หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ช่วยนายสัตวแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคได้ถูกต้อง

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-CNQR-026B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ช่วยนายสัตวแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคได้ถูกต้อง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

-



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการปฏิบัติงานด้านการสนับสนุนการแพทย์ ภายใต้การควบคุม กำกับ ดูแลของนายสัตวแพทย์ อันได้แก่ การเตรียมอุปกรณ์ในการจับบังคับสัตว์ได้อย่างถูกต้องตามชนิดของสัตว์ป่วย การจับบังคับสัตว์ตามหลักการบังคับสัตว์ที่ถูกต้อง การคัดแยกประเภทอุปกรณ์ตามการใช้งาน และการทำความสะอาดตามประเภทการใช้งานอย่างเหมาะสม รวมถึงการเก็บรักษาตัวอย่าง และการจัดส่งตัวอย่างตามขั้นตอนการทำงานที่ถูกต้องเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ช่วยพยาบาลสัตว์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ผู้ช่วยพยาบาลสัตว์ 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ.25452. มาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข 25623.ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง กําหนดเครื่องมือ เครื่องใช้ ยา และเวชภัณฑ์ที่จําเป็นประจําสถานประกอบการสัตว์ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์สําหรับสถานประกอบการสัตว์ ชื่อสถานประกอบการสัตว์ลักษณะป้ายชื่อสถานประกอบการสัตว์ ป้ายชื่อผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์รายการอัตราค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการพ.ศ. 25584. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การเก็บตัวอย่างจากยา อาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สิ่งแวดล้อมหรือการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เพื่อประโยชน์ด้านการแพทย์และการสาธารณสุขที่เกี่ยวกับเชื้อโรคและพิษจากสัตว์พ.ศ. 25605. คู่มือประกอบเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 2553 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10104.01

ช่วยนายสัตวแพทย์จับบังคับสัตว์ในการตรวจได้อย่างปลอดภัย

เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการจับบังคับสัตว์ได้อย่างถูกต้องตามชนิดและขนาดของสัตว์ป่วย

10104.01.01 214216
10104.01

ช่วยนายสัตวแพทย์จับบังคับสัตว์ในการตรวจได้อย่างปลอดภัย

เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองระหว่างการตรวจได้ถูกต้อง

10104.01.02 214217
10104.01

ช่วยนายสัตวแพทย์จับบังคับสัตว์ในการตรวจได้อย่างปลอดภัย

สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันตนเองและสัตว์ระหว่างการตรวจ

10104.01.03 214218
10104.02

สนับสนุนนายสัตวแพทย์ในงานเก็บตัวอย่างจากสัตว์ป่วยจากห้องรักษาสู่ห้องปฏิบัติการได้

เตรียมวัสดุอุปกรณ์เพื่อเก็บตัวอย่างได้อย่างถูกต้อง

10104.02.01 214219
10104.02

สนับสนุนนายสัตวแพทย์ในงานเก็บตัวอย่างจากสัตว์ป่วยจากห้องรักษาสู่ห้องปฏิบัติการได้

เก็บรักษาตัวอย่างเพื่อรักษาคุณภาพตัวอย่างได้ถูกต้อง

10104.02.02 214220
10104.02

สนับสนุนนายสัตวแพทย์ในงานเก็บตัวอย่างจากสัตว์ป่วยจากห้องรักษาสู่ห้องปฏิบัติการได้

จัดส่งตัวอย่างตามขั้นตอนการทำงานที่ถูกต้องเหมาะสมตามชนิดของตัวอย่าง

10104.02.03 214221

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความรู้และทักษะการดูแลเครื่องมืออุปกรณ์พื้นฐาน

2. ความรู้และทักษะด้านการทำความสะอาดเครื่องมือเบื้องต้น

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ตามการใช้งานแต่ละประเภท

2. มีทักษะในการทำความสะอาดเครื่องมือและอุปกรณ์

3. มีทักษะในการควบคุมสัตว์

4. มีทักษะในการเก็บรักษาและจัดส่งตัวอย่างเพื่อรักษาคุณภาพตัวอย่าง

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการเก็บตัวอย่างพื้นฐาน

 2. ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกประเภทอุปกรณ์ตามการใช้งาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. ใบบันทึกจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน

    2. เอกสารรับรองผลงานและความรู้ความสามารถที่ผ่านมา (ถ้ามี)

     (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. ผลการทดสอบความรู้

    2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง    

    3. วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร หรือใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี)



    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง



    (ง) วิธีการประเมิน

    1. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้และ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

การทำงานของผู้ช่วยพยาบาลสัตว์ในทุกกระบวนการต้องทำงานภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแล ของนายสัตวแพทย์ พยาบาลสัตว์ และนักเทคนิคการสัตวแพทย์

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. การจับบังคับสัตว์ หมายถึง การบังคับสัตว์เพื่อเตรียมสภาพสัตว์ให้พร้อมสำหรับการตรวจ โดยใช้การจับบังคับด้วยมือหรืออุปกรณ์ช่วยในการบังคับสัตว์ เช่น สายคล้องหัว เชือก ภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแล ของนายสัตวแพทย์ พยาบาลสัตว์

2. การป้องกัน หมายถึง การป้องกันตนเองและสัตว์จากอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การป้องกันตนเองจากการคลุ้มคลั่งของสัตว์ การป้องกันสัตว์จากการบาดเจ็บต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการตรวจ ภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแล ของนายสัตวแพทย์ พยาบาลสัตว์

4. การเก็บรักษาตัวอย่าง หมายถึง การเก็บรักษาตัวอย่างที่ต้องการตรวจให้มีอายุการเก็บมากขึ้นและมีความปลอดภัย ซึ่งการเก็บรักษาตัวอย่างอาจมีการเก็บรักษาตัวอย่างโดยการแช่เย็น การเก็บในภาชนะที่ปิดมิดชิด ภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแล ของนายสัตวแพทย์ พยาบาลสัตว์นักเทคนิคการสัตวแพทย์

5. การจัดส่งตัวอย่าง หมายถึง การจัดส่งตัวอย่างจากสัตว์ที่มีการจัดส่งไปยังห้องปฏิบัติการ โดยการจัดส่งต้องมีการดำเนินการที่มีความปลอดภัยต่อผู้จัดส่ง และรักษาสภาพของตัวอย่างให้มีสภาพที่เหมาะสมในการตรวจ ภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแล ของนายสัตวแพทย์ พยาบาลสัตว์นักเทคนิคการสัตวแพทย์

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) แบบทดข้อสอบข้อเขียน

2) แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน

 



ยินดีต้อนรับ