หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการห้องปฏิบัติการ

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-CDVX-121B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการห้องปฏิบัติการ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการ อันได้แก่ การปฏิบัติตามหลักความปลอดภัย ในการแต่งกาย การจัดเก็บ และป้องกันอันตรายจากสารเคมี การจัดการของเสีย การทำความสะอาด อุปกรณ์เครื่องมือ ตามวิธีการทำความสะอาดอย่างถูกต้อง บำรุงรักษาอุปกรณ์ เครื่องมือในห้องปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักเทคนิคการสัตวแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    1. เกณฑ์ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ดีของกรมโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2550    2. . มาตรฐานสถานประกอบการสัตวในประเทศไทย พ.ศ. 2553    3. มาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2562    4. มาตรฐานห้องปฏิบัติการรังสีวินิจฉัยกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2562    5. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ.2560 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10306.01

วางแผนทางการปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

วางแผนข้อกำหนดในการแต่งกายตามการป้องกันส่วนบุคคล

10306.01.01 214600
10306.01

วางแผนทางการปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

วางแผนการปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยในการจัดเก็บและป้องกันอันตรายจากสารเคมีภายในห้องปฏิบัติการ

10306.01.02 214601
10306.01

วางแผนทางการปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

กำหนดข้อปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากสารเคมีหกรั่วไหล

10306.01.03 214602
10306.02

วางแผนทางการปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

วางแผนในการกำหนดข้อปฏิบัติตามหลักปฏิบัติที่ดีทางห้องปฏิบัติการ (Good lab Practice)

10306.02.01 214603
10306.02

วางแผนทางการปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

วางแผนในการกำหนดข้อปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยทางชีวภาพ (BioSafety)

10306.02.02 214604
10306.02

วางแผนทางการปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

วางแผนในการกำหนการดำเนินการตามมาตรการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Bio Security)

10306.02.03 214605
10306.03

จัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ

จัดเตรียมภาชนะสำหรับรองรับขยะแต่ละประเภทให้เพียงพอ

10306.03.01 214640
10306.03

จัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ

คัดแยกของเสียทางห้องปฏิบัติการในการจัดการขยะแต่ละประเภท

10306.03.02 214641
10306.03

จัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ

นำส่งของเสียเพื่อเข้าสู่ขบวนการกำจัดได้ถูกต้อง

10306.03.03 214642
10306.04

ตรวจสอบความแม่นยำของเครื่องมือและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ

สอบเทียบเบื้องต้น (Routine calibration) เครื่องมือ และอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ

10306.04.01 214643
10306.04

ตรวจสอบความแม่นยำของเครื่องมือและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ

ทำความสะอาดเครื่องมือและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการหลังการสอบเทียบเบื้องต้น

10306.04.02 214644

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการทดสอบความแม่นยำของอุปกรณ์ภายในห้องปฏิบัติการ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ทางด้านการจัดการเหตุการณ์ฉุกเฉิน

2. ความรู้ทางด้านการจัดการขยะในแต่ละประเภท

3. ความรู้ทางด้านการทำงานของเครื่องมือ อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับ

เกณฑ์การปฏิบัติงาน(Performance Criteria)และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. ใบบันทึกจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน

    2. เอกสารรับรองผลงานและความรู้ความสามารถที่ผ่านมา (ถ้ามี)

      3. เอกสารรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการสัตว์เลี้ยง อาชีพนักเทคนิคการสัตวแพทย์ ระดับ 5 (ถ้ามี)

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. ผลการทดสอบความรู้

    2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง    

    3. วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร หรือใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี)

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

    (ง) วิธีการประเมิน

    1. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้ และ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

การทำงานสนับสนุนงานตามแผนการรักษาภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแลของนายสัตวแพทย์



(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1. หลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน หมายถึง การดำเนินการในการทำงานโดยยึดความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่ดีในการปฏิบัติงาน

2. หลักปฏิบัติที่ดีทางห้องปฏิบัติการ (Good lab Practice) หมายถึง หลักปฏิบัติการระบบคุณภาพที่ช่วยจัดการห้องปฏิบัติการให้มีมาตรฐาน

3. หลักความปลอดภัยทางชีวภาพ (BioSafety) หมายถึง หลักปฏิบัติการการดำเนินป้องกันอันตราย ลดความเสี่ยงจากสารชีวภาพ

4. ตามมาตรการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Bio Security)หมายถึง หลักปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอกจากสารชีวภาพ

5. ขยะติดเชื้อ หมายถึง ขยะที่เกิดจากการตรวจวินิจฉัย รักษาสัตว์ เป็นสารหรือวัสดุที่ไม่ใช้หรือใช้ไม่ได้ ซึ่งมีส่วนประกอบหรือเจือปนด้วยสิ่งที่ก่อให้เกิดโรค ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยและชีวิตมนุษย์ ได้แก่ เนื้อเยื่อ ชิ้นส่วนอวัยวะ หรือสิ่งขับถ่าย ของเหลวจากร่างกายสัตว์ เลือดและผลิตภัณฑ์จากเลือด รวมทั้งสิ่งของหรือเครื่องใช้สำหรับสัตว์หรืออุปกรณ์เกี่ยวกับสัตว์ที่ถูกทิ้งจากสถานประกอบการและสถานประกอบการอื่นๆ

6. ขยะอันตราย หมายถึง ขยะ วัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ผลิตภัณฑ์เสื่อมสภาพ หรือภาชนะบรรจุต่างๆ ที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อนวัตถุสารอันตรายที่มีลักษณะเป็น สารพิษ สารไวไฟ สารเคมีที่กัดกร่อนได้ สารกัมมันตรังสี สารที่ทำให้เกิดโรค และมีเชื้อโรคปะปนอยู่ เป็นต้น. 

7. ขยะจากสารเคมี หมายถึง สิ่งเหลือใช้ในห้องปฏิบัติการเคมี สารเคมีที่ไม่ทราบชื่อ สารเคมีที่หมดอายุหรือเสื่อมสภาพ สารเคมีที่หกรั่วไหลและเก็บกลับคืนมา ซึ่งประกอบไปด้วยสารที่มีอันตรายต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความเข้มข้นเกินกว่าค่ามาตรฐานน้ำทิ้งอุตสาหกรรม หากขาดการจัดการที่เหมาะสมแล้ว จะเกิดปัญหาต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมได้ โดยมีลักษณะเป็นของเสียที่ลุกติดไฟได้ ของเสียประเภทกัดกร่อนของเสียที่ไวต่อปฏิกิริยาของเสียที่เป็นพิษ เป็นต้น

8. สอบเทียบเบื้องต้น(Routine calibration) หมายถึง การดำเนินการเพื่อหาความสัมพนัธ์ระหว่างค่าที่เครื่องมือวัดบอกหรือระบบการวัดหรือค่าที่แสดงโดยเครื่องวัดกับค่าจริงที่ยอมรับร่วมกัน (Conventional

True Value) ว่าคลาดเคลื่อนไปมากเท่าใด โดยเริ่มจากการสอบเทียบเครื่องมือกับเครื่องมือมาตรฐานที่คลาดเคลื่อนน้อยกว่ารวมถึงการสอบเทียบเครื่องมือที่มาตรฐานสูงกว่า จนถึงการสอบเทียบเครื่องมือมาตรฐานสูงสุดกับมาตรฐานแห่งชาติหรือมาตรฐานระหว่างประเทศ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) แบบทดข้อสอบข้อเขียน

2) แบบทดสอบสาธิตการปฏิบัติการ

3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค จากผลงานในของผู้รับการประเมิน (หากจำเป็น)

 



ยินดีต้อนรับ