หน่วยสมรรถนะ
ทำการบินโดรนทางการเกษตร
สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ARC-HVIK-1053A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ทำการบินโดรนทางการเกษตร |
3. ทบทวนครั้งที่ | / |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
N/A
1 8341 ผู้ควบคุมเครื่องจักรโรงงานชนิดเคลื่อนที่ได้ที่ใช้ในด้านการเกษตรและป่าไม้ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่มีสมรรถนะควบคุมโดรนทางการเกษตร ต้องมีทักษะและความรู้ ในการควบคุมการบินโดรนทางการเกษตร แบบการควบคุมด้วยตนเองและแบบการควบคุมด้วยระบบโปรแกรมอัตโนมัติ นอกจากนี้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขณะทำการบินสามารถแก้ไขสถานการณ์ให้โดรนมีความเสียหายน้อยที่สุด |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ผู้ให้บริการโดรนทางการเกษตร (Drone services for agriculture provider) |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
10.1 พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 มาตรา 24 10.2 หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับ หรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมจากภายนอก พ.ศ. 255810.3 ประกาศ กสทช. เรื่องเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ สำหรับอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน สำหรับใช้งานเป็นการทั่วไป10.4 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 256210.5 (ร่าง) ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอกที่มีน้ำหนักเกิน 25 กิโลกรัม (ที่ใช้ในปัจจุบัน)10.6 จรรยาบรรณสำหรับผู้ค้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรและการใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย10.7 มาตรการควบคุม ตรวจสอบ กำกับ ดูแล วัตถุอันตราย ปุ๋ย และพันธุ์พืช |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
A121 ควบคุมโดรนระบบบังคับมือได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
1.อธิบายหลักการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยขณะบินโดรนระบบบังคับมือ |
A121.01 | 215581 |
A121 ควบคุมโดรนระบบบังคับมือได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
2.บังคับโดรนเพื่อขึ้น-ลงจอด |
A121.02 | 215582 |
A121 ควบคุมโดรนระบบบังคับมือได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
3.บังคับโดรนเพื่อหลบสิ่งกีดขวาง |
A121.03 | 215583 |
A121 ควบคุมโดรนระบบบังคับมือได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
4.บังคับโดรนเพื่อเก็บรายละเอียดการปฏิบัติงานที่นอกเหนือจากการบินอัตโนมัติ |
A121.04 | 215584 |
A122 ควบคุมโดรนระบบอัตโนมัติได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
1.อธิบายหลักการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยขณะบินโดรนระบบอัตโนมัติ |
A122.01 | 215585 |
A122 ควบคุมโดรนระบบอัตโนมัติได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
2.วาดแปลงงานเกษตร |
A122.02 | 215586 |
A122 ควบคุมโดรนระบบอัตโนมัติได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
3.อัพโหลดข้อมูลแปลงงานเกษตร |
A122.03 | 215587 |
A122 ควบคุมโดรนระบบอัตโนมัติได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
4.ตั้งค่าพารามิเตอร์ให้เหมาะสมกับพืชในแปลงงานเกษตร |
A122.04 | 215588 |
A123 ควบคุมโดรนกรณีเหตุฉุกเฉินได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
1.อธิบายหลักการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยขณะบินโดรนกรณีเหตุฉุกเฉิน |
A123.01 | 215589 |
A123 ควบคุมโดรนกรณีเหตุฉุกเฉินได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
2.ควบคุมการบินกรณีสูญเสียสัญญาณดาวเทียม
(GPS) |
A123.02 | 215590 |
A123 ควบคุมโดรนกรณีเหตุฉุกเฉินได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
3.ควบคุมการบินกรณีโดรนเกิดความเสียหาย |
A123.03 | 215591 |
A123 ควบคุมโดรนกรณีเหตุฉุกเฉินได้ถูกต้องตามข้อกำหนด |
4.ควบคุมการบินกรณีโดนสิ่งกีดขวาง |
A123.04 | 215592 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
1. มีทักษะในการฟัง พูด อ่าน เขียน 2. มีความรู้ในเรื่องประเภทของโดรน 3. เข้าใจการทำงานของรีโมตฯ ควบคุม 4. เข้าใจข้อกำหนดกฎหมายในการเลือกสถานที่บินโดรน 5. ทราบขั้นตอนในการตรวจสอบปัจจัยให้พร้อม และถูกต้องก่อนขึ้นบิน 6. มีทักษะในการควบคุมโดรนขึ้นบินลงจอดอย่างปลอดภัย |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. สามารถสื่อสารกับทีมงาน 2. สามารถควบคุมการทำงานของรีโมตฯ ควบคุมโดรน 3. สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎหมายในการบินโดรน 4. สามารถบินโดรนปฏิบัติงานในแปลงเกษตรได้อย่างปลอดภัย 5. สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าขณะบินโดรนได้ (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้พื้นฐานทางด้านภาษาไทย และภาษาอังกฤษ 2. ความรู้ในประเภทของโดรน 3. ความรู้ในการควบคุมการทำงานของรีโมตฯ ควบคุมโดรน 4. ความรู้ในข้อกำหนดกำหมายในการบินโดรน 5. ความในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย 6. ความรู้ในการแก้ไขปัญหากรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ ผลจากการสอบสัมภาษณ์ ผลจากการประเมินแฟ้มสะสมผลงาน ผลจากการประเมินสาธิตการปฏิบัติงาน (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) ผลการสอบข้อเขียน (ค) คำแนะนำในการประเมิน N/A (ง) วิธีการประเมิน สอบข้อเขียน ประเมินแฟ้มสะสมผลงาน สอบสัมภาษณ์ ประเมินสาธิตการปฏิบัติงาน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ
เรื่องการควบคุมโดรนระบบบังคับมือ ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงทักษะและองค์ความรู้ในการอธิบายหลักการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยขณะบินโดรนระบบบังคับมือได้อย่างครอบคลุมตามหลักการปฏิบัติงานการบินโดรนเพื่อการเกษตร ซึ่งนักบินโดรนจะต้องแสดงทักษะการบังคับโดรน เพื่อบินขึ้นและลงจอด และหลบสิ่งกีดขวางได้อย่างปลอดภัยตามคำแนะนำของโดรนแต่ละรุ่น รวมไปถึงสามารถบินโดรนเพื่อเก็บรายละเอียดของงานในบริเวณที่การปฏิบัติงานแบบการบินอัตโนมัติไม่สามารถเข้าถึงพืชเป้าหมายได้
เรื่องการควบคุมโดรนระบบอัตโนมัติ ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงทักษะและองค์ความรู้ในการอธิบายหลักการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยขณะบินโดรนระบบอัตโนมัติได้อย่างครอบคลุมตามหลักการปฏิบัติงานการบินโดรนเพื่อการเกษตร ซึ่งนักบินโดรนจะต้องแสดงทักษะการวาดแปลงงานเกษตรหรือแผนภาพการบินโดรน จากนั้นทำการตั้งค่าพามิเตอร์ให้เหมาะสมกับพืชในแปลงงานเกษตร และอัพโหลดข้อมูลแปลงงานเกษตรได้อย่างถูกต้องตามคำแนะนำของโดรนแต่ละรุ่น
เรื่องการควบคุมโดรนกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงทักษะและองค์ความรู้ในการอธิบายหลักการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยขณะบินโดรนกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินได้อย่างครอบคลุมตามหลักการปฏิบัติงานการบินโดรนเพื่อการเกษตร ซึ่งนักบินโดรนจะต้องแสดงทักษะการควบคุมการบินกรณีสูญเสียสัญญาณดาวเทียม (GPS) กรณีโดรนเกิดความเสียหาย และโดนสิ่งกีดขวางได้อย่างปลอดภัยหรือลงจอดแบบเกิดความเสียหายกับโดรนให้น้อยที่สุดตามคำแนะนำของโดรนแต่ละรุ่น
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
การอธิบายหลักการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยขณะบินโดรนทางการเกษตรด้วยระบบบังคับมือและระบบอัตโนมัติ หลักการในการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยขณะทำการบินโดรนทางการเกษตร เมื่อทำการปฏิบัติงานในแปลงเกษตร จะต้องบินโดรนในระยะสายตาหรือตามองเห็นอยู่ตลอดเวลาสลับกับการมองหน้าจอแท็ปเลต ให้สังเกตว่าโดรนบินในท่าทางที่ตรงไม่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ตรวจสอบสัญญาณสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนหน้าจอแจ้งเตือนเสมอ เช่น ปริมาณพลังงานแบตเตอรี่ จำนวนดาวเทียมที่เชื่อมต่อ มอเตอร์ใบพัดทุกตำแหน่งทำงานปกติ และห้ามปล่อยมือออกจากรีโมทควบคุม ข้อกำหนดในการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยขณะทำการบินโดรนทางการเกษตร เมื่อทำการปฏิบัติงานในแปลงเกษตร
การบังคับโดรนเพื่อขึ้น-ลงจอด นักบินโดรนสามารถบังคับโดรนเพื่อนำเครื่องขึ้น และเคลื่อนตัวเข้าไปในแปลงเกษตร จากนั้นนำเครื่องกลับมายังลานจอดได้อย่างปลอดภัย ซึ่งก่อนการลงจอด จะต้องตรวจสอบว่าพื้นที่ลงจอดไม่มีอุปสรรคสำหรับการลงจอดเสมอ และหากนักบินไม่ได้อยู่ในระยะที่สามารถตรวจสอบจุดลงจอดได้ นักบินจะต้องวิทยุสื่อสารกับผู้ช่วยเพื่อแจ้งว่าต้องการนำโดรนกลับไปจอดยังลานจอด นักบินจะต้องรอการตรวจสอบจากผู้ช่วยถึงนำโดรนกลับไปลงจอดได้ การบังคับโดรนเพื่อหลบสิ่งกีดขวาง นักบินโดรนสามารถบังคับโดรนเพื่อหลบสิ่งกีดขวาง เช่นต้นไม้ กิ่งไม้ที่โน้มเข้ามาในแปลงเกษตร ในระยะสายตาได้อย่างปลอดภัย โดยขณะที่โดรนกำลังเคลื่อนตัวปฏิบัติงาน หากมีสิ่งกีดขวางที่ระบบอัตโนมัติไม่สามารถหลบได้ นักบินจะต้องเปลี่ยนเป็นระบบ Mannual เพื่อบังคับโดรนให้หลบสิ่งกีดขวางได้ด้วยตนเอง
การบังคับโดรนเพื่อเก็บรายละเอียดการปฏิบัติงานที่นอกเหนือจากการบินโดรนอัตโนมัติ ในการบินโดรนในระบบอัตโนมัติจะมีการเว้นระยะจากขอบแปลง เพื่อป้องกันไม่ให้สารเคมีที่พ่นถูกลมพัดเข้าไปยังแปลงข้างเคียง และในบริเวณที่กำหนดให้โดรนหลบสิ่งกีดขวางได้แบบอัตโนมัติ หากสังเกตในระยะสายตาแล้วพบว่าสารเคมีกระจายไม่ครอบคุมพืชที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว ควรบังคับโดรนด้วยระบบควบคุมด้วยตนเอง เพื่อเก็บรายละเอียดของงาน
การวาดแปลงเกษตร สำหรับการบินในโหมดอัตโนมัติ มีรูปแบบการกำหนดจุดแบบ AB ซึ่งสามารถกระทำได้ 2 แบบ แบบที่ 1 กำหนดจุดจากการวางแนวกรอบครอบคลุมทั้งแปลง จากนั้นโปรแกรมจะทำการกำหนดแนวเส้นการบินให้อัตโนมัติ แบบที่ 2 ลากจุดไปทีละแนวเส้นการบิน ในกรณีพื้นที่ไม่สามารถตีกรอบเป็นสี่เหลี่ยมเท่ากันได้ โดยนักบินโดรนสามารถเลือกรูปการวาดแปลงได้ตามการแนะนำของโดรนแต่ละรุ่น ในการกำหนดจุด จะประกอบไปด้วย 3 จุดด้วยกัน คือจุด A B และ C โดยจุด A จะกำหนดให้เป็นจุดเริ่มต้นของการบินแบบอัตโนมัติ จุด B คือจุดที่อยู่ในแนวเดียวกับจุด A จุด C จะอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับจุด B เสมอ ซึ่งจุด B กับ C ใช้บ่งบอกถึงด้านกว้างและยาวของแปลง ลักษณะการวาดแปลง สามารถทำได้ 3 แบบ วิธีที่ 1 วาดจากรีโมทหรือวาดบนหน้าจอแอปพลิเคชั้น สร้างขอบเขตการทำงานของโดรนบนหน้าจอรีโมท โดยลากขีดเส้นกรอบขอบเขตการทำงาน วิธีที่ 2 สร้างจากรีโมท ใช้ตำแหน่งจากรีโมทในการเพิ่มจุดพื้นที่ โดยการเดินเท้าพร้อมถือรีโมทเข้าไปในพื้นที่แปลงจากนั้นกำหนดขอบเขตแปลง วิธีที่ 3 สร้างพื้นที่ด้วยโดรน ใช้ตำแหน่งจากโดรนในการเพิ่มจุดของพื้นที่ โดยนำโดรนขึ้นบินเข้าไปยังแปลงเกษตรเพื่อกำหนดขอบเขตของแปลง กรณีพบเห็นสิ่งกีดขวาง สามารถวาดเส้นทางหลีกเลี่ยงเพื่อให้การบินโดรนมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ทุกขั้นตอนของการวาดแปลงเกษตรควรปฏิบัติตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในคู่มือของโดรนแต่ละรุ่น
การตั้งค่าพารามิเตอร์ให้เหมาะสมกับพืชในแปลงงานเกษตร หรือการตั้งค่าแผนการบิน หรือการวางแผนเส้นทางและการทำงานของโดรน ภายหลังจากวาดแปลงงานเกษตร ยกตัวอย่างการปฏิบัติงานของโดรนบางรุ่น มีเมนูที่ปรากฏบนหน้าจอรีโมทควบคุมดังต่อไปนี้ 1) ตั้งค่าปรับทิศทางการบินให้เหมาะสมกับพื้นที่การทำงาน เช่น แนวตั้ง แนวเฉียง 2) เลือกประเภทของ "ปั๊ม" และ "หัวฉีด" ตามที่มีการติดตั้งไว้กับตัวโดรน 3) เลือกปรับมุมแนวเส้นทางการบินให้ขนานไปกับขอบแปลง ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้ใช้โดรน 4) กำหนดค่าเว้นขอบแปลง ซึ่งพิจารณาจากกรณีที่ขอบแปลงมีต้นไม้หรือกิ่งไม้โน้มเข้ามา หรือทิศทางของลมอาจพัดสารเคมีเข้าไปสร้างความเสียหายกับพืชแปลงข้างเคียง โดยแนะนำให้เว้นระยะขอบไว้ 3-4 เมตร เมื่อเสร็จงานในพื้นที่หลังจึงบินมาเก็บขอบที่ยังไม่โดนสารทีหลัง 5) ระบบบินไต่ความสูง เปิดเลือกโหมดให้เรดาห์วัดความสูงของพืชคอยทำงาน 6) กำหนดจุดน้ำที่อยู่ในถังบรรจุสารหมด โดยเลือกว่าจะให้โดนบินกลับไปยังตำแหน่งใดของแปลง เพื่อจะได้เติมสาร 7) ปรับองศาความเอียงของเส้นทางการบินตามความเหมาะสมของแปลงหรือทิศทางของลม 8) กำหนดระยะห่างของเส้นการบิน โดยระยะเว้นของแต่ละเส้นที่ปรากฏบนหน้าจอรีโมทควบคุมแนะนำให้อยู่ห่างกัน 4 เมตร 9) กำหนดความสูงจากยอดพืชขณะบินทำงานเพื่อรักษาระยะห่างความสูงจากยอดพืชร่วมกับ 10) กำหนดความเร็วในการบิน ขณะปฏิบัติงานแนะนำอยู่ที่ 4 เมตรต่อวินาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนหัวฉีดและอัตราการผสมสารแต่ละประเภท 11) กำหนดช่วงเวลาการบิน มักเปิดใข้กรณีที่มีการบินมากกว่า 3 ไร่ขึ้นไปเพื่อกำหนดค่าน้ำที่จะต้องเติมก่อนบินต่อในเส้นทางที่เหลือ 12) กำหนดความสูงขึ้นบิน ก่อนบินเข้าแปลงเกษตรควรมีระยะความสูงขึ้นบินสูงกว่าสิ่งกีดขวางที่อยู่รอบแปลงเกษตร พิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ 13) กำหนดความสูง เมื่อมีคำสั่งให้โดรนบินกลับลานจอดหรือบินกลับบ้านแบบอัตโนมัติ ระยะความสูงพิจารณาตามความเหมาะสมของสิ่งกีดขวางที่อยู่รอบแปลง 14) กำหนดความเร็วเมื่อโดรนมีคำสั่งให้บินกลับลานจอดหรือกลับบ้านแบบอัตโนมัติ พิจารณาตามความเหมาะสม โดยทั่วไปแนะนำให้ตั้งอยู่ที่ 4 เมตรต่อวินาที 15) ตรวจสอบค่าการการทำงานทั้งหมดของโดรนอีกครั้ง แล้วทำการบันทึกข้อมูล การอัพโหลดข้อมูลแปลงงานเกษตร เป็นการยืนยันการวาดแปลงงานเกษตร และการตั้งค่าพารามิเตอร์ โดยตัวเครื่องจะทำการประมวลผลข้อมูลการทำงาน และทำให้ทราบจำนวนพื้นที่ที่ต้องปฏิบัติงาน ยกตัวอย่าง ภายหลังเสร็จสิ้นกระบวนการวาดแปลง และตั้งค่าพารามิเตอร์โดยเลือกโหมดฉีดพ่น เครื่องทำการประมวลผลพื้นที่การปฏิบัติงานอยู่ที่ 1.9 ไร่ ปริมาณน้ำหรือของเหลวที่จะต้องเตรียมคือ 14.8 ลิตร จึงจะครอบคลุมทั่วทั้งแปลง และในพื้นที่ 1 ไร่ โดรนจะพ่นน้ำหรือของเหลวในปริมาณ 8 ลิตร ข้อมูลปริมาณน้ำต่อพื้นที่ 1 ไร่ ที่ได้นี้จะเป็นข้อมูลที่สำคัญในการนำไปใช้สำหรับการคำนวณอัตราการผสมสารที่ต้องการฉีดพ่น
การอธิบายหลักการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยขณะบินโดรนกรณีเหตุฉุกเฉิน หลักการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยขณะบินโดรนกรณีเหตุฉุกเฉิน 1) บังคับโดรนด้วยระบบบังคับมือ เพื่อรักษาเสถียรภาพของโดรน 2) บังคับโดรนให้บินอยู่ในระยะสายตา 3) บังคับโดรนไปยังตำแหน่งลงจอด 4) กรณีเกิดเหตุแบตเตอรี่มีไฟไหม้ นักบินโดรนจะต้องทำการดับไฟด้วยถังดับเพลิงที่เตรียมไว้ หากไฟลุกลามเกินการควบคุมจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเพื่อขอความช่วยเหลือโดยด่วน การควบคุมการบินกรณีสูญเสียสัญญาณดาวเทียม (Loss of GPS Signal) เมื่อตรวจสอบพบว่าสัญญาณการเชื่อมต่อกับดาวเทียมขาดหาย หรือลดลงต่ำกว่า 7 ดวง นักบินโดรนจะต้องทำให้โดรนบินอยู่ด้วยระบบ Mannual เพื่อบังคับโดรนลงจอดในพื้นที่สำรอง หรือกลับมายังจุดลานจอด โดยไม่ใช้งานระบบกลับจุดกำหนด (Return-To-Home) หากตรวจสอบพบว่าสัญญาณดาวเทียมกลับมาทำงานอย่างน้อย 7 ดวง จึงเริ่มคำสั่งให้โดรนกลับไปทำงานต่อตามปกติ การควบคุมการบินกรณีโดรนเกิดความเสียหาย การควบคุมการบินกรณีโครงสร้างและอุปกรณ์หลักเกิดความเสียหาย นักบินโดรนจะต้องทำให้โดรนบินอยู่กลับที่ หรือลงจอดในพื้นที่สำรอง หรือกลับมายังจุดลานจอด เพื่อตรวจสอบความเสียหาย การควบคุมการบินกรณีโดนสิ่งกีดขวาง นักบินโดรนจะต้องทำให้โดรนบินอยู่กลับที่ หรือลงจอดในพื้นที่สำรอง หรือกลับมายังจุดลานจอด เพื่อตรวจสอบความเสียหาย |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
รายละเอียดกระบวนการ เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ ซึ่งมีเครื่องมือประเมินได้แก่ 1. ประเมินจากการสอบข้อเขียน 2. ประเมินความสามารถในการทำงานจากการสัมภาษณ์ 3. ประเมินจากสาธิตการปฏิบัติงาน |