หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำแผนซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการผลิตความร้อน

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-VBWK-813

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำแผนซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการผลิตความร้อน

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ควบคุมกระบวนการผลิตความร้อน ระดับ 5

รหัส ISCO-08     2152 วิศวกรเครื่องกลความร้อน

                          3115 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศวกรรมความร้อน

                          3139 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคควบคุมระบบเครื่องทำความร้อน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถจัดทำแผนการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการผลิตความร้อน โดยสามารถจัดทำแผนบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) ตามระยะเวลา     จัดทำแผนการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและอุปกรณ์ และจัดทำคู่มือการปปฎิบัติงาน (Procedure Manual)

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    ประกาศกระทรวง เรื่อง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อน้ำและหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 2.    ประกาศกระทรวง เรื่อง คุณสมบัติน้ำสำหรับหม้อน้ำ พ.ศ. 2549 3.    ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการให้ความเห็นชอบในการตรวจสอบภายในหม้อน้ำ ทุกระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ต่อการตรวจสอบหนึ่งครั้ง พ.ศ. 2559 4.    ประกาศกรมโรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานจัดฝึกอบรมและการสอบมาตรฐาน หลักสูตรผู้ควบคุมประจำหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน พ.ศ. 25545.    พรบ. จดทะเบียนเครื่องจักร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 กรมโรงงาน6.    พรบ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 25547.    กฏกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร  ปั้นจั่น  และหม้อน้ำ  พ.ศ. 2564 8.    กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-TP01-5-0061

จัดทำแผนบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกัน (Preventive maintenance: PM) ตามระยะเวลา

1. รวบรวมข้อมูลในการจัดทำแผนการบำรุงรักษา (ประจำโรงงาน) ตามระยะเวลา

BMG-TP01-5-0061.01 215301
BMG-TP01-5-0061

จัดทำแผนบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกัน (Preventive maintenance: PM) ตามระยะเวลา

2. ออกแบบและจัดทำแบบบันทึกผลตามแผนการบำรุงรักษา

BMG-TP01-5-0061.02 215302
BMG-TP01-5-0061

จัดทำแผนบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกัน (Preventive maintenance: PM) ตามระยะเวลา

3. จัดทำแผนบำรุงรักษาเครื่องจักรตามแผนการบำรุงรักษา

BMG-TP01-5-0061.03 215303
BMG-TP01-5-0061

จัดทำแผนบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกัน (Preventive maintenance: PM) ตามระยะเวลา

4. ให้คำแนะนำกับผู้ปฏิบัติงานและเจ้าหน้าที่ภาคสนาม

BMG-TP01-5-0061.04 215304
BMG-TP01-5-0062

จัดทำแผนการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและอุปกรณ์

1. อ่านและใช้คู่มือการซ่อมบำรุงรักษา/การปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและอุปกรณ์

BMG-TP01-5-0062.01 215305
BMG-TP01-5-0062

จัดทำแผนการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและอุปกรณ์

2. จัดทำแผนการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและอุปกรณ์

BMG-TP01-5-0062.02 215306
BMG-TP01-5-0062

จัดทำแผนการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและอุปกรณ์

3. จัดทำรายการวัสดุอุปกรณ์ และระยะเวลาที่ใช้ในการซ่อมบำรุง

BMG-TP01-5-0062.03 215307
BMG-TP01-5-0063

จัดทำคู่มือปฏิบัติ (Procedure Manual)

1. รวบรวมข้อมูลและจัดทำขอบเขตของกระบวนการปฏิบัติ

BMG-TP01-5-0063.01 215308
BMG-TP01-5-0063

จัดทำคู่มือปฏิบัติ (Procedure Manual)

2. จัดทำคู่มือระบุขั้นตอน วิธีการ รายละเอียด ในการควบคุมเครื่องจักร ทบทวนและปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงานจัดทำคู่มือปฏิบัติ

BMG-TP01-5-0063.02 215309
BMG-TP01-5-0063

จัดทำคู่มือปฏิบัติ (Procedure Manual)

3. ทบทวนและปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงาน

BMG-TP01-5-0063.03 215310

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการติดต่อสื่อสารเชิงช่าง

2. ทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงวิศวกรรมศาสตร์หรือเชิงเทคนิค

3. ทักษะในการวิเคราะห์ใช้ตรรกะและเหตุผลในการระบุจุดแข็ง และจุดอ่อน และสรุปแนวทางการแก้ปัญหา

4. ทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

5. ทักษะในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในงานซ่อมบำรุง

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ด้านกระบวนการผลิตพลังงานความร้อน และไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวลและชีวภาพ

2.    ความรู้ด้านสมบัติทางเครื่องกล การอ่านแบบหรือด้านไฟฟ้าเชิงลึก

3.    ความรู้ด้านการถ่ายเทความร้อน (Heat Transfer) เทอร์โมไดนามิคส์ (Thermodynamics) และกลศาสตร์ของไหล (Fluid mechanics) เป็นต้น 

4.    ความรู้เกี่ยวกับหลักการกระบวนการผลิต เครื่องมือวิเคราะห์ทางกล 

5.    ความรู้การปฏิบัติขั้นพื้นฐานและขั้นสูงด้าน เครื่องจักรและอุปกรณ์

6.    ความรู้ในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในงานซ่อมบำรุง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

   (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

2.    หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

3.    แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

  (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2.    หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับการการผลิตน้ำใช้ในอุตสาหกรรม หรือการดำเนินงานในด้านที่เกี่ยวข้อง

   (ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

-    ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

-    วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

-    ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

   (ง) วิธีการประเมิน

1.    สอบปรนัย

2.    สอบสัมภาษณ์

3.    สอบสถานการณ์จำลอง

4.    สอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการวิเคราะห์และไขปัญหา ออกแบบการปรับปรุง และวางแผนการซ่อมบำรุง ให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของบริษัท ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

   (ก) คำแนะนำ 

-N/A-

   (ข) คำอธิบายรายละเอียด 

1. การจัดทำแผนซ่อมและบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM) เป็นการดูแลชิ้นส่วนของเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อยู่เสมอไม่ให้เครื่องจักรหยุดทำงานกระทันหัน โดยลักษณะของงาน PM แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ แบ่งตามระยะเวลา (Time base) และแบ่งตามปริมาณการใช้งาน (Usage base)

2. ระบบริหารและจัดการงานซ่อมบำรุงด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (CMMS หรือ Computerized Maintenance Management) เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อเก็บฐานข้อมูลงานซ่อมทั้งหมดในองค์กร ตั้งแต่ขั้นตอนการออกงานแจ้งซ่อม (Maintenance Notification: MN) และใบแจ้งซ่อมถูกนำเข้าสู่กระบวนการวางแผนซ่อม (Planning) ว่าใช้กำลังคน เวลา และสามารถเข้าไปซ่อมได้เมื่อใด ความสำคัญของงานซ่อม จนออกใบสั่งซ่อม (Maintenance Order: MO) โปรแกรมงานซ่อมบำรุงเป็นส่วนสำคัญในโรงงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2.    ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3.    การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย



ยินดีต้อนรับ