพืช



3. มีความรู้เรื่องสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช



4. ทักษะในด้านการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย



5. ทักษะในการแก้ไขปัญหากรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการตรวจสภาพโครงสร้างและส่วนประกอบตามคำแนะนำของคู่มือแต่ละรุ่น



2. ทักษะการใช้งานโดรนเพื่อยืดอายุการใช้งาน



3. ทักษะการตรวจสอบโครงสร้างและอุปกรณ์หลัก รวมไปถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงของโดรนได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของโดรนตามคู่มือของแต่ละรุ่น



2. ความรู้ในการตรวจสอบสภาพขาตั้งโดรนเพื่อการเกษตรและฝาครอบเครื่องล่าง



3. ความรู้ในการตรวจสอบสภาพโครงสร้าง อุปกรณ์หลัก และอุปกรณ์ต่อพ่วง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ



ผลจากการสอบสัมภาษณ์



ผลจากการประเมินสาธิตการปฏิบัติงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



ผลการสอบข้อเขียน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



N/A



(ง) วิธีการประเมิน



สอบข้อเขียน



สอบสัมภาษณ์



ประเมินสาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



  



เรื่องการวางแผนบำรุงรักษาโครงสร้างและอุปกรณ์หลักของโดรนทางการเกษตร ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงทักษะและองค์ความรู้ในการตรวจสอบระยะเวลาการใช้งานโครงสร้างและอุปกรณ์หลักของโดรนทางการเกษตร และสามารถปรับเทียบระบบตรวจจับของโครงสร้างและอุปกรณ์หลักในการควบคุมทิศทางการบินของโดรนได้ตามการแนะนำของคู่มือโดรนแต่ละรุ่น



  



เรื่องการวางแผนบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่อพ่วงของโดรนเพื่อการเกษตร ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงทักษะการตรวจสอบระยะเวลาการใช้งานของอุปกรณ์ต่อพ่วงของโดรนทางการเกษตร และสามารถปรับเทียบระบบตรวจจับของอุปกรณ์ต่อพ่วง เพื่อความแม่นยำในปริมาณการปล่อยสารวัตถุทางการเกษตรได้ตามการแนะนำของคู่มือโดรนแต่ละรุ่น



 



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



    



การตรวจสอบระยะเวลาการใช้งานโครงสร้างและอุปกรณ์หลัก



การตรวจสอบระยะเวลาการใช้งานโครงสร้างและอุปกรณ์หลัก หรือรอบการใช้งานของโครงสร้างและอุปกรณ์หลัก ซึ่งโดรนแต่ละรุ่นจะมีการระบุรอบการใช้งานของโครงสร้างและอุปกรณ์หลักไว้ในคู่มือของโดรนแต่ละรุ่น เมื่อครบระยะการบินโดรนหรือรอบการใช้งาน อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนอะไหล่ในบางตำแหน่งของโครงสร้างและอุปกรณ์หลักของโดรน โดยนักบินโดรนจำเป็นต้องทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระยะทางการบินหรือการใช้งานโดรน ซึ่งโครงสร้างและอุปกรณ์หลักของโดรน ประกอบไปด้วย



1) กล่องควบคุมอากาศยาน (Flight control)



2) ขาตั้งลงจอด (landing gear)



3) มอเตอร์และใบพัด (Motor & Propeller)



4) รีโมทควบคุม (Remote control)



5) ตัวส่งสัญญาณ (Receiver)



6) เข็มทิศ และจีพีเอส (Compass & GPS)



7) แบตเตอรี่ (Battery)



8) เซ็นเซอร์ (Sensor)



 



          การปรับเทียบระบบตรวจจับโครงสร้างและอุปกรณ์หลัก



            การปรับเทียบระบบตรวจจับโครงสร้างและอุปกรณ์หลัก หรือการปรับเทียบหรือการสอบเทียบ (Calibrate) โดรน เพื่อป้องกันข้อผิดพลาด (Error) และรักษาเสถียรภาพการบินให้อยู่ในทิศทางที่ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในคู่มือของโดรนแต่ละรุ่น ยกตัวอย่างการปรับเทียบเซนเซอร์ของโดรนบางรุ่น ซึ่งมีการปรับเทียบ 2 แบบ



              1) การปรับเทียบระดับ หรือการปรับเทียบแนวราบ หรือขนานกับพื้นดิน ในส่วนนี้ระบบภายในตัวโดรนจะทำการปรับเทียบได้เองโดยอัตโนมัติ โดยวางตัวโดรนไว้บนพื้นเรียบ เพื่อให้โดรนสามารถอ้างอิงทิศทางจากสนามแม่เหล็กโลกได้



              2) การปรับเทียบเข็มทิศ (Calibration Compass) กระทำเมื่อเปลี่ยนย้ายพื้นที่การปฏิบัติงาน หรือสังเกตได้ว่าขณะโดรนขึ้นบิน มีลักษณะไม่เสถียร บินสายไปสายมา อาจจะบินเอียงซ้ายหรือเอียงขวา มอเตอร์ใบพัดทำงานไม่พร้อมกัน จึงควรทำการแคริเบรตเข็มทิศ เพื่อให้โดรนเริ่มจดจำองศาและทิศทางการบินใหม่



 



      การตรวจสอบระยะเวลาการใช้งานอุปกรณ์ต่อพ่วง



การตรวจสอบระยะเวลาการใช้งานอุปกรณ์ต่อพ่วง หรือรอบการใช้งานของอุปกรณ์ต่อพ่วง ซึ่งโดรนแต่ละรุ่นจะมีการระบุรอบการใช้งานของอุปกรณ์ต่อพ่วงไว้ในคู่มือของโดรนแต่ละรุ่น เมื่อครบระยะการบินโดรนหรือรอบการใช้งาน อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนอะไหล่ในบางตำแหน่งของอุปกรณ์ต่อพ่วง โดยนักบินโดรนจำเป็นต้องทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระยะทางการบินหรือการใช้งานโดรน ซึ่งอุปกรณ์ต่อพ่วงของโดรนประกอบไปด้วย



1) สายยางข้อต่อของถังสาร



2) ถังใส่สาร



3) ถังหว่าน



4) หัวฉีดพ่น



5) กล้องหน้า และไฟหน้า



6) จอแสดงภาพ



 



          การปรับเทียบระบบตรวจจับของอุปกรณ์ต่อพ่วง



            การปรับเทียบระบบตรวจจับของอุปกรณ์ต่อพ่วง การปรับเทียบหรือการสอบเทียบ (Calibrate)  

เพื่อป้องกันข้อผิดพลาด (Error) และรักษาเสถียรภาพการปฏิบัติงานตามที่ระบุไว้ในคู่มือของโดรนแต่ละรุ่น ยกตัวอย่างการปรับเทียบเซนเซอร์ของ
ของอุปกรณ์ต่อพ่วงที่เกี่ยวข้องกับระบบฉีดพ่น ซึ่งมีการปรับเทียบ 2 ส่วน



            ส่วนที่ 1 การปรับเทียบการไหลของปั๊ม กระทำในกรณีที่ปริมาณฉีดพ่นจริงไม่สอดคล้องกับค่าที่ตั้งไว้ มีการเปลี่ยนปั๊มใหม่ หรือสังเกตได้ว่าประสิทธิภาพในการฉีดพ่นลดลง



            ส่วนที่ 2 การปรับเทียบมาตรวัดการไหล เมื่ออัตราการไหลของน้ำแสดงออกมาไม่ถูกต้อง ให้สอบเทียบมาตรวัดการไหล


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

รายละเอียดกระบวนการ เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ ซึ่งมีเครื่องมือประเมินได้แก่



1. ประเมินจากการสอบข้อเขียน



2. ประเมินความสามารถในการทำงานจากการสัมภาษณ์



3. ประเมินจากสาธิตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ