หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการลำเลียงวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิตความร้อน

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-KVDK-801

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการลำเลียงวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิตความร้อน

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ควบคุมกระบวนการผลิตความร้อน ระดับ 4

รหัส ISCO-08     2152 วิศวกรเครื่องกลความร้อน

                          3115 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศวกรรมความร้อน

                          3139 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคควบคุมระบบเครื่องทำความร้อน

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถวางแผนและควบคุมระบบลำเลียงวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการ/การลำเลียงวัถุดิบ ประสานงานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อควบคุมการรทำงาน รวบรวมปัญหาและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเพื่อจัดทำแผนป้องกันในการดำเนินงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1)    พรบ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 25542)    กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2542 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-TP01-4-0031

วางแผนจัดการด้านการลำเลียงวัตถุดิบ

1. อธิบายวิธีการจัดการวัตถุดิบ

BMG-TP01-4-0031.01 215116
BMG-TP01-4-0031

วางแผนจัดการด้านการลำเลียงวัตถุดิบ

2. อธิบายขั้นตอนเกี่ยวกับการลำเลียงวัตถุดิบ

BMG-TP01-4-0031.02 215117
BMG-TP01-4-0031

วางแผนจัดการด้านการลำเลียงวัตถุดิบ

3. บอกวิธีการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องจักรลำเลียงวัตถุดิบ

BMG-TP01-4-0031.03 215118
BMG-TP01-4-0031

วางแผนจัดการด้านการลำเลียงวัตถุดิบ

4. วางแผนจัดการด้านการลำเลียงวัตถุดิบ

BMG-TP01-4-0031.04 215119
BMG-TP01-4-0032

วางแผนและควบคุมระบบลำเลียงวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ

1. อธิบายกระบวนการทำงานของระบบลำเลียงวัตถุดิบ 

BMG-TP01-4-0032.01 215120
BMG-TP01-4-0032

วางแผนและควบคุมระบบลำเลียงวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ

2. วางแผนการควบคุมระบบลำเลียงวัตถุดิบ

BMG-TP01-4-0032.02 215121
BMG-TP01-4-0032

วางแผนและควบคุมระบบลำเลียงวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ

3. ประสานงานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อควบคุมระบบลำเลียงวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ

BMG-TP01-4-0032.03 215122
BMG-TP01-4-0032

วางแผนและควบคุมระบบลำเลียงวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ

4. ควบคุมระบบการลำเลียงวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ

BMG-TP01-4-0032.04 215123
BMG-TP01-4-0032

วางแผนและควบคุมระบบลำเลียงวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ

5. ถ่ายทอดวิธีปฎิบัติงานด้านเทคนิคและความปลอดภัยในการทำงานต่อผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

BMG-TP01-4-0032.05 215124
BMG-TP01-4-0033

จัดทำแผนป้องกันและจัดการความเสี่ยงในกระบวนการลำเลียงวัตถุดิบ

1. รวบรวมและทบทวนข้อมูลการดำเนินงานของระบบลำเลียงวัตถุดิบ

BMG-TP01-4-0033.01 215125
BMG-TP01-4-0033

จัดทำแผนป้องกันและจัดการความเสี่ยงในกระบวนการลำเลียงวัตถุดิบ

2. รวบรวมปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนและควบคุมระบบลำเลียงวัตถุดิบ

BMG-TP01-4-0033.02 215126
BMG-TP01-4-0033

จัดทำแผนป้องกันและจัดการความเสี่ยงในกระบวนการลำเลียงวัตถุดิบ

3. วิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการทำงานของระบบและผู้ปฏิบัติงาน 

BMG-TP01-4-0033.03 215127
BMG-TP01-4-0033

จัดทำแผนป้องกันและจัดการความเสี่ยงในกระบวนการลำเลียงวัตถุดิบ

4. จัดทำแผนป้องกันและจัดการความเสี่ยงในกระบวนการลำเลียงวัตถุดิบ 

BMG-TP01-4-0033.04 215128
BMG-TP01-4-0033

จัดทำแผนป้องกันและจัดการความเสี่ยงในกระบวนการลำเลียงวัตถุดิบ

5. บันทึกข้อมูลการวิเคราะห์ความเสี่ยงของระบบลำเลียงวัตถุดิบ

BMG-TP01-4-0033.05 215129

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการวางแผนการลำเลียงวัตถุดิบ

2.    ทักษะในบริหารจัดการเชื้อเพลิงสู่ระบบลำเลียง 

3.    ทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงวิทยาศาสตร์หรือเชิงเทคนิค

4.    ทักษะในการถ่ายทอดความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงานกับผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

5.    ทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

6.    ทักษะในการวิเคราะห์ความเสี่ยงและจัดการความเสี่ยง

7.    ทักษะในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคลังวัตถุดิบในการผลิต

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ด้านจัดทำแผนการทำงาน แผนการบริหาร และควบคุมระบบลำเลียงวัตถุดิบ

2.    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการด้านการขนส่ง

3.    ความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกิดในกระบวนการผลิตวิธีการจัดการความเสี่ยง

4.    ความรู้ในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคลังวัตถุดิบ

5.    ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับการทำงาน

6.    ความรู้เกี่ยวกับ พรบ. และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

   (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

2.    หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

3.    แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

   (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2.    หลักฐานการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสรรถนะ

   (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1.    ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับการวางแผนการจัดซื้อ-จัดหาวัตถุดิบโดยพิจารณาหลักฐานด้านความรู้

2.    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

-    ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

-    วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

-    ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

   (ง) วิธีการประเมิน

1.    สอบข้อเขียน: ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และข้อสอบอัตนัย

2.    สอบสัมภาษณ์

3.    ประเมินจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการวางแผน และควบคุม ระบบลำเลียงวัตถุดิบให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของบริษัท ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

   (ก) คำแนะนำ 

-N/A-

   (ข) คำอธิบายรายละเอียด 

ผู้ดำเนินงานด้านการวางแผน และควบคุม ระบบลำเลียงวัตถุดิบ รวมถึงการรวบรวมปัญหาและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเพื่อจัดทำแผนป้องกันในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ 

1.    การวางแผนการลำเลียงวัตถุดิบ หมายถึง การจัดการลำเลียงวัตถุดิบในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อป้อนสู่ระบบผลิตความร้อน 

2.    ความเสี่ยง หมายถึง ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาวัตถุดิบในการผลิตความร้อน ความเสี่ยงด้านต้นทุนวัตถุดิบ การขนส่ง ปริมาณวัตถุดิบ และคุณภาพของวัตถุดิบ เป็นต้น ความเสี่ยงในการผลิตอาจจะเกิดขึ้นจากความผิดพลาดของคน เครื่องจักร หรือผู้จำหน่วยวัตถุดิบก็ได้

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2.    ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3.    การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย



ยินดีต้อนรับ