หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมวัสดุอุปกรณ์การแพทย์และร่างกายสุขภาพสัตว์ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษาตามแผนการรักษาของนายสัตวแพทย์

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-JYKU-106B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมวัสดุอุปกรณ์การแพทย์และร่างกายสุขภาพสัตว์ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษาตามแผนการรักษาของนายสัตวแพทย์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการปฏิบัติงานด้านการพยาบาลสัตว์เลี้ยง อันได้แก่ การระบุความผิดปกติของสัตว์ป่วย การจัดเตรียมอุปกรณ์ยา เวชภัณฑ์ และวัสดุทางการแพทย์ ตามแผนการรักษาของนายสัตวแพทย์ การตรวจวัดสัญญาณชีพ การดำเนินการตามแผนการรักษาของนายสัตวแพทย์ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พยาบาลสัตว์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. มาตรฐานสถานประกอบการสัตวในประเทศไทย พ.ศ. 25532. หลักและแนวปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล พ.ศ. 25553. พระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 25454. คู่มือประกอบเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 2553 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10201.01

เตรียมอุปกรณ์ทางการแพทย์และสถานที่ 

เตรียมยา เวชภัณฑ์และวัสดุทางการแพทย์ 

10201.01.01 214258
10201.01

เตรียมอุปกรณ์ทางการแพทย์และสถานที่ 

เตรียมสถานทีเพื่อรองรับการเข้ารับการรักษาสัตว์ป่วยตามแผนการรักษา

10201.01.02 214259
10201.01

เตรียมอุปกรณ์ทางการแพทย์และสถานที่ 

เตรียมบุคลากรและเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองในห้องผ่าตัด ให้เป็นไปตามหลักการปลอดเชื้อ

10201.01.03 214260
10201.02

เคลื่อนย้ายสัตว์ป่วย

เตรียมอุปกรณ์ เตียง ในการเคลื่อนย้ายสัตว์ได้อย่างถูกต้อง

10201.02.01 214261
10201.02

เคลื่อนย้ายสัตว์ป่วย

เคลื่อนย้ายสัตว์ป่วยโดยใช้เส้นทางในการเคลื่อนย้ายได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

10201.02.02 214262
10201.03

เตรียมสัตว์ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษา

เตรียมตัวสัตว์ป่วยก่อนเข้ารับการตรวจในห้องตรวจ

10201.03.01 214263
10201.03

เตรียมสัตว์ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษา

ตรวจวัดสัญญาณชีพสัตว์ป่วย 

10201.03.02 214264
10201.03

เตรียมสัตว์ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษา

คัดกรองประเมินสัตว์ป่วยเบื้องต้น

10201.03.03 214265
10201.03

เตรียมสัตว์ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษา

รายงานผลการตรวจคัดกรองให้นายสัตวแพทย์ทราบ

10201.03.04 214266
10201.04

ดูแลสัตว์ป่วยหลังการผ่าตัด

ติดตามสัญญาณชีพหลังการผ่าตัดตามที่ได้รับมอบหมายจากนายสัตวแพทย์

10201.04.01 214267
10201.04

ดูแลสัตว์ป่วยหลังการผ่าตัด

ดูแล (ป้อนยา อาหาร) ให้แก่สัตว์ป่วย และติดตามอาการสัตว์ป่วยหลังได้รับการรักษาตามแผนการรักษา

10201.04.02 214268
10201.04

ดูแลสัตว์ป่วยหลังการผ่าตัด

รายงานผลการติดตามอาการสัตว์ป่วย

10201.04.03 214269

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้และทักษะทางด้านการพยาบาลสัตว์


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการดูแลสัตว์ป่วยในโรคต่างๆ

2. มีทักษะทางด้านการใช้อุปกรณ์ตรวจสัญญาณชีพ

3. มีทักษาะในด้านการเตรียมอุปกรณ์ เวชภัณฑ์ และวัสดุทางการแพทย์

4. มีทักษะในการคัดกรองสัตว์

5. มีทักษะในการให้ยาระงับประสาท

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับหลักการตรวจร่างกายและคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นทั่วไป

2. ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือวัดสัญญาณชีพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

3. ความรู้ทางด้านระบบสรีวิทยาของร่างกายสัตว์เลี้ยง

4. ความรู้ทางด้านอธิบายการเกิดโรคภาวะต่างของสัตว์

5. ความรู้ทางด้านหลักและแนวปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. ใบบันทึกจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน

    2. เอกสารรับรองผลงานและความรู้ความสามารถที่ผ่านมา (ถ้ามี)

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. ผลการทดสอบความรู้

    2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง    

    3. วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร หรือใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี)

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

    (ง) วิธีการประเมิน

    1. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้และ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

การทำงานสนับสนุนงานตามแผนการรักษา ภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแล ของนายสัตวแพทย์

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. การวัดสัญญาณชีพ หมายถึงการประเมินสุขภาพของสัตว์ป่วยเบื้องต้น ได้แก่การตรวจวัดน้ำหนักตัวการตรวจวัดอุณหภูมิ การตรวจดูสีเหงือกการตรวจวัดการไหลเวียนของเส้นเลือดฝอยการตรวจวัดภาวะขาดน้ำและภาวะบวมน้ำการตรวจวัดอัตราการหายใจการตรวจวัดชีพจร

2. บันทึกและรายงานข้อมูลการติดตามสัตว์ป่วยค้างคืน หมายถึง การจดบันทึกปริมาณ อาหาร น้ำเกลือ การตรวจวัดสัญญาณชีพ อาการ และพฤติกรรมลงทะเบียนของสัตว์ป่วย

3. การเตรียมอุปกรณ์ เวชภัณฑ์ วัสดุทางการแพทย์ หมายถึง การเตรียม อุปกรณ์ วัสดุทางการแพทย์ ตามการผ่าตัดและประเภทของสัตว์ภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแล ของนายสัตวแพทย์

4. เตรียมตัวสัตว์ป่วยก่อนการผ่าตัด คือ การเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายสัตว์ป่วย ทำความสะอาดร่างกายสัตว์ ดำเนินการเตรียมพื้นที่ร่างกายสัตว์ในการผ่าตัด(ตัดแต่งขน) ตรวจประเมินร่างกายเบื้องต้น ลักษณะทางร่างกาย สัญญาณชีพ ก่อนการผ่าตัด

5. เตรียมห้องผ่าตัด อุปกรณ์ เครื่องมือแพทย์ และบุคลากรในห้องผ่าตัดหมายถึง ดำเนินการจัดเตรียมห้องผ่าตัด อุปกรณ์ เครื่องมือแพทย์ ตามประเภทการผ่าตัด และผ่านกระบวนฆ่าเชื้อ และการเตรียมเครื่องแต่งกาย ถุงมือ หมวก เสื้อคลุม รองเท้า ที่ผ่านการฆ่าเชื้อให้แก่บุคลากร ที่ต้องดำเนินการผ่าตัดให้แก่สัตว์ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด

6. เตรียมสถานที่เพื่อเข้ารับการรักษา หมายถึง การเตรียมสถานที่ เช่น เตียงตรวจ กรงพักค้างคืนสัตว์ สถานที่ทำแผลตามแผนการรักษาของสัตว์ป่วยตามคำสั่งของนายสัตวแพทย์

7. เตรียมสัตว์ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษา หมายถึงการ เตรียมตัวสัตว์ป่วย เช่น การโกนขน การใส่อุปกรณ์เพื่อจับบังคับ ตามแผนการรักษาของนายสัตวแพทย์

8. เคลื่อนย้ายสัตว์ป่วย หมายถึง การพยุง ประคอง เข็น ยก จับบังคับ สัตว์ป่วยที่มีความปลอดภัยไปในพื้นที่ที่เข้ารับการรักษาตามแผนการรักษาของสัตว์ป่วย

9. หลักการปลอดเชื้อ หมายถึง การทำความสะอาดเพื่อกำจัดหรือทำลายเชื้อจุลชีพทุกชนิดรวมทั้งสปอร์ของเชื้อแบคทีเรีย

10. การติดตามสัญญาณชีพ หมายถึง การสังเกต และเฝ้าดูค่าสัญญาณชีพได้แก่ ค่าความดันโลหิต (Blood pressure) อุณหภูมิ (Temperature) ชีพจร (Pulse) และการหายใจ (Respiration) ของสัตว์ป่วย

11. ติดตามอาการสัตว์ป่วยหลังการผ่าตัด หมายถึง การเฝ้า สังเกต อาการแสดงของสัตว์ป่วยหลังการผ่าตัด เช่น ลักษณะของแผล อาการแสดงระหว่างการพักฟื้นของสัตว์ป่วย

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) แบบทดข้อสอบข้อเขียน

2) แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน

 



ยินดีต้อนรับ