หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการย่อยสลายและการหมักตามวิธีการผลิตก๊าซชีวภาพ

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-MZDV-778

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการย่อยสลายและการหมักตามวิธีการผลิตก๊าซชีวภาพ

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ควบคุมระบบผลิตก๊าซชีวภาพ ระดับ 4

ISCO-08     7549 คนทำก๊าซชีวภาพ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่อธิบายถึงการควบคุมสภาวะการย่อยสลายและการหมักตามวิธีการผลิตก๊าซชีวภาพ โดยต้องมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการควบคุมเครื่องจักร เพื่อควบคุมให้กระบวนการหมักและย่อยสลายเป็นไปตามวิธีการผลิตก๊าซชีวภาพ และเก็บตัวอย่างเพื่อส่งวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    คู่มือการปฏิบัติงาน การบำรุงรักษา และป้องกันอุบัติเหตุจากระบบก๊าซชีวภาพสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมและขยะชุมชน โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน 25562.    คู่มือการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกแบบ การผลิต การควบคุมคุณภาพ และการใช้ก๊าซชีวภาพ (Biogas) สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม โดยสำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม 2553 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-RG01-4-0021

ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรในการย่อยสลายและการหมัก

1. อธิบายกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ

BMG-RG01-4-0021.01 214824
BMG-RG01-4-0021

ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรในการย่อยสลายและการหมัก

2. อธิบายการทำงานของเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการย่อยสลายและการหมักก๊าซชีวภาพ

BMG-RG01-4-0021.02 214825
BMG-RG01-4-0021

ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรในการย่อยสลายและการหมัก

3. อ่านและใช้คู่มือการปฏิบัติงานการควบคุมการทำงานของเครื่องจักรในการย่อยสลายและการหมัก

BMG-RG01-4-0021.03 214826
BMG-RG01-4-0021

ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรในการย่อยสลายและการหมัก

4. ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรในการย่อยสลายและการหมัก

BMG-RG01-4-0021.04 214827
BMG-RG01-4-0021

ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรในการย่อยสลายและการหมัก

5. ตรวจสอบและบันทึกผลการทำงานของ ของเครื่องจักร

BMG-RG01-4-0021.05 214828
BMG-RG01-4-0021

ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรในการย่อยสลายและการหมัก

6. วิเคราะห์ความผิดปกติของการทำงานเครื่องจักร

BMG-RG01-4-0021.06 214829
BMG-RG01-4-0021

ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรในการย่อยสลายและการหมัก

7. บันทึกผลการทำงานของเครื่องจักรในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

BMG-RG01-4-0021.07 214830
BMG-RG01-4-0021

ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรในการย่อยสลายและการหมัก

8. ดูแลและซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการเบื้องต้น

BMG-RG01-4-0021.08 214831
BMG-RG01-4-0021

ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรในการย่อยสลายและการหมัก

9. รายงานผลการดำเนินงานและปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องจักรต่อฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

BMG-RG01-4-0021.09 214832
BMG-RG01-4-0022

ควบคุมสภาวะกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

1. ระบุตัวแปรที่มีผลกระทบต่อกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

BMG-RG01-4-0022.01 214836
BMG-RG01-4-0022

ควบคุมสภาวะกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

2. อ่านและเข้าใจคู่มือการใช้อุปกรณ์ตรวจวัดค่าตัวแปร ในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

BMG-RG01-4-0022.02 214837
BMG-RG01-4-0022

ควบคุมสภาวะกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

3. อธิบายวิธีการใช้เครื่องมือตรวจวัดค่าตัวแปรในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

BMG-RG01-4-0022.03 214838
BMG-RG01-4-0022

ควบคุมสภาวะกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

4. ตรวจสอบและควบคุมสภาวะในการย่อยสลายและการหมัก

BMG-RG01-4-0022.04 214839
BMG-RG01-4-0022

ควบคุมสภาวะกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

5. ตรวจสอบระบบตามแผนการตรวจสอบ

BMG-RG01-4-0022.05 214840
BMG-RG01-4-0022

ควบคุมสภาวะกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

6. รายงานผลจากการตรวจสอบสภาวะการย่อยสลายและการหมักต่อฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

BMG-RG01-4-0022.06 214841
BMG-RG01-4-0023

เก็บตัวอย่างเพื่อส่งวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ

1. อ่านและใช้คู่มือการปฏิบัติในการเก็บตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์

BMG-RG01-4-0023.01 214842
BMG-RG01-4-0023

เก็บตัวอย่างเพื่อส่งวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ

2. วางแผนการเก็บตัวอย่างเพื่อส่งวิเคราะห์

BMG-RG01-4-0023.02 214843
BMG-RG01-4-0023

เก็บตัวอย่างเพื่อส่งวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ

3. ใช้อุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่างได้เหมาะสมกับประเภทตัวอย่าง

BMG-RG01-4-0023.03 214844
BMG-RG01-4-0023

เก็บตัวอย่างเพื่อส่งวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ

4. เก็บตัวอย่างและรักษาตัวอย่างเพื่อส่งไปยังห้องปฏิบัติการ

BMG-RG01-4-0023.04 214845
BMG-RG01-4-0023

เก็บตัวอย่างเพื่อส่งวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ

5. ประสานงานกับห้องปฏิบัติการ และห้องควบคุมคุณภาพ

BMG-RG01-4-0023.05 214846

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการปฏิบัติงานในพื้นที่เฉพาะ โดยดำเนินงานตามแผนงาน คู่มือ และข้อจำกัดความปลอดภัยในการทำงาน

2.    ทักษะในการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคล

3.    ทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงวิทยาศาสตร์หรือเชิงเทคนิค

4.    ทักษะด้านกระบวนการวิทยาศาสตร์ วิธี และการใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง

5.    ทักษะในการใช้ตรรกะและเหตุผลในการระบุจุดแข็งและจุดอ่อนและสรุปแนวทางการแก้ปัญหา

6.    ทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ด้านการกระบวนการย่อยสลายและการหมักตามวิธีการผลิตก๊าซชีวภาพ

2.    ความรู้ด้านสมบัติทางเคมีและชีวภาพ และปฏิกิริยาในการย่อยสลายและการหมัก ของกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ

3.    ความรู้เกี่ยวกับหลักการปฏิบัติของห้องปฏิบัติการในการคัดเลือก เก็บตัวอย่าง และจัดส่งห้องปฏิบัติการอย่างถูกต้อง

4.    ความรู้ในการควบคุม ดูแล และตรวจสอบเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

5.    ความรู้ความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมดำเนินการ เช่น .docx .xlsx และ .pptx และโปรแกรมด้านการจัดทำบัญชี เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

   (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

2.    หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

3.    แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

  (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2.    หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับการการผลิตน้ำใช้ในอุตสาหกรรม หรือการดำเนินงานในด้านที่เกี่ยวข้อง

3.    ผลการสอบข้อเขียน

4.    ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

   (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1.    ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับการวางแผนการจัดซื้อ-จัดหาวัตถุดิบโดยพิจารณาหลักฐานด้านความรู้

2.    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

-    ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

-    วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

-    ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

   (ง) วิธีการประเมิน

1.    สอบปรนัย

2.    สอบสัมภาษณ์

3.    สอบสถานการณ์จำลอง

4.    สอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ผู้ดำเนินงานควบคุมสภาวะการย่อยสลายและการหมักตามวิธีการผลิตก๊าซชีวภาพ ต้องดูแลกระบวนการและควบคุมสภาวะการย่อยสลายและการหมักให้เป็นไปตามวิธีการ โดยต้องควบคุมเครื่องจักรในกระบวนการให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงดำเนินการเก็บตัวอย่างเพื่อส่งวิเคราะห์ ตามวิธีและกระบวนการที่กำหนดในการเก็บตัวอย่างและนำส่งปฏิบัติการ 

   (ก) คำแนะนำ 

-N/A-

   (ข) คำอธิบายรายละเอียด 

1.    เครื่องจักรในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก หมายถึง เครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องจักร ทั้งหมดเฉพาะในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก เช่น บ่อหมัก ท่อส่งน้ำ ระบบกวน บ่อเก็บก๊าซชีวภาพดิบ เป็นต้น

2.    สภาวะในการย่อยสลายและการหมัก หมายถึง ตัวแปรที่มีผลต่อการย่อยสลายและการหมัก ได้แก่ อุณหภูมิ (Temperature) ความเป็นกรด-ด่าง (pH Value) ปริมาณสารอินทรีย์ที่เข้าสู่ระบบ (Loading) อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N Ratio) ระยะเวลาการกักเก็บสารอินทรีย์ในถังหมัก (Retention time) ปริมาณของแข็ง (Total Solid Content, TSC) การคลุกเคล้า (Mixing) สารอาหาร (Nutrient) สารยับยั้งและสารพิษ (Inhibiting and Toxic Materials) อัลคาลินิตี้ (Alkalinity)

3.    ดูแลซ่อมบำรุงเครื่องจักรระบบการย่อยสลายและการหมักเบื้องต้น หมายถึง มีความรู้ความเข้าใจในระบบการทำงานของเครื่องจักร สามารถตรวจสอบอุปกรณ์ตามคู่มือการซ่อมบำรุง และเปลี่ยนอุปกรณ์สิ้นเปลืองตามรอบเวลาได้ เช่นวาล์ว ข้อต่อ ปะเก็น ซีล ท่อส่งในระบบ เป็นต้น

4.    ตัวอย่าง หมายถึง สิ่งที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ผล จากกระบวนการย่อยสลายและการหมัก ได้แก่ ตัวอย่างจากการย่อยสลายโมเลกุลชีวภาพ ตัวอย่างจากการกระบวนการสร้างมีเทน ทั้งในรูปแบบน้ำ สารละลาย ของแข็ง ก๊าซหรือไอ 

5.    อุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่าง เช่น หลอดพลาสติก หลอดแก้ว ขวดแก้ว Midget impinge หรือ Column Packed ซึ่งแตกต่างไปตามประเภทของตัวอย่าง

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2.    ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3.    การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย

 



ยินดีต้อนรับ