หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

รายงานข้อมูลกิจวัตรประจำวันของสัตว์ป่วยเบื้องต้นเกี่ยวกับสัตว์ป่วยที่พักรักษาในสถานประกอบการให้นายสัตวแพทย์และพยาบาลสัตว์

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-UIYG-084B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ รายงานข้อมูลกิจวัตรประจำวันของสัตว์ป่วยเบื้องต้นเกี่ยวกับสัตว์ป่วยที่พักรักษาในสถานประกอบการให้นายสัตวแพทย์และพยาบาลสัตว์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

-



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการปฏิบัติงานสนับสนุนด้านการสื่อสาร ภายใต้การควบคุม กำกับ ดูแลของนายสัตวแพทย์ อันได้แก่ เฝ้าสังเกตอาการสัตว์ป่วยขณะนอนพักในสถานประกอบการ การจดบันทึกอาการแสดง และสิ่งผิดปกติที่พบของสัตว์ป่วย และรายงานอาการและสิ่งผิดปกติให้พยาบาลสัตว์และนายสัตวแพทย์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ช่วยพยาบาลสัตว์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ.25452. คู่มือประกอบเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 2553 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10107.01

แจ้งข้อมูลกิจวัตรประจำวันขเบื้องต้นของสัตว์ป่วยแก่พยาบาลสัตว์และนายสัตวแพทย์ขณะนอนพักในสถานประกอบการ

สังเกตอาการสัตว์ป่วยขณะนอนพักในสถานประกอบการ(ปริมาณอาหาร การขับถ่าย การนอนหลับ)

10107.01.01 214236
10107.01

แจ้งข้อมูลกิจวัตรประจำวันขเบื้องต้นของสัตว์ป่วยแก่พยาบาลสัตว์และนายสัตวแพทย์ขณะนอนพักในสถานประกอบการ

สื่อสารข้อมูลเบื้องต้นของสัตว์ป่วยขณะนอนพักในสถานพยาบาลแก่ พยาบาลสัตว์ และนายสัตวแพทย์

10107.01.02 214237
10107.02

จดบันทึกกิจวัตรประจำวันและสิ่งผิดปกติที่พบของสัตว์ป่วย

สังเกตอาการแสดงและสิ่งผิดปกติที่พบของสัตว์ป่วย

10107.02.01 214238
10107.02

จดบันทึกกิจวัตรประจำวันและสิ่งผิดปกติที่พบของสัตว์ป่วย

จดบันทึกอาการแสดงและสิ่งผิดปกติที่พบของสัตว์ป่วยแก่พยาบาลสัตว์และนายสัตวแพทย์

10107.02.02 214239
10107.03

รายงานอาการผิดปกติเบื้องต้นให้พยาบาลสัตว์และนายสัตวแพทย์ทราบ

รายงานอาการและสิ่งปกติให้พยาบาลสัตว์หรือนายสัตวแพทย์ทราบ

10107.03.01 214240
10107.03

รายงานอาการผิดปกติเบื้องต้นให้พยาบาลสัตว์และนายสัตวแพทย์ทราบ

ติดต่อประสานงานพยาบาลสัตว นายสัตวแพทย์ เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

10107.03.02 214241

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความรู้และทักษะด้านจรรยาบรรณอาชีพ

2. ความรู้และทักษะด้านการสื่อสาร

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    มีทักษะในการสื่อสารกับผู้อื่น

2.    มีทักษะในการต้อนรับและให้บริการแก่ผู้เข้ารับการบริการ

3.    มีทักษะในการลดความเสี่ยงจากการเกิดอันตรายจากสัตว์ป่วย

4.    มีทักษะในการทำงานตามหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณอาชีพ

2. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

3. ความรู้เกี่ยวกับหลักการให้บริการ (SERVICE)

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. ใบบันทึกจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน

    2. เอกสารรับรองผลงานและความรู้ความสามารถที่ผ่านมา (ถ้ามี)

    

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. ผลการทดสอบความรู้

    2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง    

    3. วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร หรือใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี)

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

    (ง) วิธีการประเมิน

    1. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้และ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

การทำงานของผู้ช่วยพยาบาลสัตว์ในทุกกระบวนการต้องทำงานภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแล ของนายสัตวแพทย์ พยาบาลสัตว์ และนักเทคนิคการสัตวแพทย์

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. เฝ้าสังเกตอาการสัตว์ป่วย หมายถึง การสังเกตอาการแสดงเบื้องต้นได้แก่ ปริมาณอาหาร ลักษณะการขับถ่าย การนอนหลับของสัตว์ป่วยที่พักค้างคืนในสถานประกอบการ 

2. สื่อสารข้อมูลเบื้องต้นหมายถึงการอธิบายและแจ้งข้อมูล ลักษณะอาการของสัตว์ป่วยเบื้องต้นขณะพักค้างคืนแก่ พยาบาลสัตว์ และนายสัตวแพทย์ 

3. อาการแสดง หมายถึงอาการผิดปกติที่เกิดจากการเจ็บป่วย  

4. การสื่อสารหมายถึงการสื่อสารเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อประสานงานในการสนับสนุนการทำงานการรักษาสัตว์ป่วย

5. การสังเกตกิจวัตรประจำวันของสัตว์ป่วย  หมายกึง การสังเกตปริมาณอาหารและน้ำที่สัตว์ได้รับ  รวมไปถึงปริมาณสิ่งขับถ่าย  และกิจวัตรประจำวันของสัตว์ป่วย

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) แบบทดข้อสอบข้อเขียน

2) แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน

 



ยินดีต้อนรับ