หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมคุณภาพการผลิตผ้าบาติก

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-QTNF-416B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมคุณภาพการผลิตผ้าบาติก

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 7316 ช่างเขียนลายผ้าบาติก

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 7318 คนทำผ้าบาติก

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ครอบคลุมการตรวจสอบคุณภาพของผ้าบาติก ตรวจสอบลวดลาย และตรวจสอบความเรียบร้อยของลวดลายผ้าบาติก และสามารถตรวจสอบสี รวมถึงความเรียบร้อยของสีผ้าบาติกได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ผลิตผ้าบาติก หรือ ปาเต๊ะ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10161

ตรวจสอบคุณภาพก่อนการผลิตผ้าบาติก

1.1 ตรวจสอบสถานที่ วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ผลิตผ้าบาติกเทคนิคเขียนเทียน - พิมพ์ลาย

10161.01 214439
10161

ตรวจสอบคุณภาพก่อนการผลิตผ้าบาติก

1.2 ตรวจสอบขั้นตอนการเตรียมผ้า 

10161.02 214440
10161

ตรวจสอบคุณภาพก่อนการผลิตผ้าบาติก

1.3 ตรวจสอบสูตรน้ำเทียนที่ใช้ในการผลิตผ้าบาติกเทคนิคเขียนเทียน - พิมพ์ลาย

10161.03 214441
10161

ตรวจสอบคุณภาพก่อนการผลิตผ้าบาติก

1.4 ตรวจสอบคุณภาพสีที่ใช้ในการผลิตผ้าบาติกเทคนิคเขียนเทียน - พิมพ์ลาย

10161.04 214442
10612

ตรวจสอบคุณภาพระหว่างผลิตผ้าบาติก

2.1 ตรวจสอบขั้นตอนการเขียนลายและพิมพ์ผ้าบาติก

10612.01 214443
10612

ตรวจสอบคุณภาพระหว่างผลิตผ้าบาติก

2.2 ตรวจสอบขั้นตอนการลงสีผ้าบาติกเทคนิคเขียนเทียน - พิมพ์ลาย

10612.02 214444
10612

ตรวจสอบคุณภาพระหว่างผลิตผ้าบาติก

2.3 ตรวจสอบขั้นตอนการลอกเทียน และการแช่ผ้าในน้ำด้วยสารช่วยติดสี

10612.03 214445
10613

ตรวจสอบคุณภาพหลังการผลิตผ้าบาติก

3.1 ตรวจสอบการตัดแต่งผ้าให้เรียบร้อยก่อนนำออกจำหน่าย

10613.01 214446
10613

ตรวจสอบคุณภาพหลังการผลิตผ้าบาติก

3.2 ตรวจสอบการบรรจุหีบห่อ ติดฉลากให้เรียบร้อย


10613.02 214447

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  ทักษะเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพลวดลายและความเรียบร้อยของผ้าบาติก

2)  ทักษะเกี่ยวกับการตรวจสอบสีของผ้าบาติกและความเรียบร้อยของผ้าบาติก

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)  ความรู้เกี่ยวกับลวดลายของผ้าบาติก

2)  ความรู้เกี่ยวกับสีของผ้าบาติก


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับความรู้ที่ต้องการ (Knowledge Evidence) และหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 



(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1)  เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือผู้ว่าจ้าง หรือ

     2)  ผลงานประกอบการประเมิน หรือผลงานผ้าบาติก หรือชิ้นงาน

     3)  แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolios) หรือ



(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1)  หนังสือหรือเอกสารรับรองผลการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ที่ต้องการ หรือ

     2)  ใบประกาศนียบัตร



(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

     การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ



(ง) วิธีการประเมิน

     เทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ (RESK : Recognition of Existing Skills and Knowledge)


15. ขอบเขต (Range Statement)

 (ก)  คำแนะนำ 

   การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ



(ข)  คำอธิบายรายละเอียด

1) ตรวจสอบคุณภาพ หมายถึง คุณลักษณะที่ต้องการตามสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มาตรฐานอุตสาหกรรมเอส ผ้าบาติก (มอก. เอส 149-2565)

    1.1) ลักษณะทั่วไป ต้องสะอาดและอยู่ในสภาพเรียบร้อย มีสีและลวดลายสวยงามผสม

ผสานกลมกลืนตลอดทั้งผืนผ้า เส้นเทียนต้องคมชัดทั้งด้ำนหน้ำและด้ำนหลังของผืนผ้ำ ยกเว้นผ้ำที่มีผิวสัมผัสไม่เรียบ เช่น ผ้าฝ้ายปั่นมือ ผ้าใยกัญชงต้องไม่มีข้อบกพร่องที่เกิดจากการทำที่อาจส่งผลเสียหายต่อการใช้งานให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น การลงสีไม่สม่ำเสมอ มีรอยด่ำง

    1.2) ลักษณะเฉพาะต้องมีลักษณะเฉพาะของผ้าบาติก คือ สามารถมองเห็นลวดลายทั้ง 2 ด้าน ยกเว้นผ้าที่มีผิวสัมผัสไม่เรียบ เช่นผ้าฝ้ายปั่นมือ ผ้ำใยกัญชงเมื่อตรวจสอบตามข้อ 8.2 แล้วผลการตรวจสอบลักษณะทั่วไป และลักษณะเฉพาะต้องผ่านการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบทุกคน โดยต้องไม่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งไม่ผ่าน

    1.3) ชนิดเส้นใยหรือชนิดเส้นใยของผ้าที่ใช้ทำต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้ที่ฉลากการทดสอบให้ปฏิบัติ ตามข้อ 8.3

    1.4) สีเอโซที่ให้อะโรแมติกแอมีน 24 ตัว (ยกเว้นสีย้อมธรรมชาติ) (รายละเอียดดังภาคผนวก ก. ของ มอก. 2231) อะโรแมติกแอมีนแต่ละตัวต้องไม่เกิน 30 mg/kg การทดสอบให้ปฏิบัติตาม ISO 14362 Part 1

    1.5) การเปลี่ยนแปลงขนาดภายหลังการซักและทำให้แห้งต้องไม่เกิน 10 % การทดสอบให้ปฏิบัติตามมอก. 121 เล่ม 21 โดยใช้เครื่องซักผ้าแบบ ก. (เครื่องซักผ้ำแบบบรรจุด้านหน้า) เลขที่วิธีทดสอบเทียบเท่าการซักด้วยมือ และทำให้แห้งโดยวิธีแขวนราว

    1.6) ความคงทนของสีต่อการซักต้องไม่น้อยกว่าเกรย์สเกลระดับ 3 ทั้งการเปลี่ยนสีและการเปื้อนสี ยกเว้นกรณีย้อมสีธรรมชาติต้องไม่น้อยกว่าเกรย์สเกลระดับ 2-3 ทั้งการเปลี่ยนสีและการเปื้อนสีการทดสอบให้ปฏิบัติตามมอก.121 เล่ม 3 วิธีทดสอบ A (1)

    1.7) ความคงทนของสีต่อเหงื่อทั้งสภำพกรดและสภำพด่ำงต้องไม่น้อยกว่ำเกรย์สเกลระดับ 3 

ทั้งการเปลี่ยนสีและการเปื้อนสี ยกเว้นกรณีย้อมสีธรรมชำติต้องไม่น้อยกว่ำเกรย์ สเกลระดับ 2-3 ทั้งกำรเปลี่ยนสีและการเปื้อนสีการทดสอบให้ปฏิบัติตำม มอก.121 เล่ม 4

2) ขนาด ความกว้างและความยาว (ถ้ามี) ต้องไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ที่ฉลากการทดสอบให้ทำโดยการวัดด้วยเครื่องวัดเหมาะสมที่ละเอียดไม่น้อยกว่า 1 mm

3) สีของผ้าบาติก หมายถึง สีที่ใช้ในงานบาติกมีหลายชนิด ที่นิยมใช้ในปัจจุบันเป็นสีย้อมผ้าประเภทย้อมเย็น ละลายน้ำได้และมองเห็นสีโดยตรง โดยมากมักจะอยู่ในกลุ่มสีรีแอคทีฟเนื่องจากใช้สะดวก และมีกระบวนการไม่ยุ่งยาก

4) ผ้าบาติก (Batik) หรือ ผ้าบาเต๊ะ (Batek) หรือปาเต๊ะ เป็นคำที่ใช้เรียกผ้าชนิดหนึ่งที่มีวิธีการทำ 

ให้เกิดลวดลายที่เกิดจากการกั้นสีด้วยเทียน หรือวัสดุอื่นปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี แล้วนำไปแต้มระบายหรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสีเฉพาะเนื้อผ้าที่ไม่มีรอยเทียนหรือไม่ถูกกั้นสีเท่านั้น มีทั้งพิมพ์เทียน แต้มสี ระบายสี ย้อมสี 

ผ้าบาติกในแต่ละผืนนั้นจึงมีความสวยงามแตกต่างกัน 

5) ขั้นตอนการเตรียมผ้า ในการทำผ้าบาติกสามารถเลือกใช้ได้ทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหม เมื่อเตรียมผ้าตามขนาดที่ต้องการแล้วนำไปซักด้วยผงซักฟอกหรือต้มด้วยน้ำซดาอ่อน เพื่อให้แป้งที่เกาะผ้าอยู่หลุดออก จากนั้นนำไปตากแดดหรือผึ่งลมให้แห้ง และนำผ้ามาซึงบนแฟรมให้แน่น (ไม่ให้มีรอยย่น) อุปกรณ์ : ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผงซักฟอก โซดาไฟ สบูเทียม น้ำ หม้อต้ม

6) ขั้นตอนการพิมพ์ผ้า เป็นผ้าบาติกที่พิมพ์ลายโดยใช้แม่พิมพ์ที่ทำจากไม้ ทองแดง หรือโลหะชนิดอื่น โดยใช้แม่พิมพ์จุ่มเทียนที่กำลังร้อนพอเหมาะ และนำมาพิมพ์ลวดลายลงบนผ้า จากนั้นจึงแต้มสีหรือนำไปย้อมสีผ้าบาติกพิมพ์ลาย จะมีลวดลายที่ซ้ำกันเป็นแพทเทิร์น โดยช่างพิมพ์จะพิมพ์เทียนลงบนผ้าทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ทำให้ความคมชัดของลวดลายมีลักษณะเหมือนกันทั้งสองด้าน เมื่อนำไปย้อมสภาพของสีและลวดลายจะมีความสดใสเหมือนกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

7) ขั้นตอนการเขียนผ้า ผ้าบาติกเขียนลาย เป็นผ้าบาติกที่วาดลวดลายเส้นเทียนด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า จันติ้ง หรือปากกาเทียน โดยเขียนทั่วทั้งผืนในขณะที่เทียนกำลังร้อน ทำให้เทียนไหลติดซึมลงไปในเนื้อผ้า และไหลซึมผ่านเส้นใยของผ้าลงไปด้านหลัง ทำให้สามารถกันสีที่ระบาย ต้มหรือย้อมได้ และทำให้เกิดลวดลายขึ้น ผ้าบาติกเขียนลาย จึงเป็นผ้าที่มีลวดลายแบบอิสระ ไม่มีการวางภาพรูปแบบลวดลายสีสัน ดังนั้น จินตนาการและทักษะของช่างเขียนเทียนจึงมีความสำคัญ 

8) ชั้นตอนการลงสี ก่อนการลงสีผ้าช่างต้องพิจารณาและเก็บรายละเอียดต่าง (ก่อน เช่น รอยเทียนหยดส่วนเกิน รอยเทียนขาดหายตามลายพิมพ์ หากบนผ้ามีรอยเทียนหยดเกินต้องแก้ไขด้วยการนำน้ำอุ่นไปหยดและถูบริเวณนั้น หากบนผีนผ้ามีรอยพิมพ์ที่ขาดช่วงหรือมีรอยไม่ชัด ให้แก้ด้วยการใช้เทียนเหลวระบายซ่อมแซมรอย หลังจากนั้นใช้น้ำเปล่าระบายหมาด ๆ ลงบนผื่นผ้าเพื่อช่วยให้เนื้อสีที่ลงไปที่หลังสามารถกลิ้งไปมาได้และดูเนียนตา จากนั้นระบายสีที่ต้องการลงบนผ้าและรอให้สีแห้งสนิทแล้วนำไปตากให้แห้งทั้งหมด จากนั้นนำผ้าที่ตากแห่งสนิทแล้วมาจุ่มโซเดียมซิลิเกต (น้ำยาเคลีอบสี มีคุณสมบัติช้ทาเคลือบผ้าบาติกและมัดย้อม ทำให้สีติดผ้าคงทน ไม่หลุดออก) ให้ทั่วสีที่ลงบนผ้า แล้วพักไว้ประมาณ 3- 6 ชั่วโมงอุปกรณ์ : โครงไม้สำหรับงผ้า น้ำอุ่น โซเดียมซิลิเกต เทียนเหลว พู่กัน สี

9) ขั้นตอนการลอกเทียน หลังจากทิ้งผ้าไว้ 3- 6 ชั่วโมง หลังจุ่มโซเดียมซิลิเกต นำผ้ามาล้างด้วยน้ำเปล่า จากนั้นต้มน้ำและผงชักฟอกให้เดือด แช่ผ้ลงไปและใช้ม้คนให้ทั่วเพื่อให้เทียนหลุดออกจากผ้า จากนั้นนำผ้าที่ผ่านการต้มแล้วมาจุ่มน้ำเย็นพร้อมใช้มีอขยี้เพื่อให้แน่ใจว่าเทียนลอกออกจากผ้าจนหมด หากเทียนยังหลุดออกจากผ้าไม่หมดให้นำมาต้มและล้างด้วยน้ำเย็นอีกครั้ง จากนั้นนำผ้าไปตากให้แห้งและนำไปตัดเย็บขอบผ้าให้เรียบร้อย



(ค)  เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็น 

           N/A 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

พิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า และให้เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UOC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EOC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC)



ยินดีต้อนรับ