หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้สีสังเคราะห์ในการผลิตผ้าบาติก

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-NJCC-414B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้สีสังเคราะห์ในการผลิตผ้าบาติก

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 7316 ช่างเขียนลายผ้าบาติก

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 7318 คนทำผ้าบาติก

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ครอบคลุมการเตรียมสีสังเคราะห์และสารช่วยติดสี เตรียมวัตถุดิบของสีสังเคราะห์ได้ถูกต้องตามสีที่ต้องการและตามชนิดของผ้า และสามารถใช้สีสังเคราะห์ในการแต้มลายผ้าบาติก และใช้สีสังเคราะห์ในการย้อมเพื่อผลิตผ้าบาติกได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ผลิตผ้าบาติก หรือ ปาเต๊ะ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10141

เตรียมสีสังเคราะห์และสารช่วยติดสีแบบสังเคราะห์

1.1 เตรียมวัตถุดิบของสีสังเคราะห์ได้ถูกต้องตามสีที่ต้องการ

10141.01 214423
10141

เตรียมสีสังเคราะห์และสารช่วยติดสีแบบสังเคราะห์

1.2 เตรียมวัตถุดิบของสีสังเคราะห์ได้ถูกต้องตามชนิดของผ้า

10141.02 214424
10141

เตรียมสีสังเคราะห์และสารช่วยติดสีแบบสังเคราะห์

1.3 เตรียมสารช่วยติดสีได้ถูกต้องตามสีสังเคราะห์ที่ใช้

10141.03 214425
10141

เตรียมสีสังเคราะห์และสารช่วยติดสีแบบสังเคราะห์

1.4 เตรียมสารช่วยติดสีได้ถูกต้องตามชนิดของผ้า

10141.04 214426
10142

ใช้สีสังเคราะห์ในการแต้มลายผ้าบาติก

2.1 ใช้ปริมาณสีสังเคราะห์ได้ถูกต้องตามสีและลวดลายที่ต้องการ

10142.01 214427
10142

ใช้สีสังเคราะห์ในการแต้มลายผ้าบาติก

2.2 ใช้ปริมาณสารช่วยติดสีได้ถูกต้อง

10142.02 214428
10142

ใช้สีสังเคราะห์ในการแต้มลายผ้าบาติก

2.3 แต้มลายผ้าบาติกด้วยสีธสังเคราะห์ได้ถูกต้องตามขั้นตอน

10142.03 214429
10143

ใช้สีสังเคราะห์ในการย้อมผ้าบาติก

3.1 ใช้ปริมาณสีสังเคราะห์ได้ถูกต้องตามสีที่ต้องการ

10143.01 214430
10143

ใช้สีสังเคราะห์ในการย้อมผ้าบาติก

3.2 ใช้ปริมาณสารช่วยติดสีได้ถูกต้อง

10143.02 214431
10143

ใช้สีสังเคราะห์ในการย้อมผ้าบาติก

3.3 ย้อมผ้าบาติกด้วยสีสังเคราะห์ได้ถูกต้องตามขั้นตอน

10143.03 214432

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  ทักษะเกี่ยวกับการใช้สีสังเคราะห์

2)  ทักษะเกี่ยวกับการใช้สารช่วยติดสี

3)  ทักษะเกี่ยวกับการใช้สีสังเคราะห์ในการแต้มลายผ้าบาติก

4)  ทักษะเกี่ยวกับการใช้สีสังเคราะห์ในการย้อมผ้าบาติก

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)  ความรู้เกี่ยวกับการเลือกสีสังเคราะห์

2)  ความรู้เกี่ยวกับเตรียมสารช่วยติดสี

3)  ความรู้เกี่ยวกับการเลือกสีสังเคราะห์ในการแต้มลายผ้าบาติก

4)  ความรู้เกี่ยวกับการเลือกสีสังเคราะห์ในการย้อมผ้าบาติก


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับความรู้ที่ต้องการ (Knowledge Evidence) และหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 



(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือผู้ว่าจ้าง หรือ

2)    ผลงานประกอบการประเมิน หรือผลงานผ้าบาติก หรือชิ้นงาน

3)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolios) หรือ



(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    หนังสือหรือเอกสารรับรองผลการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ที่ต้องการ หรือ

2)    ใบประกาศนียบัตร



(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

     การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ



(ง) วิธีการประเมิน

     เทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ (RESK : Recognition of Existing Skills and Knowledge)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ 

 การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ



(ข)  คำอธิบายรายละเอียด

1) ผ้าบาติก (Batik) หรือ ผ้าปาเต๊ะ (Batek) เป็นคำที่ใช้เรียกผ้าชนิดหนึ่งที่มีวิธีการทำให้เกิดลวดลายที่เกิดจากการกั้นสีด้วยเทียน หรือวัสดุอื่นปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี แล้วนำไปแต้มระบายหรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสีเฉพาะเนื้อผ้าที่ไม่มีรอยเทียนหรือไม่ถูกกั้นสีเท่านั้น มีทั้งพิมพ์เทียน แต้มสี ระบายสี ย้อมสี ผ้าบาติกในแต่ละผืนนั้นจึงมีความสวยงามแตกต่างกัน 

2) สีสังเคราะห์ หมายถึง การย้อมเย็น สีย้อมเย็น สีย้อมผ้าสามารถควบคุมคุณภาพของเนื้อผ้าได้ดีกว่า เพราะการย้อมเย็นเป็นวิธีการที่ถนอมเส้นใยผ้า และปลอดภัยเพราะว่าตัวสีย้อมเย็นมีสารเคมีที่น้อยกว่าการย้อมร้อน สารย้อมเย็นไม่มีส่วนผสมของกัมถัน ซึ่งปลอดภัยกับระบบทางเดินหายใจและการระคายเคื่องของผิวที่ดีกว่าการย้อมร้อน ผลึกของสีมีอนุภาพเล็กจึงซึมเข้าสู่เนื้อผ้าได้ดีกว่าเวลาปล่อยน้ำทิ้งจะมีสารตกค้างจะมีการตกค้างได้น้อยหรือไม่มีเลยจึงเป็นสาเหตุที่เลือกการย้อมเย็น ประเภทผ้าที่สามารถย้อมได้นั้นควรเป็นผ้าที่มีเส้นใยจากธรรมชาติ เช่น ผ้าผ้าย 

ผ้าลินนิน ผ้าคอทตอน ผ้าใยฟักทอง ใยไผ่ สามารถย้อมติดได้ หรือ ผ้าที่มีเส้นใยเป็นโปรตีน เช่น ผ้าไหมส่วนผ้าที่เป็น ไนลอน เอยอง เป็นโพลีเอสเตอร์ 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่สามารถ ย้อมติดแต่ถ้าหากเนื้อผ้ามีส่วนผสมของเส้นใยธรรมชาติ จะติดเฉพาะเส้นใย

3) สารช่วยย้อม คือ สารช่วยข้อมถือเป็นสิ่งจำเป็นในกระบวนการย้อม เนื่องจากเป็นตัวช่วยเร่งปฏิกิริยาให้สีซึมเข้าไปภายในเส้นใยได้เร็วขึ้น และ ทำให้สีติดทนทานสม่ำเสมอ สารช่วยข้อมที่สำคัญและใช้มากมักมีอยู่ 7 ชนิด ดังนี้ กรด ด่าง เกลือ สารที่ทำให้สีสม่ำเสมอ สารพา (Carriers) สารละลายอินทรีย์ สารรีดิวซ์ 

4) แต้มลายผ้าบาติก หรือ การระบายสี นำผ้าที่พิมพ์เทียนหรือเขียนเทียนขึงบนกรอบไม้ หรือโครงโต๊ะที่ไม่มีพื้นละลายสีจำนวนเล็กน้อยในน้ำปริมาณพอเหมาะก่อนลงสี ให้ใช้น้ำเปล่าระบายบนผ้าให้หมาด ๆ แล้วจึงลงสี 

ถ้าผ้ามีน้ำมากเกินไปให้ซับออก เริ่มจากแต้มสีเป็นส่วนๆ แยกเป็นสีๆ เช่น แต้มบริเวณดอกก็ควรแต้มดอกให้เสร็จทั้งผืนแล้วค่อยแต้มส่วนอื่น ๆ ตามลำดับการระบายสีควรแยกระบายเป็นส่วนๆ และเป็นสีๆ เช่น ระบายสีบริเวณที่เป็นใบ ก็ควรระบายสีลงบนจุดที่เป็นใบตลอดทั้งผืน เสร็จแล้วจึงระบายสีอื่นๆ หรือจุดอื่นๆ ต่อไปเทคนิคการระบายสีด้วยการไล่เฉดสีแบบสามมิติ คือการระบายสีเฉพาะบางส่วน แล้วปล่อยให้สีซึมแพร่กระจายออก สร้างน้ำหนักสีที่มีความเข้มหรือจาง หรือจะระบายสีด้วยการไล่สีจากสีหนึ่งไปยังอีกสีหนึ่งก็ได้ ควรระบายสีให้เข้มไว้ก่อน และระบายสีซ้ำในขณะที่สีชั้นแรกยังไม่แห้ง เพื่อป้องกันรอยด่าง เพราะหลังจากขั้นตอนการต้มเอาเทียนออก สีที่ระบายไว้จะจางลงประมาณ 30% เมื่อระบายสีเรียบร้อยแล้ว ให้วางกรอบไม้ในแนวนอนเสมอ เพื่อป้องกันสีไหลลงด้านล่าง

5) ย้อมผ้าบาติก สีย้อมมีอยู่หลายชนิด สีที่เหมาะกับการทำผ้าบาติกต้องใช้สีย้อมเย็น คือย้อมในน้ำสีที่มีอุณหภูมิประมาณ 30 องศาเซลเซียส และไม่ควรร้อนเกิน 40 องศาเซลเซียส ถ้าร้อนกว่านี้จะทำให้เทียนละลาย



(ค)  เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็น 

       N/A 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

พิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า และให้เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UOC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EOC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC)



ยินดีต้อนรับ