หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารจัดการคลังวัตถุดิบในการผลิต

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-APTE-767

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารจัดการคลังวัตถุดิบในการผลิต

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักจัดการคลังวัตถุดิบ ระดับ 3

ISCO-08   3323 เจ้าหน้าที่จัดซื้อวัตถุดิบ

                 4322 เจ้าหน้าที่วางแผนการใช้และสั่งวัตถุดิบ

                 4322 เจ้าหน้าที่สั่งซื้อวัตถุดิบ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถบริหารจัดการคลังวัตถุดิบในการผลิต โดยสามารถประสานงานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งมอบวัตถุดิบ ตรวจสอบปริมาณวัตถุดิบขาเข้าและวัตถุดิบในคลังทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ควบคุมสภาวะแวดล้อมของคลังเก็บวัตถุดิบไม่ให้เกิดความเสียหายและจัดการพื้นที่ในการคลังได้อย่างถูกวิธี สามารถควบคุมการใช้งานเครื่องอำนวยความสะดวกในการขนย้ายวัตถุดิบ รวมทั้งดูแลการดำเนินงานต่างๆ ให้เป็นระเบียบและมีความปลอดภัย จัดทำรายงานความเคลื่อนไหวการเบิกจ่ายวัตถุดิและประสานงานกับฝ่ายจัดซื้อ-จัดหา เพื่อวางแผนการจัดซื้อวัตถุดิบให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-RM01-3-0011

ตรวจสอบ ปริมาณวัตถุดิบในคลัง

1. ตรวจวัด ตรวจสอบความถูกต้องของวัตถุดิบในคลังทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพ 

BMG-RM01-3-0011.01 214490
BMG-RM01-3-0011

ตรวจสอบ ปริมาณวัตถุดิบในคลัง

2. บันทึกข้อมูลวัตถุดิบขาเข้า ทั้งปริมาณและคุณภาพ

BMG-RM01-3-0011.02 214491
BMG-RM01-3-0011

ตรวจสอบ ปริมาณวัตถุดิบในคลัง

3. ตรวจสอบปริมาณวัตถุดิบคงค้างในคลังวัตถุดิบเพื่อบริหารจัดการพื้นที่จัดเก็บ

BMG-RM01-3-0011.03 214492
BMG-RM01-3-0011

ตรวจสอบ ปริมาณวัตถุดิบในคลัง

4. บันทึกข้อมูลวัตถุดิบและรายงานผลการตรวจสอบข้อมูลวัตถุดิบในคลัง

BMG-RM01-3-0011.04 214493
BMG-RM01-3-0012

ควบคุมสภาวะแวดล้อมของคลังเก็บวัตถุดิบให้เป็นไปตามวิธีการบริหารจัดการ

1. อธิบายหลักการบริหารจัดการคลังวัตถุดิบ 

BMG-RM01-3-0012.01 214496
BMG-RM01-3-0012

ควบคุมสภาวะแวดล้อมของคลังเก็บวัตถุดิบให้เป็นไปตามวิธีการบริหารจัดการ

2. ตรวจสอบสภาวะแวดล้อมของการจัดเก็บวัตถุดิบตามวิธีการบริหารจัดการคลังวัตถุดิบ

BMG-RM01-3-0012.02 214497
BMG-RM01-3-0012

ควบคุมสภาวะแวดล้อมของคลังเก็บวัตถุดิบให้เป็นไปตามวิธีการบริหารจัดการ

3. ควบคุมสภาวะของคลังวัตถุดิบเพื่อรักษาคุณภาพเชื้อวัตถุดิบ

BMG-RM01-3-0012.03 214498
BMG-RM01-3-0012

ควบคุมสภาวะแวดล้อมของคลังเก็บวัตถุดิบให้เป็นไปตามวิธีการบริหารจัดการ

4. ตรวจสอบ บันทึกผลการจัดเก็บวัตถุดิบ และปัญหาของคลังวัตถุดิบ

BMG-RM01-3-0012.04 214499
BMG-RM01-3-0013

บริหารจัดการพื้นที่เก็บวัตถุดิบให้ถูกต้องตามระเบียบความปลอดภัย

1. ควบคุมและจัดการพื้นที่จัดเก็บวัตถุดิบให้ถูกต้องตามวิธีการบริหารจัดการ

BMG-RM01-3-0013.01 214513
BMG-RM01-3-0013

บริหารจัดการพื้นที่เก็บวัตถุดิบให้ถูกต้องตามระเบียบความปลอดภัย

2. จัดเตรียมเครื่องมืออำนวยความสะดวกอุปกรณ์ในการทำงาน

BMG-RM01-3-0013.02 214514
BMG-RM01-3-0013

บริหารจัดการพื้นที่เก็บวัตถุดิบให้ถูกต้องตามระเบียบความปลอดภัย

3. ควบคุมการใช้งานเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการขนย้าย หรือจัดวาง วัตถุดิบ

BMG-RM01-3-0013.03 214515
BMG-RM01-3-0013

บริหารจัดการพื้นที่เก็บวัตถุดิบให้ถูกต้องตามระเบียบความปลอดภัย

4. ดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามระเบียบความปลอดภัย

BMG-RM01-3-0013.04 214516
BMG-RM01-3-0014

ติดต่อประสานงานด้านข้อมูลปริมาณวัตถุดิบกับฝ่ายจัดซื้อ-จัดหา

1. ดำเนินงานการส่งมอบวัตถุดิบกับฝ่ายจัดซื้อ-จัดหา

BMG-RM01-3-0014.01 214517
BMG-RM01-3-0014

ติดต่อประสานงานด้านข้อมูลปริมาณวัตถุดิบกับฝ่ายจัดซื้อ-จัดหา

2. จัดทำรายงานการเคลื่อนไหวการรับ และการเบิก-จ่าย (Inventory Report) วัตถุดิบ

BMG-RM01-3-0014.02 214518
BMG-RM01-3-0014

ติดต่อประสานงานด้านข้อมูลปริมาณวัตถุดิบกับฝ่ายจัดซื้อ-จัดหา

3. รายงานข้อมูลและประสานงานกับฝ่ายจัดซื้อจัดหาเพื่อวางแผนการจัดการคลังวัตถุดิบให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน

BMG-RM01-3-0014.03 214519

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการจัดลำดับ การเรียงความสำคัญ ตามรูปแบบและตัวแปรที่สัมพันธ์กับการใช้งานวัตถุดิบในคลัง เช่น ลำดับก่อนหลัง ระยะเวลาเก็บรักษา หรือการจัดเก็บแบบมีรูปแบบ เป็นต้น

2.    ทักษะในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ที่เกิดขึ้นในพื้นที่งานได้อย่างทันท่วงที

3.    มีทักษะในการวิเคราะห์หรือตีความเอกสาร คู่มือ หรือข้อกำหนดการปฏิบัติงาน และดำเนินการอย่างถูกต้อง

4.    ทักษะในการสังเกตแนวโน้มของปัญหา และสามารถรายงานผลถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นได้

5.    ทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ด้านสมบัติเบื้องต้นของมาตรฐานหรือข้อกำหนดในการบริหารจัดการคลังสินค้าให้ได้มาตรฐานและความปลอดภัยในการดำเนินงาน

2.    ความรู้ด้านสมบัติเบื้องต้นของเชื้อเพลิงและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากสภาวะการเก็บรักษา

3.    ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีเบิก-จ่าย และคงคลัง 

4.    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการ และการใช้งานเครื่องจักรเพื่อการกระจายสินค้า

5.    ความรู้ด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมดำเนินการ เช่น .docx .xlsx และ .pptx และโปรแกรมด้านการจัดทำบัญชี เป็นต้น

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

   (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

2.    หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

3.    แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

   (ข)     หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2.    หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการคลังวัตถุดิบ/เชื้อเพลิง เพื่อการจัดเก็บ (Store Warehouse) หรือการดำเนินงานในด้านที่เกี่ยวข้อง

3.    ผลการสอบข้อเขียน

4.    ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

   (ค)    คำแนะนำในการประเมิน

1.    ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับการวางแผนการจัดซื้อ-จัดหาวัตถุดิบโดยพิจารณาหลักฐานด้านความรู้

2.    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

-    ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

-    วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

-    ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

   (ง) วิธีการประเมิน

1.    สอบปรนัย

2.    สอบสัมภาษณ์

3.    สอบสถานการณ์จำลอง

4.    สอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

การดำเนินงานบริหารจัดการคลังวัตถุดิบ ต้องดำเนินการดูแลควบคุมการจัดเก็บวัตถุดิบได้เหมาะสมและถูกต้องตามวิธีบริหารจัดการคลังวัตถุดิบ โดยการดำเนินการตรวจสอบสภาวะแวดล้อม จัดการพื้นที่ จัดการรับ-จ่าย ตามลักษณะประเภทของวัตถุดิบ

    (ก) คำแนะนำ 

-N/A-

     (ข) คำอธิบายรายละเอียด 

1.    คลังวัตถุดิบ หมายถึง สถานที่หรือบริเวณเก็บเชื้อเพลิง/วัตถุดิบ (เช่นโกดัง อาคาร บ่อเก็บ เป็นต้น) ที่มีการจัดการตามวิธีการเก็บและเหมาะสมกับชนิดของเชื้อเพลิง/วัตถุดิบ ได้แก่

-    ส่วนของการผลิตพลังงานความร้อนหรือไฟฟ้าจากชีวมวล เป็นเชื้อเพลิงแข็ง เช่น ไม้สับ แกลบ หญ้า เชื้อเพลิงแข็ง เป็นต้น

-    ส่วนของการผลิตความร้อนหรือไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ วัตถุดิบในการผลิตก๊าซชีวภาพ มี 2 แบบ ได้แก่ วัตถุดิบตั้งต้นประเภทไม่ต้องจัดหา เช่น น้ำเสียหรือกากเสียจากกระบวนการผลิต  และวัตถุดิบที่ต้องมีการจัดหา เช่นหญ้าเนเปียร์ กากมัน เป็นต้น 

2.    สภาวะแวดล้อมของการจัดเก็บวัตถุดิบ หมายถึง ตัวแปรที่มีผลต่อคุณภาพของเชื้อเพลิง/วัตถุดิบ ที่ต้องมีการตรวจสอบและควบคุมตามวิธีการบริหารจัดการคลัง ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น ความสูงกอง การระบายอากาศ เป็นต้น

3.    ปัญหาของคลังวัตถุดิบ หมายถึง เหตุการณ์ผิดปกติที่อาจส่งผลต่อการจัดการและคุณภาพของเชื้อเพลิง/วัตถุดิบ เช่นอุณหภูมิภายในกองเชื้อเพลิงสูงเกิน 50oC หรือความชื้นแวดล้อมภายในพื้นที่จัดเก็บสูงเกิดความชื้นแวดล้อมเนื่องจากการระบายอากาศไม่สอดคล้องกัน เป็นต้น ซึ่งเหตุการณ์ต่าง ๆ นำมาซึ่งปัญหาในการบริหารจัดการคลัง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2.    ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3.    การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย

 



ยินดีต้อนรับ