หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการทำงานของระบบดักจับฝุ่น

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-YJQH-808

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการทำงานของระบบดักจับฝุ่น

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ควบคุมกระบวนการผลิตความร้อน ระดับ 5

รหัส ISCO-08     2152 วิศวกรเครื่องกลความร้อน

                          3115 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศวกรรมความร้อน

                          3139 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคควบคุมระบบเครื่องทำความร้อน

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่อธิบายถึงการควบคุมดูแลเครื่องกำจัดฝุ่น โดยต้องมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการควบคุมระบบการทำงานของดักจับฝุ่นประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะแบบไฟฟ้าสถิตแรงสูง (Electro Static Precipitator: ESP) สามารถเก็บข้อมูล รวบรวมปัญหา และซ่อมบำรุงเบื้องต้น รวมถึงสามารถวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพฝุ่นละอองได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 25352.    ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประสานงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม3.    กฎหมายและมาตรฐานด้านคุณภาพอากาศและเสียง…4.    พรบ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-TP01-5-0011

ควบคุมการทำงานของระบบดักจับฝุ่นก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก

1. อธิบายการทำงานของระบบดักจับฝุ่น

BMG-TP01-5-0011.01 215246
BMG-TP01-5-0011

ควบคุมการทำงานของระบบดักจับฝุ่นก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก

2. อ่านและใช้คู่มือการปฏิบัติงานระบบดักจับฝุ่น

BMG-TP01-5-0011.02 215247
BMG-TP01-5-0011

ควบคุมการทำงานของระบบดักจับฝุ่นก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก

3. ใช้งานระบบจับฝุ่นเพื่อควบคุมคุณภาพอากาศและฝุ่นละอองในอากาศก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก

BMG-TP01-5-0011.03 215248
BMG-TP01-5-0011

ควบคุมการทำงานของระบบดักจับฝุ่นก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก

4. บันทึกและรายงานผลการควบคุมระบบดักจับฝุ่นของโรงไฟฟ้าต่อฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

BMG-TP01-5-0011.04 215249
BMG-TP01-5-0011

ควบคุมการทำงานของระบบดักจับฝุ่นก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก

5. ประสานงานกับฝ่ายซ่อมบำรุงกรณีระบบขัดข้องเพื่อแก้ไขปัญหา

BMG-TP01-5-0011.05 215250
BMG-TP01-5-0012

ติดตามผลการตรวจวัดคุณภาพของฝุ่นละอองที่ออกจากระบบดักจับฝุ่น

1. ประสานงานหน่วยงานภายนอก (outsource) ที่มีหน้าที่เก็บตัวอย่างฝุ่นที่ออกจากระบบ

BMG-TP01-5-0012.01 215251
BMG-TP01-5-0012

ติดตามผลการตรวจวัดคุณภาพของฝุ่นละอองที่ออกจากระบบดักจับฝุ่น

2. อำนวยความสะดวกและดูแลการเก็บตัวอย่างฝุ่นที่ออกจากระบบ/ระบบตรวจสอบแบบออนไลน์ (online monitoring)

BMG-TP01-5-0012.02 215252
BMG-TP01-5-0012

ติดตามผลการตรวจวัดคุณภาพของฝุ่นละอองที่ออกจากระบบดักจับฝุ่น

3. แปรผลการวิเคราะห์/อ่านค่าจากระบบตรวจสอบแบบออนไลน์ (online monitoring)

BMG-TP01-5-0012.03 215253
BMG-TP01-5-0012

ติดตามผลการตรวจวัดคุณภาพของฝุ่นละอองที่ออกจากระบบดักจับฝุ่น

4. รายงานผลไปยังหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล(กรมโรงงาน)

BMG-TP01-5-0012.04 215254
BMG-TP01-5-0013

ซ่อมบำรุงระบบดักจับฝุ่นเบื้องต้น

1. ตรวจสอบระบบดักจับฝุ่นให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

BMG-TP01-5-0013.01 215255
BMG-TP01-5-0013

ซ่อมบำรุงระบบดักจับฝุ่นเบื้องต้น

2. ทำความสะอาดระบบดักจับฝุ่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบ

BMG-TP01-5-0013.02 215256
BMG-TP01-5-0013

ซ่อมบำรุงระบบดักจับฝุ่นเบื้องต้น

3. ซ่อมบำรุงระบบดักจับฝุ่นเบื้องต้น เพื่อให้มีความปลอดภัยในการทำงาน

BMG-TP01-5-0013.03 215257

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการควบคุมเครื่องกำจัดฝุ่น cyclone/wet scrubber/ ESP /bag filter

2.    ทักษะทางวิศวกรรมและสามารถซ่อมบำรุงเบื้องต้น

3.    ทักษะในการวิเคราะห์ปัญหาจากการทำงานของเครื่องจักรเบื้องต้น

4.    ทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงวิทยาศาสตร์หรือเชิงเทคนิค

5.    ทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า กรณีที่เครื่องจักรเกิดเหตุผิดปกติ

6.    ทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ด้านระบบกำจัดฝุ่นแบบแบบต่างๆ cyclone/wet scrubber/ ESP /bag filter

2.    ความรู้ทางทฤษฎีและปฏิบัติด้านไฟฟ้าและเครื่องจักรกลเบื้องต้น เช่น ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล  ระบบควบคุมสั่งการ หม้อแปลงแรงดันสูง (Hi-voltage Rectifier) อุปกรณ์ไฟฟ้าแรงดันสูง (Hi-Voltage Electrical Component) และอื่น ๆ เป็นต้น 

3.    ความรู้เรื่องกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง และประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัยและมาตรฐานด้านคุณภาพอากาศและเสียง

4.    ความรู้ด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

5.    ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลให้เหมาะสมกับงาน

6.    ความรู้เกี่ยวกับ พรบ. และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

   (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

2.    หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

3.    แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

   (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2.    หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับการการผลิตน้ำใช้ในอุตสาหกรรม หรือการดำเนินงานในด้านที่เกี่ยวข้อง

3.    ผลการสอบข้อเขียน

4.    ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1.    ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับการวางแผนการจัดซื้อ-จัดหาวัตถุดิบโดยพิจารณาหลักฐานด้านความรู้

2.    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

-    ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

-    วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

-    ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

   (ง) วิธีการประเมิน

1.    สอบปรนัย

2.    สอบสัมภาษณ์

3.    สอบสถานการณ์จำลอง

4.    สอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการควบคุมดูแลเครื่องกำจัดฝุ่นให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของบริษัท ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

   (ก) คำแนะนำ 

-N/A-

   (ข) คำอธิบายรายละเอียด 

ดำเนินงานด้านการควบคุมดูแลเครื่องกำจัดฝุ่น จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบกำจัดฝุ่น สามารถอ่าน/ใช้คู่มือระบบกำจัดฝุ่นได้เป็นอย่างดี ควบคุมฝุ่นละอองก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก บันทึกและรายงานผลเพื่อส่งวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ และซ่อมบำรุงระบบเบื้องต้น 

1.    การควบคุมระบบดักจับฝุ่น

   2.1    แบบไซโคลน (Cyclone/multi-cyclone) ใช้หลักการเหวี่ยงเพื่อให้เกิดการหมุนตัวของฝุ่นเป็นไซโคลน และฝุ่นจะถูกแยกกออกมาและไหลลงสู่ส่วนปลายของถังพัก (Hopper)

   2.2    Wet Scrubber หรือ Wet Controller เป็นอุปกรณ์ที่ใช้หลักการชนหรือการตกกระทบ เหมาะกับการกำจัดอนุภาคที่มีฤทธิ์กัดกร่อนและอนุภาคทึ่มีความร้อนสูง สามารถใช้ได้ทั้งระบบเปียกและระบบแห้ง

   2.3    แบบไฟฟ้าสถิตแรงสูง (Electro Static Precipitator: ESP) หมายถึง การควบคุมระบบ ESP และส่วนประกอบของระบบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ได้แก่ การใส่ประจุไฟฟ้าให้กับอนุภาค การดักจับอนุภาคที่มีประจุโดยใช้แรงไฟฟ้าจากสนามไฟฟ้าสถิต การแยกฝุ่นออกจากขั้วเก็บในเครื่อง ESP ไปยังถังพักด้วยการเคาะ (Rapping) และการสั่น (Vibrating) เป็นต้น

   2.4    แบบถุงกรอง (Bag Filter) โดยถุงกรองจะมีลักษณะโครงสร้างที่เป็นรูพรุนหรือเส้นใย มีขนาดรูพรุนขนาดต่างๆ ที่กักกันอนุภาคของฝุ่นไม่ให้ไหลผ่าน โดยทั่วไปจะทำจากผ้าทอ (Woven Fabric) หรือผ้าสักหลาด (Felted Fabric) ใยหิน (Asbestos) หรือไนลอน (Nylon)

2.    การตรวจสอบและซ่อมบำรุงระบบกำจัดฝุ่นเบื้องต้น ในหน่วยสมรรถนะนี้ หมายถึง การตรวจสอบและซ่อมบำรุงชุดกรองฝุ่นละออง ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล (Mechanical Parts) ของระบบดักจับฝุ่นแต่ละแบบ

-     ระบบ Electro Static Precipitator: ESP เช่น ระบบควบคุมสั่งการ หม้อแปลงแรงดันสูง (Hi-voltage Rectifier) และอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงดันสูง (Hi-Voltage Electrical Component) เป็นต้น

-    ระบบ Cyclone/multi-cyclone

-    ระบบ Wet Scrubber หรือ Wet Controller

-    ระบบ Bag filter

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2.    ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3.    การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย

 



ยินดีต้อนรับ