หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการตรวจสอบคุณภาพของข้าวระหว่างกระบวนการผลิต

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-SUSE-268A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการตรวจสอบคุณภาพของข้าวระหว่างกระบวนการผลิต

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ไม่ระบุ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้ ทักษะในการควบคุมการตรวจสอบคุณภาพของข้าวระหว่างกระบวนการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด  รวมถึงสามารถนำทางเทคนิคในการประยุกต์หลักการ เลือกใช้และทำงานตามมาตรฐาน แก้ปัญหาทางเทคนิคหน้างานควบคู่กับการใช้คู่มือ เข้าใจและอธิบายสาระสำคัญของงานด้วยหลักการที่ถูกต้อง ใช้สารสนเทศเพื่อควบคุมคุณภาพของผลงาน ภายใต้การแนะแนวของหัวหน้างาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ISCO-08: 1321 ผู้จัดการ/หัวหน้าฝ่ายควบคุมคุณภาพ ด้านการผลิต

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าว ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 (มกษ. 4401-2551)- ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าว ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 (มกษ. 4403-2553)- ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : ข้าวไทย ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 (มกษ. 4004-2560)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
103021 ควบคุมการตรวจสอบคุณภาพของข้าวระหว่างกระบวนการผลิตให้สอดคล้องตามข้อกำหนด 1. ควบคุมการปฏิบัติงานการตรวจสอบคุณภาพของข้าวระหว่างกระบวนการผลิตให้เป็นไปตามแผน 103021.01 97041
103021 ควบคุมการตรวจสอบคุณภาพของข้าวระหว่างกระบวนการผลิตให้สอดคล้องตามข้อกำหนด 2. บ่งชี้สถานะของคุณภาพข้าวระหว่างกระบวนการผลิตตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน(procedures) 103021.02 97042
103021 ควบคุมการตรวจสอบคุณภาพของข้าวระหว่างกระบวนการผลิตให้สอดคล้องตามข้อกำหนด 3. ควบคุมการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ระหว่างกระบวนการผลิตได้อย่างถูกต้องตามคู่มือปฏิบัติงาน 103021.03 97043
103021 ควบคุมการตรวจสอบคุณภาพของข้าวระหว่างกระบวนการผลิตให้สอดคล้องตามข้อกำหนด 4. แปลผลการตรวจสอบคุณภาพข้าวระหว่างกระบวนการผลิตประจำวัน 103021.04 97044
103021 ควบคุมการตรวจสอบคุณภาพของข้าวระหว่างกระบวนการผลิตให้สอดคล้องตามข้อกำหนด 5. ใช้ check list ในการควบคุมคุณภาพของข้าวระหว่างกระบวนการผลิต 103021.05 97045
103022 รวบรวมปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับคุณภาพของข้าวระหว่างกระบวนการผลิต 1. รวบรวมปัญหาด้านคุณภาพของข้าวระหว่างกระบวนการผลิตจากปัจจัยต่างๆ 103022.01 97046
103022 รวบรวมปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับคุณภาพของข้าวระหว่างกระบวนการผลิต 2. อธิบายสาเหตุที่ทำให้คุณภาพของข้าวระหว่างกระบวนการผลิตไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด 103022.02 97047
103022 รวบรวมปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับคุณภาพของข้าวระหว่างกระบวนการผลิต 3. ประสานงานและให้ข้อมูลแก่ฝ่ายกระบวนผลิตในการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้หากคุณภาพของข้าวระหว่างกระบวนการผลิตไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด 103022.03 97048
103023 รายงานผลการตรวจสอบคุณภาพของข้าวระหว่างกระบวนการผลิต 1. จัดทำรายงานผลการตรวจสอบระหว่างกระบวนการผลิตประจำสัปดาห์และประจำเดือน 103023.01 97049
103023 รายงานผลการตรวจสอบคุณภาพของข้าวระหว่างกระบวนการผลิต 2. ใช้คอมพิวเตอร์ในการบันทึกข้อมูลสำหรับทำรายงาน 103023.02 97050

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


- มีความรู้และทักษะการคำนวณทางคณิตศาสตร์ (ร้อยละ) และสถิติเบื้องต้น(ค่าเฉลี่ย)




- มีความรู้และทักษะการสื่อสารด้วยภาษาไทยได้ดี




- มีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าวและหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย




- มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการควบคุมการตรวจสอบคุณภาพของข้าวระหว่างกระบวนการผลิตตามที่มาตรฐานกำหนด




- มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุปกรณ์และเครื่องมือในการควบคุมการตรวจสอบคุณภาพของข้าวระหว่างกระบวนการผลิต




- มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์





13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


- ทักษะในการควบคุมการตรวจสอบคุณภาพของข้าวระหว่างกระบวนการผลิตตามที่มาตรฐานกำหนด




- ทักษะในการทำงานเป็นทีมและสื่อสารในส่วนงานที่รับผิดชอบ




- ทักษะแก้ปัญหาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน




- ทักษะในการใช้อุปกรณ์เครื่องมือในการในการควบคุมการตรวจสอบคุณภาพของข้าวระหว่างกระบวนการผลิต




- ทักษะการบ่งชี้สถานะของคุณภาพข้าวระหว่างกระบวนการผลิตตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


- ความรู้พื้นฐานตามหลักสุขลักษณะส่วนบุคคลและหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย




- สามารถทำงานเป็นทีมและสื่อสารในส่วนงานที่รับผิดชอบ




- วิธีใช้อุปกรณ์และเครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพของข้าวระหว่างกระบวนการผลิต




- สามารถแปลผลการตรวจสอบคุณภาพข้าวระหว่างกระบวนการผลิตได้




- ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการตรวจสอบคุณภาพของข้าวระหว่างกระบวนการผลิตตามที่มาตรฐานกำหนด




- หลักจิตวิทยาเบื้องต้นในควบคุมการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขลักษณะส่วนบุบคลของผู้ปฏิบัติงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




- ผลการสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์




- ใบรับรองประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย1ปีจากสถานประกอบการที่เกี่ยวกับโรงสีหรือ อุตสาหกรรมการแปรรูปข้าว หรือ อุตสาหกรรมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร หรือ โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร หรือ สถานที่แปรรูปอาหาร




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




-   ผลการสอบข้อเขียน




-   ใบรับรองคุณวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าการศึกษาในระบบระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ในปีที่สำเร็จการศึกษา)หรือ ไม่ต่ำกว่าการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(ในปีที่สำเร็จการศึกษา) (ถ้ามี)




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




- การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงาน หรือ หลักฐานความรู้ตามที่ระบุ




- การประเมินหน่วยสมรรถนะ โดยวิธีการสอบข้อเขียนและการสัมภาษณ์ สถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวน และมีสิ่งอำนวยความสะดวก ที่พร้อมใช้งานตามวิธีการประเมิน




- ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำแฟ้มสะสมผลงานมาใช้เพื่อประกอบเป็นหลักฐานที่อ้างอิงได้ระหว่างการสอบสัมภาษณ์




- เจ้าหน้าที่สอบต้องมีประสบการณ์ในสาขาอาชีพการควบคุมและตรวจสอบคุณภาพข้าวอย่างน้อย 2 ปี




(ง)  วิธีการประเมิน




- การสอบข้อเขียน




- การสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)


 (ก) คำแนะนำ




การทดสอบการควบคุมการตรวจสอบคุณภาพของข้าวระหว่างกระบวนการผลิต โดยหมายรวมถึง ควบคุมการตรวจสอบคุณภาพของข้าวระหว่างกระบวนการผลิตให้สอดคล้องตามข้อกำหนด และสามารถรวบรวมปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับคุณภาพของข้าวระหว่างกระบวนการผลิตเพื่อประสานงานและให้ข้อมูลแก่ฝ่ายกระบวนผลิตในการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้  พร้อมทั้งรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพของข้าวระหว่างกระบวนการผลิตให้เป็นไปตามวิธีการปฏิบัติงาน โดยคำนึงถึงหลักการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าว




(ข)คำอธิบายรายละเอียด




    1)  มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง




-  หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practice : GMP)




- มาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าว (มกษ. 4403-2553)




- มาตรฐานสินค้าเกษตร : ข้าวไทย (มกษ. 4004-2560)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ประเมินผลทางด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติของการควบคุมการตรวจสอบคุณภาพของข้าวระหว่างกระบวนการผลิต โดยใช้วิธีการทดสอบข้อเขียน และ การสัมภาษณ์หรือการสาธิตการทำงาน ตามรายละเอียดที่กำหนดในคู่มือ



 


ยินดีต้อนรับ