หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมตัวสัตว์ป่วยเพื่อการทำหัตถการของนายสัตวแพทย์

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-JWLR-080B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมตัวสัตว์ป่วยเพื่อการทำหัตถการของนายสัตวแพทย์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

-



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการปฏิบัติงานทางด้านพยาบาล ดูแลสัตว์ป่วยภายใต้การควบคุม กำกับ ดูแลของนายสัตวแพทย์ เพื่อช่วยเหลือสนับสนุนทางด้านการรักษา อันได้แก่ การจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำหัตถการ การควบคุม จับบังคับสัตว์ในขณะป้อนยา หยอด หยด ทายา และทำความสะอาดบาดแผล การป้องกันตนเองและสัตว์ป่วยจากการติดเชื้อ การให้น้ำและอาหารประจำวัน รวมถึงการสังเกตพฤติกรรมอาการผิดปกติของสัตว์ป่วย และรายงานผลได้ตามความเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ช่วยพยาบาลสัตว์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. มาตรฐานสถานประกอบการสัตวในประเทศไทย พ.ศ. 25532. พระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 25453. ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง กําหนดเครื่องมือ เครื่องใช้ ยา และเวชภัณฑ์ที่จําเป็นประจําสถานประกอบการสัตว์ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์สําหรับสถานประกอบการสัตว์ ชื่อสถานประกอบการสัตว์ลักษณะป้ายชื่อสถานประกอบการสัตว์ ป้ายชื่อผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์รายการอัตราค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการ พ.ศ. 25584. กฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 25455. พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 25586. คู่มือประกอบเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 2553 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10103.01

เตรียมอุปกรณ์ป้องกันตนเองและสัตว์จากการแพร่กระจายเชื้อ

เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อได้ถูกต้องตามหลักการควบคุมโรค

10103.01.01 214203
10103.01

เตรียมอุปกรณ์ป้องกันตนเองและสัตว์จากการแพร่กระจายเชื้อ

เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันสัตว์จากการติดเชื้อได้ถูกต้องตามหลักการควบคุมโรค

10103.01.02 214204
10103.02

ทำความสะอาดสัตว์ป่วยเพื่อการทำหัตถการของนายสัตวแพทย์

แบ่งประเภทสัตว์ป่วยพักในกรงพักสัตว์ตามประเภทการป่วยและชนิดของสัตว์ตามมาตรฐาน

10103.02.01 214205
10103.02

ทำความสะอาดสัตว์ป่วยเพื่อการทำหัตถการของนายสัตวแพทย์

เลือกใช้อุปกรณ์การทำความสะอาดสัตว์ป่วย

10103.02.02 214206
10103.02

ทำความสะอาดสัตว์ป่วยเพื่อการทำหัตถการของนายสัตวแพทย์

ทำความสะอาดสัตว์ป่วยได้อย่างถูกวิธี

10103.02.03 214207
10103.02

ทำความสะอาดสัตว์ป่วยเพื่อการทำหัตถการของนายสัตวแพทย์

สังเกตพฤติกรรมหรืออาการผิดปกติขณะทำความสะอาดสัตว์และรายงานข้อมูลเบื้องต้นของสัตว์ป่วยแก่นายสัตวแพทย์

10103.02.04 214208
10103.03

สนับสนุนงานนายสัตวแพทย์และพยาบาลสัตว์ในการทำหัตถการ

เตรียมอุปกรณ์เพื่อทำความสะอาดแผลถูกต้อง ครบถ้วน

10103.03.01 214209
10103.03

สนับสนุนงานนายสัตวแพทย์และพยาบาลสัตว์ในการทำหัตถการ

ควบคุมจับบังคับสัตว์ในขณะทำหัตถการได้อย่างถูกต้อง

10103.03.02 214210
10103.03

สนับสนุนงานนายสัตวแพทย์และพยาบาลสัตว์ในการทำหัตถการ

ทำหัตถการตามขั้นตอนที่นายสัตวแพทย์กำหนดได้ภายใต้การควบคุม กำกับ ดูแลของนายสัตวแพทย์

10103.03.03 214211
10103.04

ดูและให้อาหารและน้ำตามประเภทของสัตว์ป่วย

จัดเตรียมอาหารและน้ำแก่สัตว์ป่วย 

10103.04.01 214212
10103.04

ดูและให้อาหารและน้ำตามประเภทของสัตว์ป่วย

ให้น้ำและอาหารประจำวัน 

10103.04.02 214213
10103.04

ดูและให้อาหารและน้ำตามประเภทของสัตว์ป่วย

สังเกตพฤติกรรมอาการผิดปกติของสัตว์ป่วยในขณะทานอาหารและน้ำ

10103.04.03 214214
10103.04

ดูและให้อาหารและน้ำตามประเภทของสัตว์ป่วย

รายงานผลปริมาณอาหารและน้ำที่สัตว์ป่วยได้รับตามความเหมาะสม

10103.04.04 214215

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความรู้และทักษะการดูแลสัตว์ป่วยพื้นฐาน

2. ความรู้และทักษะด้านการทำความสะอาดเครื่องมือเบื้องต้น

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ในการรักษา การผ่าตัด และการดูแล

2. มีทักษะในการทำความสะอาดเครื่องมือและอุปกรณ์

3. มีทักษะในการควบคุมสัตว์

4. มีทักษะในการสังเกตพฤติกรรมหรืออาการผิดปกติของสัตว์ป่วย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการทำความสะอาดแผล

2. ความรู้เกี่ยวกับการระวังและป้องกันโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน

3. มีความรู้ในการจัดการในกรณีฉุกเฉินระหว่างการทำหัตถการได้

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. ใบบันทึกจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน

    2. เอกสารรับรองผลงานและความรู้ความสามารถที่ผ่านมา (ถ้ามี)

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. ผลการทดสอบความรู้

    2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง    

    3. วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร หรือใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี)

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

    (ง) วิธีการประเมิน

    1. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้และ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

1.    คำแนะนำ 

การทำงานของผู้ช่วยพยาบาลสัตว์ในทุกกระบวนการต้องทำงานภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแล ของนายสัตวแพทย์ พยาบาสัตว์ และนักเทคนิคการสัตวแพทย์

2.    คำอธิบายรายละเอียด

1.    การป้อนยา หมายถึง การดำเนินการให้ยาแก่สัตว์ โดยวิธี ป้อนยาน้ำ หยอดยา ยาเม็ด ซ่อนยาเม็ดในอาหาร ภายใต้การควบคุม กำกับ ดูแล ของนายสัตวแพทย์ พยาบาลสัตว์

2.    การทายา หมายถึง ดำเนินการใช้ยาชนิดทาภายนอก ยาหยอดหู ยาป้ายตา ตามวิธีการในแต่ละประเภทของยา ภายใต้การควบคุม กำกับ ดูแลของนายสัตวแพทย์ พยาบาลสัตว์

3.    ทำความสะอาดแผล หมายถึง การจัดเตรียมอุปกรณ์ทำแผล ภายใต้การควบคุม กำกับ ดูแลของนายสัตวแพทย์ พยาบาลสัตว์ และการจับบังคับสัตว์หรือใส่อุปกรณ์การดูแลแผล

4.    การป้องกันตนเอง หมายถึง การป้องกันตนเองจากอันตรายต่างๆ เช่น โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนการสัมผัสสัตว์ขณะบังคับสัตว์ ภายใต้การควบคุม กำกับ ดูแลของนายสัตวแพทย์พยาบาลสัตว์

5.    การสังเกตพฤติกรรมหมายถึง การสังเกตพฤติกรรมของสัตว์ระหว่างการทำความสะอาด การทานอาหารและน้ำเกี่ยวกับอาการผิดปกติ ภายใต้การควบคุม กำกับ ดูแลของนายสัตวแพทย์ พยาบาลสัตว์

6.    การจัดเตรียมอาหาร หมายถึง การเตรียมอาหารที่เหมาะสมกับชนิดของสัตว์พวกอาหารเม็ด อาหารเปียก  ภายใต้การควบคุม กำกับ ดูแลของนายสัตวแพทย์ตามแผนการรักษา

7.    รายงานผลหมายถึงการรายงานผลปริมาณการให้อาหารและน้ำแก่สัตว์ป่วย ภายใต้การควบคุม กำกับ ดูแลของนายสัตวแพทย์ พยาบาลสัตว์

8.    การทำหัตถการ หมายถึง การช่วยเหลือนายสัตวแพทย์ในการป้อน หยอด หยด ทายา และทำความสะอาดบาดแผลสัตว์ป่วยเบื้องต้น

9.    หลักการควบคุมโรค หมายถึง กลวิธีในการป้องกัน ควบคุมโรค การคัดกรองหรือตรวจจับสัตว์ป่วยว่าป่วย (Screening) การหยุดยั้ง/ สกัดกั้น (Containment) การติดตามผู้สัมผัส (Contact tracing)

การแยกกัก (Isolation) การกักกัน (Quarantine) การทำลายเชื้อ (Disinfection) การทำลายแมลง/ สัตว์นำโรค (Disinsection)

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) แบบทดข้อสอบข้อเขียน

2) แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน

 



ยินดีต้อนรับ