หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้สีธรรมชาติในการผลิตผ้าบาติก

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-QMKX-413B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้สีธรรมชาติในการผลิตผ้าบาติก

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 7316 ช่างเขียนลายผ้าบาติก

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 7318 คนทำผ้าบาติก

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ครอบคลุมการเตรียมสีธรรมชาติและสารช่วยติดสี โดยสามารถเตรียมวัตถุดิบของสีธรรมชาติได้ถูกต้องตามสีที่ต้องการ และถูกต้องตามชนิดของผ้า และสามารถเตรียมสารช่วยติดสีได้ถูกต้องตามสีธรรมชาติที่ใช้ เตรียมสารช่วยติดสีได้ถูกต้องตามชนิดของผ้า และใช้สีธรรมชาติในการแต้มลายผ้าบาติกได้ในปริมาณที่เหมาะสม และใช้ปริมาณสารช่วยติดสีได้ รวมทั้งแต้มลายผ้าบาติกด้วยสีธรรมชาติได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ผลิตผ้าบาติก หรือ ปาเต๊ะ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10131

เตรียมสีธรรมชาติและสารช่วยติดสีแบบธรรมชาติ

1.1 เตรียมวัตถุดิบของสีธรรมชาติได้ถูกต้องตามสีที่ต้องการ

10131.01 214414
10131

เตรียมสีธรรมชาติและสารช่วยติดสีแบบธรรมชาติ

1.2 เตรียมวัตถุดิบของสีธรรมชาติได้ถูกต้องตามชนิดของผ้า

10131.02 214415
10131

เตรียมสีธรรมชาติและสารช่วยติดสีแบบธรรมชาติ

1.4 เตรียมสารช่วยติดสีธรรมชาติได้ถูกต้องตามชนิดของผ้า

10131.03 214416
10132

ใช้สีธรรมชาติในการแต้มลายผ้าบาติก

2.1 ใช้ปริมาณสีธรรมชาติได้ถูกต้องตามสีและลวดลายที่ต้องการ

10132.01 214417
10132

ใช้สีธรรมชาติในการแต้มลายผ้าบาติก

2.2 ใช้ปริมาณสารช่วยติดสีได้ถูกต้อง

10132.02 214418
10132

ใช้สีธรรมชาติในการแต้มลายผ้าบาติก

2.3 แต้มลายผ้าบาติกด้วยสีธรรมชาติได้ถูกต้องตามขั้นตอน

10132.03 214419
10133

ใช้สีธรรมชาติในการย้อมผ้าบาติก

3.1 ใช้ปริมาณสีธรรมชาติได้ถูกต้องตามสีที่ต้องการ

10133.01 214420
10133

ใช้สีธรรมชาติในการย้อมผ้าบาติก

3.2 ใช้ปริมาณสารช่วยติดสีได้ถูกต้อง

10133.02 214421
10133

ใช้สีธรรมชาติในการย้อมผ้าบาติก

3.3 ย้อมผ้าบาติกด้วยสีธรรมชาติได้ถูกต้องตามขั้นตอน

10133.03 214422

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  ทักษะเกี่ยวกับการใช้สีธรรมชาติ

2)  ทักษะเกี่ยวกับการใช้สารช่วยติดสี

3)  ทักษะเกี่ยวกับการใช้สีธรรมชาติในการแต้มลายผ้าบาติก

4)  ทักษะเกี่ยวกับการใช้สีธรรมชาติในการย้อมผ้าบาติก

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)  ความรู้เกี่ยวกับการเลือกสีธรรมชาติ

2)  ความรู้เกี่ยวกับเตรียมสารช่วยติดสี

3)  ความรู้เกี่ยวกับการเลือกสารช่วยติดสีธรรมชาติในการแต้มลายผ้าบาติก

4)  ความรู้เกี่ยวกับการเลือกสีธรรมชาติในการย้อมผ้าบาติก


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับความรู้ที่ต้องการ (Knowledge Evidence) และหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 



(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือผู้ว่าจ้าง หรือ

2)    ผลงานประกอบการประเมิน หรือผลงานผ้าบาติก หรือชิ้นงาน

3)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolios) หรือ



(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    หนังสือหรือเอกสารรับรองผลการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ที่ต้องการ หรือ

2)    ใบประกาศนียบัตร



(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

    การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ



(ง) วิธีการประเมิน

     เทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ (RESK : Recognition of Existing Skills and Knowledge)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ 

 การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ



(ข)  คำอธิบายรายละเอียด

1) ผ้าบาติก (Batik) หรือ ผ้าปาเต๊ะ (Batek) เป็นคำที่ใช้เรียกผ้าชนิดหนึ่งที่มีวิธีการทำ ให้เกิดลวดลายที่เกิดจากการกั้นสีด้วยเทียน หรือวัสดุอื่นปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี แล้วนำไปแต้มระบายหรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสีเฉพาะเนื้อผ้าที่ไม่มีรอยเทียนหรือไม่ถูกกั้นสีเท่านั้น มีทั้งพิมพ์เทียน แต้มสี ระบายสี ย้อมสี ผ้าบาติกในแต่ละผืนนั้นจึงมีความสวยงามแตกต่างกัน 

2) สีธรรมชาติ คือ สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้งราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีย้อมได้ 2 กลุ่มคือการย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสีที่ได้จากพืชการย้อมร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารติดกับเส้นใยนอกจากนี้ การใช้พืชชนิดเดียวมาสกัดเอาสีย้อมแล้ว ยังมีการนำพืชหลายชนิดมาผสมกันเพื่อให้เกิดเฉดสีใหม่ขึ้น เช่น แก่นแกแลกับต้นครามให้สีเขียว ใบแคสดกับขมิ้นผงให้สีตองอ่อน ผลหมากสุกกับแก่นแกแลให้สีกากีแกมเหลือง และใบส้มป่อยกับขมิ้นให้สีเขียว เป็นต้น

3) สารช่วยติดสี คือ การเตรียมสารช่วยย้อม หรือสารช่วยติดสีและคงสภาพสี

    - ต้นกล้วยอ่อน สารช่วยติดสีที่จะทำให้ติด ในเส้นฝ้ายได้ดียิ่งขึ้น โดยหลังครบกำหนดเวลาต้มสกัดสีให้กล้วยที่ยังไม่ออกเครือ สับเป็นขึ้นลงไปในหม้อต้มรวมกับพืช วัตถุดิบให้สีและใช้เวลาต้มต่อประมาณ 30 นาที 

(ต้นกล้วยอ่อน 4 กิโลกรัม ต่อเส้นฝ้าย 1 กิโลกรัม)

    - เกลือแกง เป็นสารช่วยติดสีจะทำให้สีติดเส้นฝ้ายได้ง่ายขึ้น โดยในขั้นตอนการย้อมร้อนให้ใส่เกลือแกงลงในหม้อต้ม (เกลือแกง 200 กรัม ต่อเส้นฝ้าย 1 กิโลกรัม)

    - สารส้ม เป็นสารช่วยย้อมที่ช่วยจับยึดสีกับเส้นด้าย และช่วยให้สีสุดสว่างขึ้นมักใช้กับการย้อมด้วยพืชที่ให้เฉดสีเหลือง-เขียว เช่น แก่นเข แก่นขนุน ใบหูกวาง ดอกดาวเรื่อง เป็นต้น โดยในขั้นตอนการย้อมร้อนให้ใส่สารส้มลงในหม้อต้มในช่วงเวลา 30 นาทีสุดท้ายก่อนครบระยะเวลาการย้อมร้อน สารส้มจะช่วยให้ได้สีที่ชัด สว่าง และเข้มขึ้น (สารส้ม 50 กรัม ต่อเส้นฝ้าย 1 กิโลกรัม)

    - น้ำปูนใส (น้ำด่าง) ช่วยจับยึดสีกับเส้นด้ายและช่วยให้สดสว่างขึ้น มักใช้กับการย้อมด้วยพืชที่ให้เฉดสีน้ำตาล เช่น เปลือกประดู่ ฝึกคูน เปลือกมะพร้าวใบสะเดา เป็นต้น โดยในขั้นตอนการย้อมร้อนให้ใส่น้ำปูนใสผสมปูนขาวดิบ 1 กิโลกรัม กับน้ำสะอาด 10 ลิตร กวนให้เข้ากันและวางทิ้งไว้ให้ตกตะกอน นำเฉพาะน้ำใสมาใช้ หากผสมไว้

วันก่อนใช้ให้กวนใหม่ให้ทั่ว และทิ้งให้ตกตะกอนเช่นเดิม หากไม่กวนใหม่ค่า PH จะไม่เท่าน้ำส่วนบนและล่าง (น้ำด่าง 2 ลิตร ต่อเส้นฝ้าย 1 กิโลกรัม)

4) แต้มลายผ้าบาติก หรือ การระบายสี นำผ้าที่พิมพ์เทียนหรือเขียนเทียนขึงบนกรอบไม้ หรือโครงโต๊ะที่ไม่มีพื้นละลายสีจำนวนเล็กน้อยในน้ำปริมาณพอเหมาะก่อนลงสี ให้ใช้น้ำเปล่าระบายบนผ้าให้หมาด ๆ แล้วจึงลงสี 

ถ้าผ้ามีน้ำมากเกินไปให้ซับออก เริ่มจากแต้มสีเป็นส่วนๆ แยกเป็นสีๆ เช่น แต้มบริเวณดอกก็ควรแต้มดอกให้เสร็จทั้งผืนแล้วค่อยแต้มส่วนอื่น ๆ ตามลำดับการระบายสีควรแยกระบายเป็นส่วนๆ และเป็นสีๆ เช่น ระบายสีบริเวณที่เป็นใบ ก็ควรระบายสีลงบนจุดที่เป็นใบตลอดทั้งผืน เสร็จแล้วจึงระบายสีอื่นๆ หรือจุดอื่นๆ ต่อไปเทคนิคการระบายสีด้วยการไล่เฉดสีแบบสามมิติ คือการระบายสีเฉพาะบางส่วน แล้วปล่อยให้สีซึมแพร่กระจายออก สร้างน้ำหนักสีที่มีความเข้มหรือจาง หรือจะระบายสีด้วยการไล่สีจากสีหนึ่งไปยังอีกสีหนึ่งก็ได้ ควรระบายสีให้เข้มไว้ก่อน และระบายสีซ้ำในขณะที่สีชั้นแรกยังไม่แห้ง เพื่อป้องกันรอยด่าง เพราะหลังจากขั้นตอนการต้มเอาเทียนออก สีที่ระบายไว้จะจางลงประมาณ 30% เมื่อระบายสีเรียบร้อยแล้ว ให้วางกรอบไม้ในแนวนอนเสมอ เพื่อป้องกันสีไหลลงด้านล่าง

5) ย้อมผ้าบาติก หมายถึง การย้อมสีเป็นหัวใจของการทำผ้าบาติกควบคู่ไปกับการเขียนเทียน หลังจากขั้นตอนการวาดเส้นเทียนจะนำผ้าไปย้อมสีพื้น ผ้าบาติกหนึ่งผืนจะมีการย้อมสีสลับกับการพิมพ์ลายเทียน 2 - 3 ครั้ง เพื่อสร้างลวดลายที่มีมิติ คมชัด ทั้งนี้ ผลลัพธ์การย้อมสีจะขึ้นอยู่กับอากาศและอุณหภูมิด้วยการย้อมสีขึ้นอยู่กับการออกแบบว่าจะใช้สีเดียวหรือหลายสี ซึ่งควรมีการวางแผนอย่างรอบคอบการย้อมสีเดียวมักจะย้อมด้วยสีเข้มเพื่อให้ได้ลวดลายที่ชัดเจน สำหรับการย้อมหลายสี ให้ย้อมสีอ่อนแล้วทิ้งให้แห้งก่อนแล้วจึงนำไปเขียนเทียนทับ โดยไม่ต้องเอาเทียนที่เขียนไว้เดิมออก แล้วจึงนำไปย้อมสีที่สองซึ่งเข้มกว่าสีแรก ทิ้งให้เทียนแห้งแล้วจึงดำเนินการขั้นตอนเช่นเดียวกันไปจนกว่าจะครบสีที่ต้องการ ควรย้อมจากสีอ่อนไปหาสีเข้มเสมอการย้อมหลายสีในครั้งเดียว ทำได้โดยการใช้พู่กันจุ่มสีระบายไปที่บริเวณลวดลายที่ต้องการให้ได้สีที่แตกต่าง จากนั้นปล่อยไว้ให้สีแห้ง และระบายเทียนลงบนสีที่เขียนไว้ เมื่อนำไปย้อมสีทั้งผืนจะได้ลายผ้าสีพื้นและลวดลายซึ่งเป็นสีที่เขียนไว้ในครั้งแรก



(ค)  เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็น 

       N/A 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

พิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า และให้เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UOC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EOC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC)



ยินดีต้อนรับ