หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารจัดการการผลิตและจัดเก็บก๊าซชีวภาพ

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-XUZF-783

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารจัดการการผลิตและจัดเก็บก๊าซชีวภาพ

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ควบคุมระบบปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพ ระดับ 4

ISCO-08     7549 คนทำก๊าซชีวภาพ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถบริหารจัดการการผลิตและจัดเก็บก๊าซชีวภาพ โดยต้องมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีผลิตก๊าซชีวภาพ วิธีการปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพ เทคโนโลยีการจัดเก็บก๊าซชีวภาพ ระบบท่อส่ง  จัดทำแผนการใช้งานการผลิตและการจัดเก็บก๊าซชีวภาพ รวมถึงจัดทำแผนและถ่ายทอดความรู้ด้านเทคนิคและความปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    คู่มือไบโอแก๊สเซฟตี้ โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน 2.    คู่มือการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากระบบผลิตก๊าซชีวภาพ3.    คู่มือการระงับอุบัติเหตุที่เกิดจากระบบผลิตก๊าซชีวภาพ4.    คู่มือกำหนดความปลอดภัยของการออกแบบระบบผลิตและใช้ก๊าซชีวภาพ5.    คู่มือการปฏิบัติงาน การบำรุงรักษา และป้องกันอุบัติเหตุจากระบบก๊าซชีวภาพสำหรับฟาร์มปศุสัตว์6.    คู่มือการปฏิบัติงาน การบำรุงรักษา และป้องกันอุบัติเหตุจากระบบก๊าซชีวภาพสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมและขยะชุมชน7.    คู่มือการปฏิบัติงานการผลิตและใช้ก๊าซชีวภาพอย่างปลอดภัยสำหรับฟาร์มปศุสัตว์8.    คู่มือการปฏิบัติงานการผลิตและใช้ก๊าซชีวภาพอย่างปลอดภัยสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมและขยะชุมชน9.    คู่มือการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกแบบการผลิต การควบคุมคุณภาพและการใช้ก๊าซชีวภาพ (Biogas) โดยสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม10.    พระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 กรมโรงงาน11.    กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 256412.    กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-RG01-4-0071

วางแผนการบริหารจัดการการผลิตก๊าซชีวภาพ

1. อธิบายเทคโนโลยีผลิตก๊าซชีวภาพ

BMG-RG01-4-0071.01 214914
BMG-RG01-4-0071

วางแผนการบริหารจัดการการผลิตก๊าซชีวภาพ

2. ระบุขั้นตอนกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ

BMG-RG01-4-0071.02 214915
BMG-RG01-4-0071

วางแผนการบริหารจัดการการผลิตก๊าซชีวภาพ

3. อธิบายวิธีการปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพ

BMG-RG01-4-0071.03 214916
BMG-RG01-4-0071

วางแผนการบริหารจัดการการผลิตก๊าซชีวภาพ

4. ระบุความแตกต่างของสมบัติก๊าซชีวภาพในการใช้ประโยชน์แตกต่างกัน

BMG-RG01-4-0071.04 214917
BMG-RG01-4-0071

วางแผนการบริหารจัดการการผลิตก๊าซชีวภาพ

5. รวบรวมข้อมูลการผลิตตามประเภทและปริมาณความต้องการใช้ประโยชน์

BMG-RG01-4-0071.05 214918
BMG-RG01-4-0071

วางแผนการบริหารจัดการการผลิตก๊าซชีวภาพ

6. ประเมินและวางแผนการผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อนำไปใช้ประโยชน์

BMG-RG01-4-0071.06 214919
BMG-RG01-4-0071

วางแผนการบริหารจัดการการผลิตก๊าซชีวภาพ

7. จัดทำแผนการผลิตก๊าซชีวภาพ

BMG-RG01-4-0071.07 214920
BMG-RG01-4-0072

วางแผนการบริหารจัดการการจัดเก็บก๊าซชีวภาพ

1. อธิบายเกี่ยวกับกระบวนการจัดเก็บก๊าซชีวภาพ

BMG-RG01-4-0072.01 214921
BMG-RG01-4-0072

วางแผนการบริหารจัดการการจัดเก็บก๊าซชีวภาพ

2. อธิบายเกี่ยวกับระบบท่อส่งก๊าซชีวภาพ

BMG-RG01-4-0072.02 214922
BMG-RG01-4-0072

วางแผนการบริหารจัดการการจัดเก็บก๊าซชีวภาพ

3. อธิบายเกี่ยวกับเทคโนโลยีจัดเก็บก๊าซชีวภาพ

BMG-RG01-4-0072.03 214923
BMG-RG01-4-0072

วางแผนการบริหารจัดการการจัดเก็บก๊าซชีวภาพ

4. รวบรวมข้อมูลการผลิตและประเมินพื้นที่ในการจัดเก็บก๊าซชีวภาพ

BMG-RG01-4-0072.04 214924
BMG-RG01-4-0072

วางแผนการบริหารจัดการการจัดเก็บก๊าซชีวภาพ

5. จัดทำแผนการจัดเก็บก๊าซชีวภาพ

BMG-RG01-4-0072.05 214925
BMG-RG01-4-0072

วางแผนการบริหารจัดการการจัดเก็บก๊าซชีวภาพ

6. ตรวจสอบ และเฝ้าระวัง ระบบจัดเก็บก๊าซชีวภาพ

BMG-RG01-4-0072.06 214926
BMG-RG01-4-0072

วางแผนการบริหารจัดการการจัดเก็บก๊าซชีวภาพ

7. บันทึกผลการทำงาน และปัญหาที่พบ รวมถึงพิจารณาแก้ไขปัญหาเบื้องต้น

BMG-RG01-4-0072.07 214927
BMG-RG01-4-0073

จัดทำแผนและถ่ายทอดความรู้ด้านเทคนิคและความปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

1. อธิบายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการผลิตและจัดเก็บก๊าซชีวภาพ

BMG-RG01-4-0073.01 214928
BMG-RG01-4-0073

จัดทำแผนและถ่ายทอดความรู้ด้านเทคนิคและความปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

2. กำหนดพื้นที่อันตรายในการปฏิบัติงาน

BMG-RG01-4-0073.02 214929
BMG-RG01-4-0073

จัดทำแผนและถ่ายทอดความรู้ด้านเทคนิคและความปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

4. จัดทำแผนการฝึกอบรมความปลอดภัยในการผลิตและจัดเก็บก๊าซชีวภาพ

BMG-RG01-4-0073.03 214930
BMG-RG01-4-0073

จัดทำแผนและถ่ายทอดความรู้ด้านเทคนิคและความปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

5. ถ่ายทอดความรู้ด้านเทคนิคและความปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้เกี่ยวข้องกับการผลิตและจัดเก็บก๊าซชีวภาพ

BMG-RG01-4-0073.04 214931
BMG-RG01-4-0073

จัดทำแผนและถ่ายทอดความรู้ด้านเทคนิคและความปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

6. ฝึกปฏิบัติแก้ไขปัญหาจากกรณีตัวอย่าง

BMG-RG01-4-0073.05 214932

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในคิดวิเคราะห์และการสังเกตเพื่อรวบรวมปัญหาเพื่อหาสาเหตุ

2.    ทักษะในการอ่านและการใช้เอกสารมาตรฐานการควบคุมการทำงานต่าง ๆ ทั้งด้านเทคนิคและความปลอดภัย

3.    ทักษะในการควบคุมเครื่องจักรเชิงกล และการสังเกตปัญหา 

4.    ทักษะในการใช้เครื่องมือวัด หรืออุปกรณ์อ่านค่าแสดงผลแบบต่าง ๆ อย่างถูกต้อง

5.    ทักษะและเทคนิคในการถ่ายทอดความรู้ด้านเทคนิคการปฏิบัติงาน และความปลอดภัย อย่างเข้าใจง่าย

6.    ทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ด้านกระบวนการผลิตและการจัดเก็บก๊าซชีวภาพ

2.    ความรู้เชิงฟิสิกส์ สภาวะการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ แรงดัน และการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร

3.    ความรู้ด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ ในการควบคุมเครื่องจักรหรือระบบผลิตและจัดเก็บก๊าซชีวภาพ

4.    ความรู้ด้านการจำแนกก๊าซชีวภาพแรงดัน และการคัดเลือกระบบหรืออุปกรณ์ในการจัดเก็บอย่างถูกต้องและเหมาะสม

5.    ความรู้ด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมดำเนินการที่เกี่ยวข้อง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

  (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

2.    หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

3.    แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

  (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2.    หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ

3.    ผลการสอบข้อเขียน

4.    ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

  (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1.    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

-    ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

-    วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

-    ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

   (ง) วิธีการประเมิน

1.    สอบปรนัย

2.    สอบสัมภาษณ์

3.    สอบสถานการณ์จำลอง

4.    สอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการการผลิตและจัดเก็บก๊าซชีวภาพให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของบริษัท ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

   (ก) คำแนะนำ 

-N/A-

   (ข) คำอธิบายรายละเอียด 

1.    การใช้ประโยชน์ก๊าซชีวภาพ หมายถึง การนำก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การผลิตไฟฟ้า การผลิตความร้อน และเชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ โดยการใช้งานแต่ละแบบมีความแตกต่างกันของสมบัติ เช่น ค่าแรงดัน ค่าความชื้น สัดส่วนขององค์ประกอบทางเคมี เป็นต้น

2.    การกำหนดพื้นที่อันตราย หมายถึง การจำแนกบริเวณ หรือเขตที่อันตราย หรืออาจะเกิดอันตราย ต้องใช้ความระมัดระวังในการดำเนินงาน

3.    ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง หมายถึง บุคคลที่จะเข้ามาทำหน้าที่หรือปฏิบัติงานในพื้นที่การผลิตก๊าซชีวภาพ ทั้งบุคคลภายในและภายนอก เช่น ฝ่ายซ่อมบำรุงที่ต้องเข้ามาดำเนินการซ่อมบำรุงรักษา ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ บุคคลที่ปฏิบัติรับช่วงต่อจากภายนอก เนื่องจากบุคคลเหล่านี้ไม่ได้ปฏิบัติงานหน้างานอย่างสม่ำเสมอ จึงต้องมีการถ่ายถอดความรู้ความปลอดภัยในการเข้าใช้พื้นที่ 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2.    ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3.    การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย



ยินดีต้อนรับ