หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

แก้ปัญหาเบื้องต้นในการผลิตผ้าบาติก

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-LRJQ-415B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ แก้ปัญหาเบื้องต้นในการผลิตผ้าบาติก

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 7316 ช่างเขียนลายผ้าบาติก

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 7318 คนทำผ้าบาติก

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ครอบคลุมการแก้ปัญหาที่เกิดจากการเขียนเทียน หรือพิมพ์ลายผ้าบาติก และแก้ปัญหาที่เกิดจากการระบายสี หรือย้อมสีผ้าบาติก รวมทั้งการแก้ปัญหาที่เกิดจากการตกแต่งผ้าบาติกได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ผลิตผ้าบาติก หรือ ปาเต๊ะ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10151

แก้ปัญหาที่เกิดจากการเขียนเทียน หรือพิมพ์ลายผ้าบาติก

1.1 แก้ปัญหาที่เกิดจากการต้มเทียมได้อย่างถูกต้อง

10151.01 214433
10151

แก้ปัญหาที่เกิดจากการเขียนเทียน หรือพิมพ์ลายผ้าบาติก

1.2 แก้ปัญหาที่เกิดจากการเขียนเทียน หรือพิมพ์ลายผ้าบาติกได้อย่างถูกต้อง

10151.02 214434
10152

แก้ปัญหาที่เกิดจากการระบายสี หรือย้อมสีผ้าบาติก

2.1 แก้ปัญหาที่เกิดจากเตรียมสีเพื่อระบายหรือย้อมได้อย่างถูกต้อง

10152.01 214435
10152

แก้ปัญหาที่เกิดจากการระบายสี หรือย้อมสีผ้าบาติก

2.2 แก้ปัญหาที่เกิดจากการระบายสี หรือย้อมสีลงบนผ้าบาติกได้อย่างถูกต้อง

10152.02 214436
10153

แก้ปัญหาที่เกิดจากการตกแต่งผ้าบาติก

3.1 แก้ไขปัญหาจากการลอกเทียนออกจากผ้าบาติกได้อย่างถูกต้อง

10153.01 214437
10153

แก้ปัญหาที่เกิดจากการตกแต่งผ้าบาติก

3.2 แก้ไขปัญหาการตกแต่งหลังจากการระบายสีหรือย้อมสีผ้าบาติกได้อย่างถูกต้อง

10153.02 214438

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  ทักษะเกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่เกิดจากการเขียนเทียน

2)  ทักษะเกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่เกิดจากการพิมพ์ลายผ้าบาติก

3)  ทักษะเกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่เกิดจากการตกแต่งผ้าบาติก

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)  ความรู้เกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่เกิดจากการเขียนเทียน

2)  ความรู้เกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่เกิดจากการพิมพ์ลายผ้าบาติก

3)  ความรู้เกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่เกิดจากการตกแต่งผ้าบาติก


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับความรู้ที่ต้องการ (Knowledge Evidence) และหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 



(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   1)  เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือผู้ว่าจ้าง หรือ

   2)  ผลงานประกอบการประเมิน หรือผลงานผ้าบาติก หรือชิ้นงาน

   3)  แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolios) หรือ



(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1)  หนังสือหรือเอกสารรับรองผลการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ที่ต้องการ หรือ

    2)  ใบประกาศนียบัตร



(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

    การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ



(ง) วิธีการประเมิน

     เทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ (RESK : Recognition of Existing Skills and Knowledge)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ 

 การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ



(ข)  คำอธิบายรายละเอียด

1) ผ้าบาติก (Batik) หรือ ผ้าปาเต๊ะ (Batek) เป็นคำที่ใช้เรียกผ้าชนิดหนึ่งที่มีวิธีการทำให้เกิดลวดลายที่เกิดจากการกั้นสีด้วยเทียน หรือวัสดุอื่นปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี แล้วนำไปแต้มระบายหรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสีเฉพาะเนื้อผ้าที่ไม่มีรอยเทียนหรือไม่ถูกกั้นสีเท่านั้น มีทั้งพิมพ์เทียน แต้มสี ระบายสี ย้อมสี ผ้าบาติกในแต่ละผืนนั้นจึงมีความสวยงามแตกต่างกัน 

2) การเขียนลายผ้าบาติก คือ การออกแบบลวดลายบนกระดาษด้วยดินสอ เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงใช้ปากกาสีดำลากเส้นตามรอยดินสอเพื่อให้ลวดลายชัดเจนขึ้น นำเทียนที่เขียนบาติกซึ่งหลอมละลายให้เหลวแล้วมาทาลงขอบเฟรม โดยใช้แปรงจุ่มเทียน แล้วนำมาทาลงบนขอบเฟรมให้ทั่วทั้ง 4 ด้าน ระวังอย่าให้หนาเกินไป เพราะจะทำให้ผ้าหลุดร่นได้ง่าย หลังจากนั้นจึงนำผ้าไปติดบนเฟรมโดยใช้วัสดุหรือของแข็งหน้าเรียบ เช่น ก้นขวด เหรียญกดลงบนขอบเฟรมและถูเบาๆ ทีละด้าน ทั้ง 4 ด้านของกรอบเฟรม นำลายที่เตรียมไว้สอดไว้ใต้เฟรมผ้าที่ขึงตึง เพื่อทำการลอกลายลงบนผ้าด้วยดินสอ 2B ขึ้นไปใช้จันติ้งตักน้ำเทียนที่มีอุณหภูมิพอเหมาะ โดยตักน้ำเทียนเททิ้ง 2 - 3 ครั้ง เพื่อเป็นการปรับอุณหภูมิของจันติ้ง แล้วจึงทดลองเขียนบนเศษผ้า เพื่อให้แน่ใจว่าเส้นเทียนได้ขนาดตามต้องการลงสีที่ต้องการลงในลาย คล้ายเป็นการระบายสีลงในช่องว่างด้วยพู่กัน โดยให้น้ำหนักสีอ่อนแก่เพื่อสร้างมิติ ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการออกแบบลวดลาย เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสร้างเอกลักษณ์ให้กับผืนผ้าบาติก และจะเป็นพื้นฐานสำหรับการระบายสีและย้อมสี นอกจากนี้ยังมีการออกแบบลายสำหรับการพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์เพื่อพิมพ์เส้นเทียน ในกรณีที่ต้องการผลิตลวดลายต่อเนื่อง

3) การพิมพ์เทียนสำหรับผ้าบาติก มีขั้นตอนการพิมพ์เทียน 3 - 4 ประเภท ดังนี้

        3.1) พิมพ์ลายเส้น เช่น ลายขอบ ดอกลาย หรือลายพื้น

        3.2 พิมพ์เทียนเพื่อกันสีจากการแต้มสีและระบายลาย ก่อนจะนำไปย้อมสีครั้งที่ 1

        3.3) พิมพ์เทียนเพื่อเก็บสีพื้น นิยมเก็บเป็นลวดลาย เพื่อจะได้สีลวดลายเป็นสีย้อมครั้งแรก

แล้วจึงนำไปย้อมสีที่ 2

        3.4) พิมพ์เทียนเพื่อเก็บสีบางส่วน โดยเฉพาะในรายละเอียดก่อนที่จะนำผ้าไปย้อมสีครั้งที่ 3

เริ่มด้วยการนำแม่พิมพ์แช่ลงในนำเทียนเพียงแค่ระนาบของลวดลาย 30 วินาที ควบคุมให้ระนาบของแม่พิมพ์ขนานกับผิวน้ำเทียน เพื่อให้แม่พิมพ์อมความร้อนอย่างพอดีและความร้อนแพร่กระจายได้อย่างทั่วถึง เมื่อครบ 30 วินาที แล้วให้ยกขึ้น จากนั้นสลัดน้ำเทียนออกจากแม่พิมพ์ 2 - 3 ครั้งโดยการสลัดจะต้องเกร็งแขนหรือให้ยืดตรงเพื่อให้ได้แรงเหวี่ยงที่สม่ำเสมอ หลังจากนั้นจึงนำแม่พิมพ์มากดทาบลงบนผืนผ้า ค้างไว้ 1 - 2 วินาที แล้วจึงยกแม่พิมพ์ขึ้น

4) ตกแต่งผ้า หมายถึง การตกแต่งผ้าหลังการย้อม เพื่อป้องกันสีตกและซีดจางด้วยน้ำยากันสีตก และเพื่อช่วยให้ผ้าที่ย้อมสีแล้วมีความคงทนต่อการซักน้ำในระดับดี เป็นการเพิ่มคุณค่าและยกระดับมาตรฐานของผลิตภัณฑ์

        -  ผ้าที่ย้อมด้วยสีเคมี ให้ใช้โซเดียมซิลิเกตในการล็อกสี

        -  ผ้าที่ย้อมด้วยสีจากธรรมชาติ ให้ใช้สารส้มหรือเกลือในการล็อกสีทาสารล็อกสีให้ทั่วทั้งผืนผ้า ทิ้งไว้ให้สารล็อกสีแห้ง 4 - 5 ชั่วโมง ควรวางผ้าในแนวราบเท่านั้น เพื่อป้องกันสีไหลซึมเข้าหากัน

        -  เพิ่มความเรียบลื่นเป็นมันให้เนื้อผ้าด้วยการลงแป้ง มีส่วนผสมดังนี้ แป้งมันหรือแป้งข้าวเจ้า 1 ช้อนโต๊ะ น้ำเย็น 1 ถ้วยตวง น้ำเดือด 3 ถ้วยตวง กวนแป้งจนสุกเป็นสีขาวขุ่น จากนั้นให้นำผ้าลงแช่ในน้ำแป้ง 

1 - 2 ชั่วโมง เมื่อน้ำแป้งซึมเข้าเส้นใยอย่างทั่วถึงแล้วให้ยกขึ้น นำไปตากในที่ร่มให้แห้ง และนำไปรีดด้วยไฟปานกลาง



(ค)  เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็น 

           N/A 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

พิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า และให้เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UOC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EOC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC)



ยินดีต้อนรับ