หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนและควบคุมการสั่งการดำเนินงานของสถานีผลิตไฟฟ้า

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-CRUF-818

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนและควบคุมการสั่งการดำเนินงานของสถานีผลิตไฟฟ้า

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ควบคุมกระบวนการผลิตไฟฟ้า ระดับ 5

  ISCO-08    3131 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคคุมเครื่องกังหันผลิตไฟฟ้า/ช่างเทคนิคคุมเครื่องจักรผลิตไฟฟ้า

                    2151 วิศวกรไฟฟ้ากำลัง/วิศวกรไฟฟ้า/วิศวกรเครื่อกลไฟฟ้ากำลัง  

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถวางแผนและควบคุมการสั่งการดำเนินงานของสถานีผลิตไฟฟ้า มีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตไฟฟ้า สามารถวิเคราะห์และวางแผนการผลิตไฟฟ้าให้เป็นไปตามเป้าหมาย ควบคุมและตรวจสอบการทำงานของระบบไฟฟ้า วิเคราะห์ผลและสั่งการเดินระบบไฟฟ้า ควบคุมค่าแรงดันไฟฟ้าให้มีความสม่ำเสมอพร้อมกับเตรียมความพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉินของสถานีไฟฟ้า สามารถวิเคราะห์และแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินได้ และจัดทำแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินของสถานีไฟฟ้า เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องจักร/อุปกรณ์ ในกระบวนการผลิตให้อยู่ในสภาวะปกติ ติดตามตรวจสอบสภาพเครื่องจักร และควบคุมระบบไฟฟ้าให้อยู่ในสภาวะปกติ ประสานศูนย์ควบคุมเชื่อมระบบไฟฟ้าภายนอกเพื่อแก้ไขสถานการณ์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    ประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การสั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าสำหรับผู้รับใบอนุญาตควบคุมระบบไฟฟ้า พ.ศ. 25642.    ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยการใช้ไฟฟ้าและบริการ พ.ศ. 25623.    ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยข้อกำหนดการปฏิบัติการระบบโครงข่ายไฟฟ้า พ.ศ. 25594.    ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฎิบัติการระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Operation Code) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย5.    พรบ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-EP01-5-0011

วางแผนการผลิตไฟฟ้าให้เป็นไปตามเป้าหมาย

1. อธิบายเกี่ยวกับกระบวนการผลิตไฟฟ้า

BMG-EP01-5-0011.01 215397
BMG-EP01-5-0011

วางแผนการผลิตไฟฟ้าให้เป็นไปตามเป้าหมาย

2. อธิบายรู้เกี่ยวกับค่าความร้อนของเชื้อเพลิงสำหรับการผลิตไฟฟ้า

BMG-EP01-5-0011.02 215398
BMG-EP01-5-0011

วางแผนการผลิตไฟฟ้าให้เป็นไปตามเป้าหมาย

3. วิเคราะห์ระบบการผลิตไฟฟ้า

BMG-EP01-5-0011.03 215399
BMG-EP01-5-0011

วางแผนการผลิตไฟฟ้าให้เป็นไปตามเป้าหมาย

4. วางแผนการผลิตไฟฟ้าให้เป็นไปตามเป้าหมาย

BMG-EP01-5-0011.04 215400
BMG-EP01-5-0011

วางแผนการผลิตไฟฟ้าให้เป็นไปตามเป้าหมาย

5. ติดตามผลการปฏิบัติงานตามแผนงาน

BMG-EP01-5-0011.05 215401
BMG-EP01-5-0011

วางแผนการผลิตไฟฟ้าให้เป็นไปตามเป้าหมาย

6. รายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนงาน

BMG-EP01-5-0011.06 215402
BMG-EP01-5-0012

ควบคุมการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้า

1. อธิบายวิธีการใช้งานของเครื่องทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer)

BMG-EP01-5-0012.01 215564
BMG-EP01-5-0012

ควบคุมการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้า

2. ตรวจสอบระบบผลิตไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า

BMG-EP01-5-0012.02 215565
BMG-EP01-5-0012

ควบคุมการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้า

3. วิเคราะห์ผลจากค่ามิเตอร์ตรวจวัดอุปกรณ์ของระบบผลิตไฟฟ้า 

BMG-EP01-5-0012.03 215566
BMG-EP01-5-0012

ควบคุมการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้า

4. สั่งการเพื่อการเดินระบบผลิตไฟฟ้า

BMG-EP01-5-0012.04 215567
BMG-EP01-5-0012

ควบคุมการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้า

5. ควบคุมค่าแรงดันไฟฟ้าให้สม่ำเสมอ

BMG-EP01-5-0012.05 215568
BMG-EP01-5-0013

แก้ไขสภาวะฉุกเฉินของสถานีไฟฟ้า

1. อธิบายวิธีการแก้ไขสภาวะฉุกเฉิน

BMG-EP01-5-0013.01 215403
BMG-EP01-5-0013

แก้ไขสภาวะฉุกเฉินของสถานีไฟฟ้า

2. ตรวจสอบสัญญาณเตือน (Alarm) ในระบบควบคุม 

BMG-EP01-5-0013.02 215404
BMG-EP01-5-0013

แก้ไขสภาวะฉุกเฉินของสถานีไฟฟ้า

3. ตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของระบบผลิตหลัก ให้อยู่ในระดับปกติ 

BMG-EP01-5-0013.03 215405
BMG-EP01-5-0013

แก้ไขสภาวะฉุกเฉินของสถานีไฟฟ้า

4. จัดทำแผนรองรับสภาวะฉุกเฉินของสถานีไฟฟ้า 

BMG-EP01-5-0013.04 215406
BMG-EP01-5-0013

แก้ไขสภาวะฉุกเฉินของสถานีไฟฟ้า

5. วิเคราะห์และแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินได้ 

BMG-EP01-5-0013.05 215407
BMG-EP01-5-0013

แก้ไขสภาวะฉุกเฉินของสถานีไฟฟ้า

6. ประสานเจ้าหน้าที่ภาคสนามเพื่อตรวจสอบระบบผลิตไฟฟ้า

BMG-EP01-5-0013.06 215408
BMG-EP01-5-0014

ควบคุมการทำงานของเครื่องจักร/อุปกรณ์ในระบบผลิตไฟฟ้าให้อยู่ในสภาวะปกติ

1. ติดตาม ตรวจสอบสภาพของเครื่องจักร และอุปกรณ์ในระบบผลิตไฟฟ้า

BMG-EP01-5-0014.01 215409
BMG-EP01-5-0014

ควบคุมการทำงานของเครื่องจักร/อุปกรณ์ในระบบผลิตไฟฟ้าให้อยู่ในสภาวะปกติ

2. ควบคุมระบบผลิตไฟฟ้าให้เป็นไปอย่างปกติ 

BMG-EP01-5-0014.02 215410
BMG-EP01-5-0014

ควบคุมการทำงานของเครื่องจักร/อุปกรณ์ในระบบผลิตไฟฟ้าให้อยู่ในสภาวะปกติ

3. วิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์ในระบบผลิตไฟฟ้า

BMG-EP01-5-0014.03 215411
BMG-EP01-5-0014

ควบคุมการทำงานของเครื่องจักร/อุปกรณ์ในระบบผลิตไฟฟ้าให้อยู่ในสภาวะปกติ

4. ประสานศูนย์ควบคุมเชื่อมระบบไฟฟ้าภายนอกเพื่อแก้ไขสถานการณ์ผิดปกติ

BMG-EP01-5-0014.04 215412
BMG-EP01-5-0015

บันทึกผลการตรวจสอบความปกติของเครื่องจักร อุปกรณ์ในระบบผลิตไฟฟ้า

1. บันทึกการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์ในระบบผลิตไฟฟ้า

BMG-EP01-5-0015.01 215413
BMG-EP01-5-0015

บันทึกผลการตรวจสอบความปกติของเครื่องจักร อุปกรณ์ในระบบผลิตไฟฟ้า

2. รายงานผลการดำเนินการหลังการแก้ไขสถานการณ์

BMG-EP01-5-0015.02 215414

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการติดต่อสื่อสารในเชิงช่าง การใช้วิทยุสื่อสาร

2.    ทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงเทคนิค

3.    ทักษะในการวิเคราะห์ ปฏิบัติ อ่านค่าระบบมาตรวัด เกจ แรงดัน ระบบเผาไหม้ รวมทั้งการเตรียมระบบผลิต Generator ,Turbine ให้พร้อมต่อสภาวะเชื่อมต่อ หรือตัดแยกระบบ 

4.    ทักษะในการวิเคราะห์ ประสานงานเจ้าหน้าที่ภาคสนาม การแก้ไขปัญหาขั้นต้นของระบบผลิตไฟฟ้า

5.    ทักษะในการใช้ระบบควบคุมผ่านระบบโปรแกรมควบคุมคอมพิวเตอร์ หรือการใช้งานในระบบ SCADA หรือการควบคุมผ่านระบบออนไลน์ Remote Monitoring System(RMS) ทาง internet

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ด้านการใช้งานอุปกรณ์ในกระบวนการผลิตไฟฟ้าและหม้อไอน้ำ

2.    ความรู้ด้านการใช้งานอุปกรณ์ในกระบวนการผลิตเครื่องยนต์ก๊าซ หรือกังหันก๊าซ

3.    ความรู้การปฏิบัติขั้นพื้นฐานและขั้นสูงด้าน เครื่องจักรและอุปกรณ์กระบวนการผลิตไฟฟ้า

4.    ความรู้ด้านการใช้งานอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้า  เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) กังหัน (Turbine)

5.    ความรู้ด้านการใช้งานอุปกรณ์ในกระบวนการผลิต เครื่องกล และอุปกรณ์มาตรวัด มิเตอร์

6.    ความรู้ในการใช้ระบบควบคุมผ่านระบบโปรแกรมควบคุมคอมพิวเตอร์ หรือการใช้งานในระบบ SCADA หรือการควบคุมผ่านระบบออนไลน์ Remote Monitoring System(RMS) ทาง internet

7.    ความรู้เกี่ยวกับ พรบ. ความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

   (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

2.    หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

3.    แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

  (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2.    หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ

   (ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

-    ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

-    วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

-    ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

   (ง) วิธีการประเมิน

1.    สอบข้อเชียน สอบปรนัย/สอบอัตนัย

2.    สอบสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการวางแผน และควบคุมการดำเนินงานของสถานีผลิตไฟฟ้า ให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของบริษัท ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

   (ก) คำแนะนำ 

-N/A-

   (ข) คำอธิบายรายละเอียด 

ผู้ดำเนินการด้านวางแผน ควบคุมสั่งการการดำเนินงานของสถานีผลิตไฟฟ้า จะต้องมีความรู้ระบบผลิตไฟฟ้า วิเคราะห์และวางแผนการผลิตไฟฟ้าให้เป็นไปตามเป้าหมาย ดังนี้

1.    การวางแผนการผลิตไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพ หมายถึง การเข้าใจทั้งกระบวนการผลิตไฟฟ้าเพื่อการกำหนดการใช้เชื้อเพลิงอย่างคุ้มค่า

2.    การผลิตไฟฟ้าให้เป็นไปตามเป้าหมาย หมายถึง การผลิตไฟฟ้าตามเงื่อนไขตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า

3.    ค่ามิเตอร์ตรวจวัดเครื่องจักร หมายถึง ค่ามาตรวัดต่าง ๆ ที่ต่อเชื่อมกับระบบผลิตไฟฟ้า เช่น อุณหภูมิ ความดันไอน้ำหรือก๊าซ อัตราไหลของไอน้ำหรือก๊าซ ค่าระดับน้ำในหม้อไอน้ำ ค่าความถี่ของกระแสไฟฟ้า กำลังผลิตเป็นเมกกะวัตต์ เป็นต้น

4.    สภาวะฉุกเฉินของสถานีไฟฟ้า หมายถึง สภาพผิดปกติจากการตรวจเช็คควบคุมระบบผลิตไฟฟ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หม้อแปลง ลานสายส่งไฟฟ้า จากสัญญาณเตือน (Alarm) 

5.    แผนรองรับสภาวะฉุกเฉิน หมายถึง ขั้นตอนหรือแบบปฏิบัติในการแก้ไขสถานการณ์ที่ไม่ปกติของการผลิตไฟฟ้า 

6.    ศูนย์ควบคุมเชื่อมระบบไฟฟ้า หมายถึง ศูนย์ประสานงานของการไฟฟ้าในการติดต่อกับโรงงานเพื่อเชื่อมต่อไฟฟ้าผ่านสายส่งไฟฟ้า


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2.    ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3.    การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย



ยินดีต้อนรับ