หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์สภาวะผิดปกติในกระบวนการผลิตความร้อน

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-LXJT-809

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์สภาวะผิดปกติในกระบวนการผลิตความร้อน

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ควบคุมกระบวนการผลิตความร้อน ระดับ 5

รหัส ISCO-08     2152 วิศวกรเครื่องกลความร้อน

                          3115 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศวกรรมความร้อน

                          3139 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคควบคุมระบบเครื่องทำความร้อน

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถวิเคราะห์สภาวะผิดปกติในกระบวนการผลิตได้ โดยต้องมีความรู้การควบคุมกระบวนการผลิต สามารถวิเคราะห์สภาพความผิดปกติของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดทำบันทึก/รายงานผลการตรวจวิเคราะห์ของระบบได้ เพื่อจัดทำแผนการป้องกันปัญหาในการดำเนินงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 25542.    กฏกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร  ปั้นจั่น  และหม้อน้ำ  พ.ศ. 2564 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-TP01-5-0021

ควบคุมกระบวนการผลิตความร้อนให้ทำงานอย่างปกติ

1. อธิบายกระบวนการทำงานของกระบวนการผลิตความร้อนในสภาวะปกติ

BMG-TP01-5-0021.01 215258
BMG-TP01-5-0021

ควบคุมกระบวนการผลิตความร้อนให้ทำงานอย่างปกติ

2. จัดทำแผนการทำงานเพื่อควบคุมกระบวนการผลิตในสภาวะปกติ

BMG-TP01-5-0021.02 215259
BMG-TP01-5-0021

ควบคุมกระบวนการผลิตความร้อนให้ทำงานอย่างปกติ

3. ควบคุมกระบวนการผลิตความร้อนให้ทำงานอย่างต่อเนื่องและปลอดภัย

BMG-TP01-5-0021.03 215260
BMG-TP01-5-0022

วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาความผิดปกติของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการผลิตความร้อน

1. ตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบการผลิต

BMG-TP01-5-0022.01 215261
BMG-TP01-5-0022

วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาความผิดปกติของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการผลิตความร้อน

2. วิเคราะห์ปัญหาจากการทำงานของเครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ และสภาพพื้นที่ปฏิบัติงาน

BMG-TP01-5-0022.02 215262
BMG-TP01-5-0022

วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาความผิดปกติของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการผลิตความร้อน

3. บันทึกผลการวิเคราะห์ปัญหาความผิดปกติของเครื่องจักร

BMG-TP01-5-0022.03 215263
BMG-TP01-5-0022

วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาความผิดปกติของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการผลิตความร้อน

4. จัดทำแผนป้องกันปัญหาในการดำเนินงาน

BMG-TP01-5-0022.04 215264
BMG-TP01-5-0022

วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาความผิดปกติของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการผลิตความร้อน

5. สอนงานให้กับผู้ปฏิบัติงานเพื่อเตรียมรับมือกรณีเกิดปัญหากับระบบ

BMG-TP01-5-0022.05 215265
BMG-TP01-5-0023

ตรวจสอบและรายงานผลการตรวจสภาพความผิดปกติของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตความร้อน

1. ตรวจสอบสภาพความผิดปกติของเครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบการผลิตความร้อน

BMG-TP01-5-0023.01 215266
BMG-TP01-5-0023

ตรวจสอบและรายงานผลการตรวจสภาพความผิดปกติของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตความร้อน

2. บันทึกสภาพความผิดปกติจากการตรวจสอบเครื่องจักร

BMG-TP01-5-0023.02 215267
BMG-TP01-5-0023

ตรวจสอบและรายงานผลการตรวจสภาพความผิดปกติของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตความร้อน

3. รายงานผลการตรวจสอบต่อฝ่ายที่เกี่ยวข้อง กรณีที่พบความผิดปกติ เพื่อดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซม

BMG-TP01-5-0023.03 215268

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการควบคุมกระบวนการผลิต เครื่องจักรกล และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตความร้อน

2.    ทักษะทางวิศวกรรมและสามารถซ่อมบำรุงเบื้องต้น

3.    ทักษะในการวิเคราะห์ปัญหาจากการทำงานของเครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ

4.    ทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงวิทยาศาสตร์หรือเชิงเทคนิค

5.    ทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า กรณีที่เครื่องจักรเกิดเหตุผิดปกติ

6.    ทักษะในการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้ปฏิบัติงาน (สอนงาน)

7.    ทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ความเข้าใจด้านกระบวนการผลิต เครื่องจักรกล และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตความร้อน

2.    ความรู้ในการจัดทำแผนการทำงานเพื่อควบคุมกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ

3.    ความรู้ทางทฤษฎีและปฏิบัติด้านไฟฟ้า/เครื่องจักรกลเบื้องต้น

4.    ความรู้ในการวิเคราะห์ปัญหาทางวิศวกรรมของระบบผลิตความร้อน

5.    ความรู้เกี่ยวกับภาษาเชิงเทคนิค สัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต

6.    ความรู้ในการใช้โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตความร้อน

7.    ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับการทำงาน

8.    ความรู้เกี่ยวกับ พรบ. และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

   (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

2.    หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

3.    แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

   (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2.    หลักฐานการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ

   (ค) คำแนะนำในการประเมิน

            หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

-    ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

-    วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

-    ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

   (ง) วิธีการประเมิน

1.    ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปรนัย/ข้อสอบอัตนัย

2.    สอบสัมภาษณ์

3.    สอบสถานการณ์จำลอง


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการควบคุมสภาพผิดปกติไม่ให้เกิดผลกระทบต่อกระบวนการผลิตให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของบริษัท ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

   (ก) คำแนะนำ 

-N/A-

   (ข) คำอธิบายรายละเอียด 

ผู้ดำเนินงานด้านการวิเคราะห์สภาพผิดปกติในกระบวนการผลิต จะต้องควบคุมกระบวนการผลิต สามารถวิเคราะห์สภาพความผิดปกติของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดทำบันทึก/รายงานผลการตรวจวิเคราะห์ของระบบได้ เพื่อจัดทำแผนการป้องกันปัญหาในการดำเนินงาน

1.    การวิเคราะห์ปัญหาสภาพผิดปกติ หมายถึง การวิเคราะห์สัญญาณเตือนของเครื่องจักร/อุปกรณ์ในระบบ ในกรณีที่ระดับสัญญาณวัดหรือสัญญาณควบคุมบางสัญญาณมีค่าสูงหรือต่ำเกินกำหนด หรือเปลี่ยนแปลงเร็วมากจนต่างจากสภาพปกติของกระบวนการผลิต ระบบเตือนภัยต่าง ๆ ในโรงไฟฟ้า หรือ การตรวจสอบสภาพของเครื่องจักร ให้มีสภาพที่ปลอดภัยต่อการทำงาน เช่น อันตรายที่เกิดจากเครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า และ วัตถุอันตราย เป็นต้น 

2.    การซ่อมบำรุงระบบเบื้องต้น หมายถึง การแก้ไข ซ่อมแซม กรณีเกิดเหตุขัดข้อง เพื่อให้ระบบ/เครื่องจักรและส่วนประกอบ สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2.    ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3.    การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย



ยินดีต้อนรับ