หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ช่วยเหลือนายสัตวแพทย์ในขณะทำศัลยกรรม

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-KXCT-114B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ช่วยเหลือนายสัตวแพทย์ในขณะทำศัลยกรรม

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

-



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการช่วยเหลือนายสัตวแพทย์ในขณะทำศัลยกรรมได้อย่างปลอดและมีประสิทธิภาพ สนับสนุนการทำงานของนายสัตวแพทย์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พยาบาลสัตว์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. มาตรฐานสถานประกอบการสัตว์ในประเทศไทยปี 25532. หลักและแนวปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล พ.ศ.25553. พระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ.25454. คู่มือประกอบเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 2553 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10209.01

ช่วยเหลือนายสัตวแพทย์ในการเย็บแผล

เตรียมวัสดุอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ในการเย็บแผล

10209.01.01 214525
10209.01

ช่วยเหลือนายสัตวแพทย์ในการเย็บแผล

เตรียมความพร้อมของสัตว์ป่วยในการเย็บแผล

10209.01.02 214526
10209.01

ช่วยเหลือนายสัตวแพทย์ในการเย็บแผล

ช่วยนายสัตวแพทยืในการหยิบจับส่งวัสดุทางการแพทย์

10209.01.03 214527
10209.02

ช่วยเหลือนายสัตวแพทย์ผ่าตัดทั่วไป

เตรียมวัสดุอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ในการผ่าตัดทั่วไป

10209.02.01 214534
10209.02

ช่วยเหลือนายสัตวแพทย์ผ่าตัดทั่วไป

โกนขนบริเวณรอบแผล และทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะทำการผ่าตัดทั่วไป

10209.02.02 214535
10209.02

ช่วยเหลือนายสัตวแพทย์ผ่าตัดทั่วไป

คลุมผ้าผ่าตัดบริเวณที่จะทำการผ่าตัดทั่วไป

10209.02.03 214536
10209.02

ช่วยเหลือนายสัตวแพทย์ผ่าตัดทั่วไป

ช่วยนายสัตวแพทย์ในการหยิบจับส่งวัสดุทางการแพทย์และเวชภัณฑ์และเครื่องมือและวัสดุขณะผ่าตัด

10209.02.04 214537
10209.02

ช่วยเหลือนายสัตวแพทย์ผ่าตัดทั่วไป

ช่วยนายสัตวแพทย์ขณะผ่าตัดทั่วไป

10209.02.05 214538
10209.02

ช่วยเหลือนายสัตวแพทย์ผ่าตัดทั่วไป

ป้ายยาฆ่าเชื้อที่แผลผ่าตัดทั่วไปละปิดแผลผ่าตัด

10209.02.06 214539
10209.03

ช่วยเหลือนายสัตวแพทย์ผ่าตัดเฉพาะทาง

เตรียมวัสดุอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ให้ตรงกับการผ่าตัดเฉพาะทาง

10209.03.01 214543
10209.03

ช่วยเหลือนายสัตวแพทย์ผ่าตัดเฉพาะทาง

โกนขนบริเวณรอบแผล และทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะทำการผ่าตัดเฉพาะทาง

10209.03.02 214544
10209.03

ช่วยเหลือนายสัตวแพทย์ผ่าตัดเฉพาะทาง

กลุ่มผ้าผ่าตัดบริเวณที่จะทำการผ่าตัดฉพาะทาง

10209.03.03 214545
10209.03

ช่วยเหลือนายสัตวแพทย์ผ่าตัดเฉพาะทาง

ช่วยนายสัตวแพทย์ในการหยิบจับส่งวัสดุทางการแพทย์และเครื่องมือและวัสดุขณะผ่าตัดเฉพาะทาง

10209.03.04 214546
10209.03

ช่วยเหลือนายสัตวแพทย์ผ่าตัดเฉพาะทาง

ช่วยนายสัตวแพทย์ขณะผ่าตัดเฉพาะทาง

10209.03.05 214547
10209.03

ช่วยเหลือนายสัตวแพทย์ผ่าตัดเฉพาะทาง

ป้ายยาฆ่าเชื้อที่แผลผ่าตัดเฉพาะทางและปิดแผลผ่าตัด

10209.03.06 214548
10209.04

ดูแลสัตว์ป่วยระหว่างผ่าตัด

ติดตามสัญญาณชีพระหว่างการผ่าตัดตามที่ได้รับมอบหมายจากนายสัตวแพทย์

10209.04.01 214551
10209.04

ดูแลสัตว์ป่วยระหว่างผ่าตัด

ปฏิบัติงานสนับสนุนนายสัตวแพทย์ระหว่างการผ่าตัด (หยิบ ส่งเครื่องมือ ตัดไหม จับเคลื่อนย้ายท่าทางสัตว์)

10209.04.02 214552

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

10201    เตรียมวัสดุอุปกรณ์การแพทย์และร่างกายสัตว์ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษาตามแผนการรักษาของนายสัตวแพทย์

10202    บริหารจัดการยาเวชภัณฑ์และวัสดุทางการแพทย์ตามแผนการรักษาของนายสัตวแพทย์    



ความรู้และทักษะทางด้านการพยาบาลสัตว์

ความรู้ทางด้านพยาธิสภาพในโรคสัตว์ต่าง

ความรู้ทางด้านกายวิภาคสัตว์

ความรู้ด้านการช่วยเหลือนายสัตวแพทย์ขณะทำการผ่าตัดทุกชนิด


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์พิเศษในการตรวจวินิจฉัย

2. ทักษะการเตรียมเครื่องมือพิเศษในการผ่าตัดเฉพาะโรค

3. มีทักษะการบำรุงรักษาเครื่องมือพิเศษในแต่ละประเภท

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์พิเศษ

2. ความรู้ในการทำความสะอาดและทำให้ปลอดเชื้อในเครื่องมือพิเศษ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. ใบบันทึกจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน

    2. เอกสารรับรองผลงานและความรู้ความสามารถที่ผ่านมา (ถ้ามี)

      3. เอกสารรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการสัตว์เลี้ยง อาชีพพยาบาลสัตว์ ระดับ 5 (ถ้ามี)

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. ผลการทดสอบความรู้

    2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง    

    3. วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร หรือใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี)

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

    (ง) วิธีการประเมิน

    1. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้และ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

    2. ทดสาธิตการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

การทำงานสนับสนุนงานตามแผนการรักษา ภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแล ของนายสัตวแพทย์

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. การเย็บแผล หมายถึงการยึดแผลให้ปิดโดยใช้วิธีการเย็บเพื่อลดระยะของการเปิดแผลโดยการเลือกวิธีการเย็บแผลตามความเหมาะสมของลักษณะของแผลโดยมี 6 วิธีดังนี้

1. Simple suture เหมาะสำหรับแผลที่ตื้น ก้นแผลไม่ลึก

2. Vertical mattress เหมาะสำหรับแผลที่ก้นแผลลึกต้องการแรงดึงจากไหมและให้ขอบแผลชนกันสนิทป้องกันการเกิดการม้วนของขอบแผลลงไปด้านใน

3. Horizontal mattress เพิ่มแรงดึงเนื้อเยื่อเข้าหากัน

4. Tree corner เหมาะสำหรับแผลฉีกขาดที่มีมุม ลดการขาดเลือดของเนื้อเยื่อบริเวณมุม

5. Continuous suture การเลือกใช้งานใกล้เคียงกับ Simple suture แต่จะทำให้เลือดมาเลี้ยงแผลได้ลดลงและ ควบคุมความแน่นหรือหลวมหลอดแผลได้ยากกว่าการเย็บเป็นคำๆ (interrupted stitch)

6. Subcuticular suture เพื่อลดแรงตึงของผิวหนังด้านบน

    2. การผ่าตัดเนื้อเยื้ออ่อน คือ การผ่าตัดระบบอวัยวะภายในของสัตว์ป่วยแบ่งได้ 2 ประเภท 

        1. การผ่าตัดเล็กๆน้อยๆ ( Minor soft Tissue surgery)  ได้แก่ การทำหมัน การทำฟัน การตัดนิ้ว การตัดหาง หรือการตัดเนื้องอกเล็กๆ การผ่าคลอด เป็นต้น

        2. การผ่าตัดขนาดใหญ่ ( Major soft Tissue surgery) ได้แก่ การผ่าตัดช่องอกและกระบังลม การตัดต่อลำไส้ การแปลงเพศ การแก้ไขสภาวะกระเพาะบิด เป็นต้น

3. การผ่าตัดเนื้อเยื่อกระดูก หมายถึง การผ่าตัดโครงสร้างกระดูกร่างกายของสัตว์แต่ละประเภท

4.การติดตามสัญญาณชีพ หมายถึง การสังเกต และเฝ้าดูค่าสัญญาณชีพได้แก่ ค่าความดันโลหิต (Blood pressure) อุณหภูมิ (Temperature) ชีพจร (Pulse) และการหายใจ (Respiration) ของสัตว์ที่เข้ารับการผ่าตัด

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) แบบทดข้อสอบข้อเขียน

2) แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน

 



ยินดีต้อนรับ