หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปรับแก้องค์ประกอบในการย่อยสลายและการหมักก๊าซชีวภาพให้มีประสิทธิภาพ

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-YBUZ-790

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปรับแก้องค์ประกอบในการย่อยสลายและการหมักก๊าซชีวภาพให้มีประสิทธิภาพ

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ควบคุมระบบผลิตก๊าซชีวภาพ ระดับ 5

ISCO-08     7549 คนทำก๊าซชีวภาพ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถวิเคราะห์ปฏิกิริยาชีวเคมีในกระบวนการย่อยสลายและการหมักพร้อมทั้งดำเนินการปรับแก้องค์ประกอบในการย่อยสลายและการหมักก๊าซชีวภาพให้มีประสิทธิภาพ สามาถประเมินปัญหาหรือข้อจำกัดในการย่อยสลายและการหมักที่เกิดจากการกำหนดองค์ประกอบขาเข้าเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    คู่มือการปฏิบัติงาน การบำรุงรักษา และป้องกันอุบัติเหตุจากระบบก๊าซชีวภาพสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมและขยะชุมชน โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน 25562.    คู่มือการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกแบบ การผลิต การควบคุมคุณภาพ และการใช้ก๊าซชีวภาพ (Biogas) สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม โดยสำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม 25533.    พรบ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน4.    พระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 กรมโรงงาน5.    กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 25646.    กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-RG01-5-0021

วิเคราะห์ปฏิกิริยาชีวเคมีในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

1. อธิบายทฤษฎีปฏิกิริยาชีวเคมีของการย่อยสลายและการหมัก

BMG-RG01-5-0021.01 215013
BMG-RG01-5-0021

วิเคราะห์ปฏิกิริยาชีวเคมีในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

2. วิเคราะห์ปฏิกิริยาชีวเคมีในกระบวนการย่อยสลาย

BMG-RG01-5-0021.02 215014
BMG-RG01-5-0021

วิเคราะห์ปฏิกิริยาชีวเคมีในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

3. วิเคราะห์ผลและผลผลิตจากกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

BMG-RG01-5-0021.03 215015
BMG-RG01-5-0022

ปรับแก้สัดส่วนองค์ประกอบของการย่อยสลายและการหมัก

1. กำหนดสัดส่วนองค์ประกอบของการย่อยสลายและการหมักก๊าซชีวภาพ

BMG-RG01-5-0022.01 215016
BMG-RG01-5-0022

ปรับแก้สัดส่วนองค์ประกอบของการย่อยสลายและการหมัก

2. ปรับแก้สัดส่วนองค์ประกอบของการย่อยสลายและการหมักนำเข้าให้เหมาะสม

BMG-RG01-5-0022.02 215017
BMG-RG01-5-0022

ปรับแก้สัดส่วนองค์ประกอบของการย่อยสลายและการหมัก

3. ประเมินปัญหาหรือข้อจำกัดในการย่อยสลายและการหมักที่เกิดจากการกำหนดองค์ประกอบขาเข้าเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ

BMG-RG01-5-0022.03 215018

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการใช้ภาษาเชิงวิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษในการจัดทำเอกสารดำเนินการ

2.    ทักษะในการอ่านคู่มือหรือมาตรฐานที่ต้องดำเนินการและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

3.    ทักษะในการทดลอง ใช้เครื่องมือวิเคราะห์ และประเมินผลด้านวิทยาศาสตร์

4.    ทักษะในการใช้ตรรกะและเหตุผลในการระบุจุดแข็งและจุดอ่อนและสรุปแนวทางการแก้ปัญหา

5.    ทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ด้านกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ และทราบกระบวนการเคมีและชีวภาพของการผลิตเป็นอย่างดี

2.    ความรู้ด้านสมบัติขององค์ประกอบขาเข้า ได้แก่ วัตถุดิบ สารเคมี และส่วนผสมที่ใช้ในกระบวนการผลิต เช่น ชนิด ความเข้มข้น ผลจากการปรับเปลี่ยนปริมาณ หรือองค์ประกอบเป็นต้น

3.    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย ทดลอง และขยายผลในเชิงอุตสาหกรรม

4.    ความรู้ความสามารถในการใช้งานเครื่องมือวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ การอ่านค่า และวิเคราะห์ผล

5.    ความรู้ด้านการประเมินผลกระทบหรือปัญหาเชิงวิทยาศาสตร์เพื่อแก้ไขหรือปรับปรุงให้กระบวนการมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ

6.    ความรู้ความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมดำเนินการ เช่น .docx .xlsx และ .pptx และโปรแกรมเฉพาะด้าน เป็นต้น

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

  (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

2.    หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

3.    แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

  (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2.    หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ

3.    ผลการสอบข้อเขียน

4.    ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

  (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1.    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

-    ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

-    วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

-    ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

  (ง) วิธีการประเมิน

1.    สอบปรนัย

2.    สอบสัมภาษณ์

3.    สอบสถานการณ์จำลอง

4.    สอบข้อเขียน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

การวิเคราะห์และควบคุมองค์ประกอบในกระบวนย่อยสลายและการหมักก๊าซชีวภาพ จะดำเนินการวิเคราะห์องค์ประกอบนำเข้าของกระบวนการย่อยสลายและการหมักก๊าซชีวภาพ เตรียมองค์ประกอบ ดูแลการนำเข้า รวมถึงการวิจัยและพัฒนาจุลินทรีย์ที่ใช้ในกระบวนการย่อยสลายและการหมักก๊าซชีวภาพ รวบรวมข้อมูล และจัดทำเชิงสถิติ

   (ก) คำแนะนำ 

-N/A-

   (ข) คำอธิบายรายละเอียด 

1.    องค์ประกอบในการย่อยสลายและการหมัก หมายถึง วัตถุดิบหรือสสาร ทั้งประเภทของเสียและชีวมวล จุลินทรีย์ สารเคมี และสสารอื่น ๆ ที่ใช้ในกระบวนการย่อยสลายและการหมักก๊าซชีวภาพ 

2.    จุลินทรีย์ หมายถึง สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กกลุ่มแบคทีเรีย ที่ใช้ในกระบวนการย่อยสลายและการหมักก๊าซชีวภาพ ได้แก่ แบคทีเรียกลุ่มสร้างกรด (Acid-producing bacteria) แบคทีเรียกลุ่มสร้างก๊าซมีเทน (Methane-producing bacteria)

3.    สภาวะในการย่อยสลายและการหมัก หมายถึง ตัวแปรที่มีผลต่อการย่อยสลายและการหมัก ได้แก่ อุณหภูมิ (Temperature) ความเป็นกรด-ด่าง (pH Value) ปริมาณสารอินทรีย์ที่เข้าสู่ระบบ (Loading) อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N Ratio) ระยะเวลาการกักเก็บสารอินทรีย์ในถังหมัก (Retention time) ปริมาณของแข็ง (Total Solid Content, TSC) การคลุกเคล้า (Mixing) สารอาหาร (Nutrient) สารยับยั้งและสารพิษ (Inhibiting and Toxic Materials) อัลคาลินิตี้ (Alkalinity)

4.    ข้อมูลเชิงสถิติของกระบวนการย่อยสลายและการหมัก หมายถึง ข้อมูลเชิงปริมาณที่สามารถตรวจวัดค่าในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก เช่น ปริมาณสารนำเข้า อุณหภูมิบ่อหมัก อัตราการกวนผสม ปริมาณสารอินทรีย์ที่เติมเข้าสู่ระบบ ผลวิเคราะห์การย่อยสลาย ผลวิเคราะห์ก๊าซชีวภาพปริมาณก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้ เป็นต้น

5.    ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง หมายถึง ส่วน แผนก หรือบุคคล ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและจำเป็นต้องได้รับ/ใช้ข้อมูล   ต่าง ๆ จากการวิเคราะห์และควบคุมองค์ประกอบในกระบวนย่อยสลายและการหมัก เพื่อดำเนินการในการผลิตก๊าซชีวภาพ เช่นฝ่ายควบคุมและตรวจสอบคุณภาพการผลิตก๊าซชีวภาพ ฝ่ายปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพ หรือเจ้าหน้าที่ตรวจสอบระบบหรือควบคุมการผลิตก๊าซชีวภาพ เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2.    ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3.    การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย



ยินดีต้อนรับ