หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

รายงานผลการตรวจสอบวัตถุดิบในคลัง

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-GJCA-769

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ รายงานผลการตรวจสอบวัตถุดิบในคลัง

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักจัดการคลังวัตถุดิบ ระดับ 3

ISCO-08   3323 เจ้าหน้าที่จัดซื้อวัตถุดิบ

                 4322 เจ้าหน้าที่วางแผนการใช้และสั่งวัตถุดิบ

                 4322 เจ้าหน้าที่สั่งซื้อวัตถุดิบ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสหน่วยสมรรถนะนี้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลวัตถุดิบในคลังสำหรับผลิตไฟฟ้า โดยวิเคราะห์ข้อมูลการตรวจสอบวัตถุดิบในคลัง (ค่าพลังงาน ชนิดวัตถุดิบ ปริมาณคงคลัง เป็นต้น) เพื่อหาแนวทางจัดหาวัตถุดิบให้เพียงพอในการใช้ผลิตไฟฟ้า วิเคราะห์ความเสี่ยง เบื้องต้น พร้อมมทั้งเสนอแนะแนวทางจัดซื้อ/จัดหา วัตถุดิบอื่นทดแทนให้กับฝ่ายจัดซื้อ และจัดทำรายงานผลการวิเคราะห์และแนวทางแก้ปัญหา

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-RM01-3-0031

วิเคราะห์ข้อมูลการตรวจสอบวัตถุดิบในคลัง

1. รวบรวมข้อมูลผลการตรวจสอบข้อมูลวัถถุดิบสำหรับกระบวนการผลิตแต่ละชนิด

BMG-RM01-3-0031.01 214708
BMG-RM01-3-0031

วิเคราะห์ข้อมูลการตรวจสอบวัตถุดิบในคลัง

2. ใช้งานเครื่องมือ/โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลวัตถุดิบ

BMG-RM01-3-0031.02 214709
BMG-RM01-3-0031

วิเคราะห์ข้อมูลการตรวจสอบวัตถุดิบในคลัง

3. วิเคราะห์ข้อมูลวัตถุดิบ (ค่าพลังงาน ชนิดวัตถุดิบ ปริมาณคงคลัง เป็นต้น) ในการผลิตไฟฟ้า

BMG-RM01-3-0031.03 214710
BMG-RM01-3-0032

วิเคราะห์ทิศทางวัตถุดิบ แนวโน้ม และแนวทางแก้ปัญหา

1. วิเคราะห์เพื่อหาแนวทางจัดหาวัตถุดิบให้เพียงพอในการใช้ผลิตไฟฟ้า

BMG-RM01-3-0032.01 214715
BMG-RM01-3-0032

วิเคราะห์ทิศทางวัตถุดิบ แนวโน้ม และแนวทางแก้ปัญหา

2. วิเคราะห์ความเสี่ยง เบื้องต้น

BMG-RM01-3-0032.02 214716
BMG-RM01-3-0032

วิเคราะห์ทิศทางวัตถุดิบ แนวโน้ม และแนวทางแก้ปัญหา

3. เสนอแนะแนวทางจัดซื้อ/จัดหา วัตถุดิบอื่นทดแทนให้กับฝ่ายจัดซื้อ

BMG-RM01-3-0032.03 214717
BMG-RM01-3-0033

บันทึกผลและจัดทำรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลวัตถุติบในคลัง

1. บันทึกข้อมูลและจัดทำรายงานผลการวิเคราะห์และแนวทางแก้ปัญหา

BMG-RM01-3-0033.01 214718
BMG-RM01-3-0033

บันทึกผลและจัดทำรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลวัตถุติบในคลัง

2. เสนอแนะแนวทางการสั่งซื้อวัตถุดิบที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

BMG-RM01-3-0033.02 214719
BMG-RM01-3-0033

บันทึกผลและจัดทำรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลวัตถุติบในคลัง

3. นำเสนอข้อมูลต่อส่วนงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการจัดซื้อ/จัดหา วัตถุดิบในกระบวนการผลิตไฟฟ้า

BMG-RM01-3-0033.03 214720

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการติดต่อสื่อสารในเชิงช่าง 

2.    ทักษะในการอ่านและเข้าใจคู่มือการปฏิบัติ

3.    ทักษะในการวิเคราะห์ผล วิเคราะห์ความเสี่ยง

4.    ทักษะในการจัดทำรายงาน และสรุปผล 

5.    ทักษะในการนำเสนอข้อมูล

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ด้านสมบัติของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าแต่ละชนิด การนำไปใช้ ข้อดี/ข้อจำกัด และค่าพลังงาน

2.    ความรู้ด้านการตรวจสอบวัตถุดิบ

3.    ความรู้ด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์วัตถุดิบ

4.    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการในการจัดทำรายงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

   (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

2.    หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

3.    แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2.    หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับการการผลิตน้ำใช้ในอุตสาหกรรม หรือการดำเนินงานในด้านที่เกี่ยวข้อง

3.    ผลการสอบข้อเขียน

4.    ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1.    ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับการวางแผนการจัดซื้อ-จัดหาวัตถุดิบโดยพิจารณาหลักฐานด้านความรู้

2.    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

-    ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

-    วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

-    ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    (ง) วิธีการประเมิน

1.    สอบปรนัย

2.    สอบสัมภาษณ์

3.    สอบสถานการณ์จำลอง

4.    สอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้อง

     (ก) คำแนะนำ 

ผู้ดำเนินการด้านเฝ้าระวัง ตรวจสอบ บันทึกข้อมูล รายงานผลการดำเนินงาน และปัญหา สำหรับเจ้าหน้าที่จัดการบริหารคลังวัตถุดิบ จะดำเนินการตรวจสอบการใช้งานเครื่องจักรที่ใช้ในการขนย้ายวัตถุดิบให้มีสภาพปกติ      

     (ข) คำอธิบายรายละเอียด 

1.    ความรู้วัตถุดิบและคุณสมบัติวัตถุดิบขั้นต้น หมายถึง สามารถเข้าใจและคัดแยกวัตถุดิบที่มีความแตกต่างกันจากลักษณะภายนอกได้ สามารถอ่านข้อมูลและเข้าใจในค่าความร้อนของวัตถุดิบเพื่อนำไปเป็นเชื้อเพลิง

2.    คลังวัตถุดิบ หมายถึง สถานที่หรือบริเวณเก็บเชื้อเพลิง/วัตถุดิบ (เช่นโกดัง อาคาร บ่อเก็บ เป็นต้น) ที่มีการจัดการตามวิธีการเก็บและเหมาะสมกับชนิดของเชื้อเพลิง/วัตถุดิบ ได้แก่

- ส่วนของการผลิตพลังงานความร้อนหรือไฟฟ้าจากชีวมวล เป็นเชื้อเพลิงแข็ง เช่น ไม้สับ แกลบ หญ้า เชื้อเพลิงแข็ง เป็นต้น

- ส่วนของการผลิตความร้อนหรือไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ วัตถุดิบในการผลิตก๊าซชีวภาพ มี 2 แบบ ได้แก่ วัตถุดิบตั้งต้นประเภทไม่ต้องจัดหา เช่น น้ำเสียหรือกากเสียจากกระบวนการผลิต  และวัตถุดิบที่ต้องมีการจัดหา เช่นหญ้าเนเปียร์ กากมัน เป็นต้น 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2.    ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3.    การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย

 



ยินดีต้อนรับ