หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบคุณภาพตัวอย่างการย่อยสลายและการหมัก

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-NDZA-797

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบคุณภาพตัวอย่างการย่อยสลายและการหมัก

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ทดสอบและควบคุมคุณสมบัติเชื้อเพลิงชีวภาพ ระดับ 3

ISCO-08     7549 คนทำก๊าซชีวภาพ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่อธิบายถึงการตรวจสอบคุณภาพตัวอย่างการย่อยสลายและการหมัก โดยต้องมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการตรวจสอบคุณภาพการย่อยสลายและการหมัก ได้แก่ การย่อยสลายสารอินทรีย์ การผลิตก๊าซชีวภาพ เป็นต้น เพื่อควบคุมปัจจัยที่ที่เกี่ยวข้องให้สามารถผลิตก๊าซชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1)    พรบ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 25542)    กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-QC01-3-0051

ตรวจสอบการย่อยสลายสารอินทรีย์และการผลิตก๊าซชีวภาพ

1. อธิบายหลักการย่อยสลายสารอินทรีย์และการผลิตก๊าซชีวภาพ

BMG-QC01-3-0051.01 215074
BMG-QC01-3-0051

ตรวจสอบการย่อยสลายสารอินทรีย์และการผลิตก๊าซชีวภาพ

2. ระบุตัวแปรที่สำคัญที่ต้องตรวจสอบและจัดทำแผนการตรวจสอบการย่อยสลายและการหมัก เพื่อควบคุมคุณภาพของเชื้อเพลิง 

BMG-QC01-3-0051.02 215075
BMG-QC01-3-0051

ตรวจสอบการย่อยสลายสารอินทรีย์และการผลิตก๊าซชีวภาพ

3. ระบุอันตรายที่อาจเกิดจากการทำงานและเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลได้อย่างเหมาะสม

BMG-QC01-3-0051.03 215076
BMG-QC01-3-0051

ตรวจสอบการย่อยสลายสารอินทรีย์และการผลิตก๊าซชีวภาพ

4. ตรวจสอบปฏิกิริยาชีวเคมีของกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยแบคทีเรียในสภาพไร้ออกซิเจน

BMG-QC01-3-0051.04 215077
BMG-QC01-3-0051

ตรวจสอบการย่อยสลายสารอินทรีย์และการผลิตก๊าซชีวภาพ

5. บันทึกผลผลตรวจสอบและจัดทำรายงานการตรวจสอบ

BMG-QC01-3-0051.05 215078
BMG-QC01-3-0052

ควบคุมปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตก๊าซชีวภาพ

1. อธิบายสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมและปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตก๊าซชีวภาพ

BMG-QC01-3-0052.01 215079
BMG-QC01-3-0052

ควบคุมปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตก๊าซชีวภาพ

2. ควบคุมอุณหภูมิที่มีผลต่อการย่อยสลายของกลุ่มแบคทีเรีย 

BMG-QC01-3-0052.02 215080
BMG-QC01-3-0052

ควบคุมปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตก๊าซชีวภาพ

3. บันทึกผลการควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลาย

BMG-QC01-3-0052.03 215081

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    มีทักษะในการตรวจสอบการย่อยสลายและการหมัก เพื่อควบคุมคุณภาพของเชื้อเพลิง/วัตถุดิบ

2.    มีทักษะในการควบคุมปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตก๊าซชีวภาพ

3.    มีทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงวิทยาศาสตร์หรือเชิงเทคนิค

4.    มีทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ในการตรวจสอบการย่อยสลายสารอินทรีย์และการผลิตก๊าซชีวภาพ

2.    ความรู้ด้านสมบัติทางเคมีและชีวภาพ ของเชื้อเพลิง/วัตถุดิบ

3.    ความรู้เรื่องแบคทีเรียที่มีผลต่อการย่อยสลาย

4.    ความรู้ในการเก็บตัวอย่าง เพื่อส่งวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการได้ถูกต้อง

5.    ความรู้ด้านเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพตัวอย่างการย่อยสลายและการหมัก การบันทึกผล และเลือกใช้เครื่องมือได้อย่างเหมาะสม

6.    ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับก๊าซชีวภาพ และการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับงาน

7.    ความรู้ความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมดำเนินการ เช่น .docx .xlsx และ .pptx และโปรแกรมด้านการจัดทำบัญชี เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

   (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

2.    หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

3.    แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

  (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2.    หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับการการผลิตน้ำใช้ในอุตสาหกรรม หรือการดำเนินงานในด้านที่เกี่ยวข้อง

3.    ผลการสอบข้อเขียน

4.    ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

   (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1.    ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับการวางแผนการจัดซื้อ-จัดหาวัตถุดิบโดยพิจารณาหลักฐานด้านความรู้

2.    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

-    ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

-    วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

-    ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

   (ง) วิธีการประเมิน

1.    สอบปรนัย

2.    สอบสัมภาษณ์

3.    สอบสถานการณ์จำลอง

4.    สอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการตรวจสอบคุณภาพตัวอย่างการย่อยสลายและการหมักให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของบริษัท ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

   (ก) คำแนะนำ 

ดำเนินงานด้านการตรวจสอบคุณภาพตัวอย่างการย่อยสลายและการหมัก จะต้องตรวจสอบคุณภาพการย่อยสลายและการหมัก ได้แก่ การย่อยสลายสารอินทรีย์ การผลิตก๊าซชีวภาพ เป็นต้น เพื่อควบคุมปัจจัยที่ที่เกี่ยวข้องให้สามารถผลิตก๊าซชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ

   (ข) คำอธิบายรายละเอียด 

1.    การเก็บตัวอย่างตามข้อกำหนด หมายถึง การสุ่มเลือกเก็บตัวอย่าง เวลาที่เก็บ และ ปริมาณการเก็บตัวอย่าง เป็นต้น

2.    ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการผลิตก๊าซชีวภาพ ประกอบด้วย 

-    อุณหภูมิที่มีผลต่อการย่อยสลายของกลุ่มแบคทีเรีย (Phychrophillic Mesophillic และ Thermophillic) 

-    ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH)

-    ค่าความเป็นด่าง (Alkalinity)

-    ปริมาณกรดอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile fatty acids)

-    ประสิทธิภาพการกำจัดค่าซีโอดี (COD)

-    ปริมาณก๊าซชีวภาพ

-    องค์ประกอบก๊าซชีวภาพ

-    ปริมาณตะกอนจุลินทรีย์ในถังปฏิกรณ์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2.    ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3.    การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย



ยินดีต้อนรับ