หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรในระบบผลิตไฟฟ้า

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-WCYL-814

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรในระบบผลิตไฟฟ้า

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ควบคุมกระบวนการผลิตไฟฟ้า ระดับ 4

ISCO-08      3131 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคคุมเครื่องกังหันผลิตไฟฟ้า/ช่างเทคนิคคุมเครื่องจักรผลิตไฟฟ้า

                     2151 วิศวกรไฟฟ้ากำลัง/วิศวกรไฟฟ้า/วิศวกรเครื่อกลไฟฟ้ากำลัง           

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถควบคุมการทำงานของเครื่องจักรในระบบผลิตไฟฟ้า ประกอบด้วยเครื่องกังหัน (Turbine) (กังหันแก๊ส และกังหันไอน้ำ) เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) โดยสามารถอธิบายหลักการทำงานของเครื่องจักร ตรวจสอบและควบคุมการทำงานของเครื่องจักร พร้อมบันทึกค่าและรายงานผลการทำงาน ประสานงานการทำงานกับภาคสนามเพื่อควบคุมการสั่งจ่ายไฟฟ้า และเตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉินของเครื่องจักรในระบบผลิตไฟฟ้า

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    ประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การสั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าสำหรับผู้รับใบอนุญาตควบคุมระบบไฟฟ้า พ.ศ. 25642.    ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยการใช้ไฟฟ้าและบริการ พ.ศ. 25623.    ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยข้อกำหนดการปฏิบัติการระบบโครงข่ายไฟฟ้า พ.ศ. 25594.    ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฎิบัติการระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Operation Code) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย5.    พรบ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 25546.    และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 25427.    กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 25428.    กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2542 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-EP01-4-0011

ควบคุมการทำงานของเครื่องกังหัน (Turbine)

1. อธิบายกระบวนการผลิตไฟฟ้า

BMG-EP01-4-0011.01 215311
BMG-EP01-4-0011

ควบคุมการทำงานของเครื่องกังหัน (Turbine)

2. อธิบายหลักการทำงานของเครื่องกังหัน (กังหันก๊าซ และกังหันไอน้ำ)

BMG-EP01-4-0011.02 215312
BMG-EP01-4-0011

ควบคุมการทำงานของเครื่องกังหัน (Turbine)

3. อ่านและใช้คู่มือการปฏิบัติการควบคุมใช้งานเครื่องจักรของระบบผลิตไฟฟ้า

BMG-EP01-4-0011.03 215313
BMG-EP01-4-0011

ควบคุมการทำงานของเครื่องกังหัน (Turbine)

4. ตรวจสอบการทำงานของเครื่องกังหันและอุปกรณ์ประกอบในระบบผลิตไฟฟ้า

BMG-EP01-4-0011.04 215314
BMG-EP01-4-0011

ควบคุมการทำงานของเครื่องกังหัน (Turbine)

5. ควบคุมการทำงานเครื่องกังหันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

BMG-EP01-4-0011.05 215315
BMG-EP01-4-0011

ควบคุมการทำงานของเครื่องกังหัน (Turbine)

6. บันทึกการทำงานเครื่องกังหันของระบบผลิตไฟฟ้า

BMG-EP01-4-0011.06 215316
BMG-EP01-4-0011

ควบคุมการทำงานของเครื่องกังหัน (Turbine)

7. รายงานผลการดำเนินการควบคุมเครื่องกังหันของระบบผลิตไฟฟ้า

BMG-EP01-4-0011.07 215317
BMG-EP01-4-0012

ควบคุมการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)

1. อธิบายหลักการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

BMG-EP01-4-0012.01 215318
BMG-EP01-4-0012

ควบคุมการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)

2. อ่านและใช้คู่มือการปฏิบัติงาน

BMG-EP01-4-0012.02 215319
BMG-EP01-4-0012

ควบคุมการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)

3. ตรวจสอบการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

BMG-EP01-4-0012.03 215320
BMG-EP01-4-0012

ควบคุมการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)

5. บันทึกการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

BMG-EP01-4-0012.04 215321
BMG-EP01-4-0012

ควบคุมการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)

6. รายงานผลการควบคุมเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

BMG-EP01-4-0012.05 215322
BMG-EP01-4-0013

ประสานงานเจ้าหน้าที่ภาคสนามเพื่อควบคุมการสั่งจ่ายไฟฟ้า

1. ประสานเจ้าหน้าที่ภาคสนามและเจ้าหน้าที่ควบคุมสั่งจ่ายไฟฟ้าของระบบผลิตไฟฟ้า 

BMG-EP01-4-0013.01 215323
BMG-EP01-4-0013

ประสานงานเจ้าหน้าที่ภาคสนามเพื่อควบคุมการสั่งจ่ายไฟฟ้า

2. บันทึกค่ามาตรวัด ของระบบผลิตไฟฟ้า 

BMG-EP01-4-0013.02 215324
BMG-EP01-4-0013

ประสานงานเจ้าหน้าที่ภาคสนามเพื่อควบคุมการสั่งจ่ายไฟฟ้า

3. รายงานผลค่าตามมาตรวัดของระบบผลิตไฟฟ้า

BMG-EP01-4-0013.03 215325
BMG-EP01-4-0014

เตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉินของเครื่องจักรในระบบผลิตไฟฟ้า (เครื่องกังหัน และหม้อแปลงไฟฟ้า) ภายในพื้นที่ควบคุม

1. อธิบายหลักการทำงานของเครื่องวัดก๊าซและแรงดัน 

BMG-EP01-4-0014.01 215326
BMG-EP01-4-0014

เตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉินของเครื่องจักรในระบบผลิตไฟฟ้า (เครื่องกังหัน และหม้อแปลงไฟฟ้า) ภายในพื้นที่ควบคุม

2. เตรียมพร้อมแก้ไขเพื่อระงับเหตุสภาวะฉุกเฉิน

BMG-EP01-4-0014.02 215327
BMG-EP01-4-0014

เตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉินของเครื่องจักรในระบบผลิตไฟฟ้า (เครื่องกังหัน และหม้อแปลงไฟฟ้า) ภายในพื้นที่ควบคุม

3. ใช้เครื่องมือวัดและอ่านค่าได้อย่างถูกต้อง

BMG-EP01-4-0014.03 215328
BMG-EP01-4-0014

เตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉินของเครื่องจักรในระบบผลิตไฟฟ้า (เครื่องกังหัน และหม้อแปลงไฟฟ้า) ภายในพื้นที่ควบคุม

4. ตรวจสอบค่าต่างๆ ที่วัดให้อยู่ในระดับปกติของการทำงาน

BMG-EP01-4-0014.04 215329
BMG-EP01-4-0014

เตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉินของเครื่องจักรในระบบผลิตไฟฟ้า (เครื่องกังหัน และหม้อแปลงไฟฟ้า) ภายในพื้นที่ควบคุม

5. ตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกันสภาวะฉุกเฉินในพื้นที่ให้พร้อมใช้งาน

BMG-EP01-4-0014.05 215330
BMG-EP01-4-0014

เตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉินของเครื่องจักรในระบบผลิตไฟฟ้า (เครื่องกังหัน และหม้อแปลงไฟฟ้า) ภายในพื้นที่ควบคุม

6. ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรและระบบที่เกี่ยวข้องให้พร้อมใช้งานเสมอ

BMG-EP01-4-0014.06 215331
BMG-EP01-4-0015

บำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ในระบบผลิตไฟฟ้าขั้นต้น

1. ตรวจสอบการทำงานเครื่องจักรของระบบผลิตไฟฟ้า 

BMG-EP01-4-0015.01 215332
BMG-EP01-4-0015

บำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ในระบบผลิตไฟฟ้าขั้นต้น

2. บำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกัน ขั้นต้นตามแผนการบำรุงรักษา (PM) 

BMG-EP01-4-0015.02 215333
BMG-EP01-4-0015

บำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ในระบบผลิตไฟฟ้าขั้นต้น

3. ซ่อมบำรุงระบบผลิตไฟฟ้าขั้นต้น

BMG-EP01-4-0015.03 215334
BMG-EP01-4-0015

บำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ในระบบผลิตไฟฟ้าขั้นต้น

4. บันทึกผลการบำรุงรักษาขั้นต้น

BMG-EP01-4-0015.04 215335
BMG-EP01-4-0015

บำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ในระบบผลิตไฟฟ้าขั้นต้น

5. รายงานผลการบำรุงรักษาขั้นต้น

BMG-EP01-4-0015.05 215336

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการติดต่อสื่อสารในเชิงช่าง

2. ทักษะการอ่านภาษาเชิงเทคนิคและใช้คู่มือต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องจักร

3. ทักษะการปฏิบัติ ปรับปรุงแก้ไขเครื่องจักร อุปกรณ์ตามลำดับขั้นตอนตามคู่มือ

4. ทักษะการวิเคราะห์ ปรับปรุงแก้ไขเครื่องจักร อุปกรณ์ขั้นสูง

5. ทักษะการตอบโต้/รับมือ สถานการณ์ฉุกเฉิน

6.ทักษะการปฏิบัติ ปรับ ควบคุมเครื่องจักร อุปกรณ์ทั้งแบบระบบ Manual หรือแบบ Automatic

7. ทักษะการใช้เครื่องมือมือวัดก๊าซและแรงดัน

8. ทักษะการใช้โปรแกรมควบคุมระบบผลิตไฟฟ้า 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้ากำลัง หลักการทำงานของเครื่องจักรในระบบผลิตไฟฟ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) กังหัน (Turbine) และอุปกรณ์หม้อแปลงไฟฟ้า

2.    ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานอุปกรณ์ในกระบวนการผลิตไฟฟ้าและหม้อไอน้ำ

3.    ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานอุปกรณ์ในกระบวนการผลิตเครื่องยนต์ก๊าซ หรือกังหันก๊าซ

4.    ความรู้เกี่วกับการใช้ระบบควบคุมผ่านระบบโปรแกรมควบคุมคอมพิวเตอร์ หรือการใช้งานในระบบ SCADA

5.    ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุม

6.    ความรู้เกี่ยวกับ พรบ.ความปลอดภัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

   (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

2.    หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

3.    แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

   (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2.    หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับการการผลิตน้ำใช้ในอุตสาหกรรม หรือการดำเนินงานในด้านที่เกี่ยวข้อง

3.    ผลการสอบข้อเขียน

4.    ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

   (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1.    ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับการวางแผนการจัดซื้อ-จัดหาวัตถุดิบโดยพิจารณาหลักฐานด้านความรู้

2.    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

-    ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

-    วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

-    ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

   (ง) วิธีการประเมิน

1.    สอบปรนัย

2.    สอบสัมภาษณ์

3.    สอบสถานการณ์จำลอง

4.    สอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการควบคุมระบบเครื่องจักร และระบบผลิตไฟฟ้า ให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของบริษัท ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

   (ก) คำแนะนำ 

-N/A-

   (ข) คำอธิบายรายละเอียด 

ผู้ดำเนินการด้านการควบคุมเครื่องจักรของระบบผลิตไฟฟ้า จะต้องตรวจมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องจักรของเครื่องกังหัน ทั้งในส่วนของเครื่องกังหันและกังหันก๊าซ รวมทั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ดังนี้

1.    ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพ หมายถึง การควบคุมให้เครื่องจักรทำงานอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมความเร็วรอบความถี่ของระบบผลิตไฟฟ้าให้คงที่ และรักษาความร้อนของเครื่องจักรของระบบหล่อเย็น

2.    ค่ามาตรวัดต่าง ๆ หมายถึง ค่าจากเกจวัดอุณหภูมิ แรงดัน อัตราไหลของไอน้ำหรือก๊าซ ที่เป็นเชื้อเพลิงของระบบเครื่องจักรผลิตไฟฟ้า และเกจวัดระดับของระบบหล่อเย็นเครื่องจักร เป็นต้น 

3.    สภาวะฉุกเฉิน หมายถึง สภาวะไม่ปกติของเครื่องจักรระบบผลิตไฟฟ้า จากสภาพภายนอก เช่น เสียงดังผิดปกติ ความร้อนของเครื่องจักร หรือทราบจากการใช้เครื่องมือวัด เช่น ความดันไอน้ำที่ไม่สม่ำเสมอ อุณหภูมิที่เกินค่ามาตรฐานตามคู่มือของเครื่องจักร หรือทราบจากสัญญาณการแจ้งเตือนที่แสดงในหน้าจอควบคุม

4.    อุปกรณ์ป้องกันสภาวะฉุกเฉิน หมายถึง อุปกรณ์สำหรับป้องกันเหตุไม่ปกติ เช่น ถังดับเพลิงสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ถังดับเพลิงแบบผงเคมีแห้ง ระบบหล่อเย็น เป็นต้น สำหรับการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนก๊าซหุงต้ม หรือสำหรับการอัดเข้าสู่ถังในรูปแบบของก๊าซชีวภาพอัดเป็นเชื้อเพลิง (Compressed Bio-methane Gas: CBG) จะอยู่นอกขอบเขตของหน่วยสมรรถนะนี้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2.    ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3.    การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย



ยินดีต้อนรับ