หน่วยสมรรถนะ
ตรวจสอบหลังการบินโดรนทางการเกษตร
สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ARC-XBIS-1054A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ตรวจสอบหลังการบินโดรนทางการเกษตร |
3. ทบทวนครั้งที่ | / |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
N/A
1 8341 ผู้ควบคุมเครื่องจักรโรงงานชนิดเคลื่อนที่ได้ที่ใช้ในด้านการเกษตรและป่าไม้ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่มีสมรรถนะตรวจสอบการดำเนินงานภายหลังเสร็จสิ้นการบินโดรน ต้องมีทักษะและความรู้เกี่ยวข้องกับตรวจสอบความเรียบร้อยและสภาพของอุปกรณ์ตามรายการตรวจสภาพโดรน โดยตรวจเช็คทั้งตัวโดรนและอุปกรณ์ รวมไปถึงการทำความสะอาดโดรนและอุปกรณ์ต่าง ๆ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ผู้ให้บริการโดรนทางการเกษตร (Drone services for agriculture provider) |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
10.1 พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 มาตรา 24 10.2 หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับ หรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมจากภายนอก พ.ศ. 255810.3 ประกาศ กสทช. เรื่องเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ สำหรับอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน สำหรับใช้งานเป็นการทั่วไป10.4 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 256210.5 (ร่าง) ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอกที่มีน้ำหนักเกิน 25 กิโลกรัม (ที่ใช้ในปัจจุบัน)10.6 จรรยาบรรณสำหรับผู้ค้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรและการใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย10.7 มาตรการควบคุม ตรวจสอบ กำกับ ดูแล วัตถุอันตราย ปุ๋ย และพันธุ์พืช |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
A131 ตรวจสอบความผิดปกติของโดรนได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
1.อธิบายข้อกำหนดเพื่อความปลอดภัยหลังการบินโดรน |
A131.01 | 215593 |
A131 ตรวจสอบความผิดปกติของโดรนได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
2.ตรวจสอบความเสียหายโครงสร้างและอุปกรณ์หลัก |
A131.02 | 215594 |
A131 ตรวจสอบความผิดปกติของโดรนได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
3.ตรวจสอบความเสียหายอุปกรณ์ต่อพ่วง |
A131.03 | 215595 |
A132 ทำความสะอาดโดรนได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
1.อธิบายข้อกำหนดเพื่อความปลอดภัยขณะทำความสะอาดโดรน |
A132.01 | 215596 |
A132 ทำความสะอาดโดรนได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
2.ทำความสะอาดโครงสร้างและอุปกรณ์หลัก |
A132.02 | 215597 |
A132 ทำความสะอาดโดรนได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
3.ทำความสะอาดอุปกรณ์ต่อพ่วง |
A132.03 | 215598 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
1. มีทักษะในการฟัง พูด อ่าน เขียน 2. มีความรู้ในเรื่องประเภทของโดรน 3. เข้าใจการทำงานของรีโมตฯ ควบคุม 4. เข้าใจข้อกำหนดกฎหมายในการเลือกสถานที่บินโดรน 5. ทราบขั้นตอนในการตรวจสอบโดรน วิธีการถนอมอุปกรณ์ ภายหลังขึ้นบิน |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. สามารถสื่อสารกับทีมงาน 2. สามารถควบคุมการทำงานของรีโมตฯ ควบคุมโดรน 3. สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎหมายในการบินโดรน 4. สามารถทำความสะอาดโดรนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัย (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้พื้นฐานทางด้านภาษาไทย และภาษาอังกฤษ 2. ความรู้ในประเภทของโดรน 3. ความรู้ในการควบคุมการทำงานของรีโมตฯ ควบคุมโดรน 4. ความรู้ในข้อกำหนดกำหมายในการบินโดรน 5. ความรู้ในด้านการทำความสะอาดโดรนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัย 6. ความรู้ในการแก้ไขปัญหากรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ ผลจากการสอบสัมภาษณ์ ผลจากการประเมินสาธิตการปฏิบัติงาน (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) ผลการสอบข้อเขียน (ค) คำแนะนำในการประเมิน N/A (ง) วิธีการประเมิน สอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์ ประเมินสาธิตการปฏิบัติงาน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ
เรื่องการตรวจสอบความปกติของโดรน ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงทักษะและองค์ความรู้ในการอธิบายข้อกำหนดเพื่อความปลอดภัยหลังการบินโดรนได้อย่างครอบคลุมตามหลักการปฏิบัติการบินโดรนเพื่อการเกษตร และมีทักษะในการตรวจสอบความเสียหายโครงสร้างและอุปกรณ์หลัก รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงเพื่อประเมินความพร้อมของโดรนว่าอยู่ในสภาพที่สามารถขึ้นบินปฏิบัติงานได้อีกครั้งหรือไม่ อ้างอิงลักษณปกติของโดรนตามเอกสารคู่มือของโดรนแต่ละรุ่น
เรื่องการทำความสะอาดโดรน ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงทักษะและองค์ความรู้ในการอธิบายข้อกำหนดเพื่อความปลอดภัยขณะทำความสะอาดโดรนได้อย่างครอบคลุมตามหลักปฏิบัติการบินโดรนเพื่อการเกษตร ซึ่งจะต้องแสดงทักษะการทำความสะอาดโครงสร้างและอุปกรณ์หลัก รวมไปถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งานและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับโดรน
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
การอธิบายข้อกำหนดเพื่อความปลอดภัยหลังการบินโดรน การอธิบายข้อกำหนดเพื่อความปลอดภัยหลังการบินโดรนทางการเกษตร หรือหลักการในการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยหลังการบินโดรนทางการเกษตร นักบินโดรนต้องหลีกเสี่ยงการเดินผ่านแปลง เพื่อลดการสัมผัสกับละอองสาร และอาจมีการปักป้ายเตือนผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องไม่ให้เข้าไปในบริเวณที่ทำการพ่นสารเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง เมื่อเสร็จการปฏิบัติงานต้องทำความสะอาดภาชนะบรรจุภัณฑ์สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ใช้แล้วโดยการรวบรวมเก็บนำไปไว้ในจุดทิ้ง เก็บสารเคมีอย่างปลอดภัยตามแนะนำบนฉลาก การตรวจสอบโครงสร้างและอุปกรณ์หลัก การตรวจสอบโครงสร้างและอุปกรณ์หลักภายหลังเสร็จสิ้นการบินตามใบตรวจสภาพโดรน (Post Flight)เพื่อการเกษตรที่ระบุไว้ในคู่มือของแต่ละรุ่น ยกตัวอย่างรายการตรวจสอบ ได้แก่
การตรวจสอบอุปกรณ์ต่อพ่วง การตรวจสอบอุปกรณ์ต่อพ่วงของโดรนหลังทำการบินตามใบตรวจสภาพ (Post Flight) โดรนเพื่อการเกษตรที่ระบุไว้ในคู่มือของแต่ละรุ่น ยกตัวอย่างรายการตรวจสอบ ได้แก่ 1) ถังบรรจุสารหรือถังหว่านไม่มีรอยแตก 2) ตรวจสอบหัวสเปรย์หรือหว่านไม่มีรอยแตกหรือความเสียหาย การอธิบายข้อกำหนดเพื่อความปลอดภัยขณะทำความสะอาดโดรน ข้อกำหนดเพื่อความปลอดภัยขณะทำความสะอาดโดรนเพื่อการเกษตรตามคำแนะนำของคู่มือแต่ละรุ่นยกตัวอย่างหลักการทำความสะอาดมีรายละเอีดยดังต่อไปนี้ 1) ตรวจสอบอุณหภูมิของโดรนก่อนเริ่มทำความสะอาดเสมอ ควรตั้งทิ้งไว้ให้ความร้อนกระจายตัวเท่ากับระดับอุณหภูมิห้องจึงเริ่มทำความสะอาด 2) หลีกเลี่ยงบริเวณที่สามารถสัมผัสกับน้ำได้ เช่น แผงวงจรควบคุมโดรนก่อนทำความสะอาดต้องตรวจสอบว่าฝาครอบได้รับการปิดอย่างสนิท การทำความสะอาดโครงสร้างและอุปกรณ์หลัก การทำความสะอาดโครงสร้างและอุปกรณ์หลักของโดรนตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในคู่มือของแต่ละรุ่น เลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการนำมาทำความสะอาดโครงสร้างของโดรนหรือเช็ดตัวโดรนภายนอกให้สะอาด เช่น บริเวณกล่องหรือบอร์ดควบคุมการบิน แบตเตอรี่ รีโมทควบคุม กล้องติดโดรน หลอดไฟ แขนใบพัด ขาโดรน (Landing gear) ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ไม่มีคราบน้ำยา สำหรับแบตเตอรี่ไม่ควรทำความสะอาดในทันทีภายหลังจากที่การปฏิบัติงานเสร็จสิ้น ควรตั้งทิ้งไว้ให้ความร้อนกระจายตัวเท่ากับระดับอุณหภูมิห้องจึงเริ่มทำความสะอาด การทำความสะอาดอุปกรณ์ต่อพ่วง การทำความสะอาดอุปกรณ์ต่อพ่วงตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในคู่มือของแต่ละรุ่น เลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการนำมาทำความสะอาดอุปกรณ์ เลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการนำมาทำความสะอาดโครงสร้างของโดรน เช่น ใบพัด หัวฉีด ถังสาร ระบบฉีดพ่น ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ล้างสารเคมีเพื่อป้องกันการผุกร่อนของถังสาร หัวสเปรย์ สายยาง วิธีการล้างถังสาร ยกตัวอย่างวิธีการล้างถังสารของโดรนบางรุ่น เริ่มต้นแนะนำให้เติมน้ำสะอาด 3 - 4 ลิตร ผ่านตัวกรองภายในถัง ปิดฝา จากนั้นกดปุ่มไล่น้ำให้น้ำออกทั้งหน้าและหลังของตัวโดรน สังเกตหัวฉีดมีการพ่นน้ำปกติไม่มีการอุดตัน สเปรย์น้ำออกให้หมดถังเป็นอันเสร็จ ทำเช่นนี้อีกรอบกรณียังพบสารเคมีตกค้างภายในถังหรือสายยางและที่หัวฉีด หยุดการทำงานของโดรนเมื่อล้างระบบฉีดพ่นเสร็จเรียบร้อย ข้อควรระวังอย่าให้น้ำสัมผัสตัวโดรนหรือเมมบอร์ดและแบตเตอรี่ |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
รายละเอียดกระบวนการ เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ ซึ่งมีเครื่องมือประเมินได้แก่ 1. ประเมินจากการสอบข้อเขียน 2. ประเมินความสามารถในการทำงานจากการสัมภาษณ์ 3. ประเมินจากสาธิตการปฏิบัติงาน |