หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สร้างสรรค์ลายผ้าบาติกเทคนิคเขียนลายและพิมพ์ลาย

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-QXRS-412B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สร้างสรรค์ลายผ้าบาติกเทคนิคเขียนลายและพิมพ์ลาย

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 7316 ช่างเขียนลายผ้าบาติก

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 7318 คนทำผ้าบาติก

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ครอบคลุมการเตรียมผ้าและแบบลวดลายที่จะใช้ในการเขียนลายบนผ้าบาติก จัดวางลายผ้าและจัดองค์ประกอบบาติกลายเขียน ใช้จันติ้งสร้างลวดลายบนผ้าได้และสามารถควบคุมอุณหภูมิของน้ำเทียนได้ถูกต้อง  เลือกประเภทการพิมพ์เทียน เช่น พิมพ์ลายเส้น พิมพ์เทียนเพื่อกันสีจากการแต้มสีและระบายสี พิมพ์เทียนเพื่อเก็บสีพื้น พิมพ์เทียนเพื่อเก็บสีบางส่วน เตรียมผ้าและแบบลวดลายที่จะใช้ในการพิมพ์ลายเทียนบนผ้าบาติกลายพิมพ์ จัดวางลายผ้าและจัดองค์ประกอบสำหรับผ้าบาติกลายพิมพ์ ควบคุมเวลาขณะที่แม่พิมพ์แช่ลงในน้ำเทียนและพิมพ์ลายเทียนลงบนผ้า เลือกสูตรน้ำเทียนที่เหมาะสมกับเทคนิคการย้อมสี เตรียมน้ำเทียนหรือผสมเทียนสำหรับวาดลายเพื่อกันสีให้เกิดลวดลายก่อนที่จะนำไปย้อมสี เตรียมน้ำเทียนสำหรับปิดลาย เพื่อเก็บสีที่ย้อมหรือปิดพื้นที่ในส่วนที่ไม่ต้องการให้สีติด ควบคุมอุณหภูมิของน้ำเทียน เตรียมน้ำสำหรับลอกเทียนอกจากผ้า และทำความสะอาดผ้า และทำให้ผ้าแห้ง ตกแต่งผ้าหลังการย้อม เพื่อป้องกันสีตก และซีดจางเพื่อให้สีผ้ามีความคงทน และเก็บความเรียบร้อยของผ้าบาติกได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ผลิตผ้าบาติก หรือ ปาเต๊ะ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10121

เขียนลายผ้าบาติก

1.1 เตรียมผ้าและแบบลวดลายที่จะใช้ในการเขียนลายบนผ้าบาติก

10121.01 214400
10121

เขียนลายผ้าบาติก

1.2 จัดวางลายผ้าและจัดองค์ประกอบบาติกลายเขียน

10121.02 214401
10121

เขียนลายผ้าบาติก

1.3 ใช้จันติ้งสร้างลวดลายบนผ้าได้และสามารถควบคุมอุณหภูมิของน้ำเทียนได้ถูกต้อง

10121.03 214402
10122

พิมพ์ลายผ้าบาติก

2.1 เลือกประเภทการพิมพ์เทียน เช่น พิมพ์ลายเส้น พิมพ์เทียนเพื่อกันสีจากการแต้มสีและระบายสี พิมพ์เทียนเพื่อเก็บสีพื้น พิมพ์เทียนเพื่อเก็บสีบางส่วน

10122.01 214403
10122

พิมพ์ลายผ้าบาติก

2.2 เตรียมผ้าและแบบลวดลายที่จะใช้ในการพิมพ์ลายเทียนบนผ้าบาติกลายพิมพ์

10122.02 214404
10122

พิมพ์ลายผ้าบาติก

2.3 จัดวางลายผ้าและจัดองค์ประกอบสำหรับผ้าบาติกลายพิมพ์

10122.03 214405
10122

พิมพ์ลายผ้าบาติก

2.4 ควบคุมเวลาขณะที่แม่พิมพ์แช่ลงในน้ำเทียนและพิมพ์ลายเทียนลงบนผ้า

10122.04 214406
10123

เตรียมน้ำเทียนสำหรับผ้าบาติก

3.1 เลือกสูตรน้ำเทียนที่เหมาะสมกับเทคนิคการย้อมสี

10123.01 214407
10123

เตรียมน้ำเทียนสำหรับผ้าบาติก

3.2 เตรียมน้ำเทียนหรือผสมเทียนสำหรับวาดลายเพื่อกันสีให้เกิดลวดลายก่อนที่จะนำไปย้อมสี

10123.02 214408
10123

เตรียมน้ำเทียนสำหรับผ้าบาติก

3.3 เตรียมน้ำเทียนสำหรับปิดลาย เพื่อเก็บสีที่ย้อมหรือปิดพื้นที่ในส่วนที่ไม่ต้องการให้สีติด

10123.03 214409
10123

เตรียมน้ำเทียนสำหรับผ้าบาติก

3.4 ควบคุมอุณหภูมิของน้ำเทียน

10123.04 214410
10124

ลอกเทียนออกจากผ้าบาติก และตกแต่งผ้าบาติก

4.1 เตรียมน้ำสำหรับลอกเทียนอกจากผ้า และทำความสะอาดผ้า และทำให้ผ้าแห้ง

10124.01 214411
10124

ลอกเทียนออกจากผ้าบาติก และตกแต่งผ้าบาติก

4.2 ตกแต่งผ้าหลังการย้อม เพื่อป้องกันสีตก และซีดจางเพื่อให้สีผ้ามีความคงทน

10124.02 214412
10124

ลอกเทียนออกจากผ้าบาติก และตกแต่งผ้าบาติก

4.3 เก็บความเรียบร้อยของผ้าบาติก

10124.03 214413

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  ทักษะเกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบ

2)  ทักษะเกี่ยวกับการเตรียมน้ำเทียน

3)  ทักษะเกี่ยวกับเทคนิคการเขียนลายย้อมสี

4)  ทักษะเกี่ยวกับการลอกเทียนออกจากผ้าบาติกเทคนิคเขียนลายย้อมสี

5)  ทักษะเกี่ยวกับการตกแต่งผ้าบาติก

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)  ความรู้เกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบ

2)  ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมน้ำเทียน

3)  ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคเขียนลายย้อมสี

4)  ความรู้เกี่ยวกับการลอกเทียนออกจากผ้าบาติกเทคนิคเขียนลายย้อมสี

5)  ความรู้เกี่ยวกับการตกแต่งผ้าบาติก

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับความรู้ที่ต้องการ (Knowledge Evidence) และหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 



(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   1)    เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือผู้ว่าจ้าง หรือ

   2)    ผลงานประกอบการประเมิน หรือผลงานผ้าบาติก หรือชิ้นงาน

   3)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolios) หรือ



(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   1)    หนังสือหรือเอกสารรับรองผลการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ที่ต้องการ หรือ

   2)    ใบประกาศนียบัตร



(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

   การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ



(ง) วิธีการประเมิน

     เทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ (RESK : Recognition of Existing Skills and Knowledge)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ 

 การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ



(ข)  คำอธิบายรายละเอียด

1) ผ้าบาติก (Batik) หรือ ผ้าปาเต๊ะ (Batek) เป็นคำที่ใช้เรียกผ้าชนิดหนึ่งที่มีวิธีการทำให้เกิดลวดลายที่เกิดจากการกั้นสีด้วยเทียน หรือวัสดุอื่นปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี แล้วนำไปแต้มระบายหรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสีเฉพาะเนื้อผ้าที่ไม่มีรอยเทียนหรือไม่ถูกกั้นสีเท่านั้น มีทั้งพิมพ์เทียน แต้มสี ระบายสี ย้อมสี ผ้าบาติกในแต่ละผืนนั้นจึงมีความสวยงามแตกต่างกัน 

2) ผ้าบาติกเขียนลาย เป็นผ้าบาติกที่วาดลวดลายเส้นเทียนด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า จันติ้ง หรือปากกาเทียน โดยเขียนทั่วทั้งผืนในขณะที่เทียนกำลังร้อน ทำให้เทียนไหลติดซึมลงไปในเนื้อผ้า และไหลซึมผ่านเส้นใยของผ้าลงไปด้านหลัง ทำให้สามารถกันสีที่ระบาย ต้มหรือย้อมได้ และทำให้เกิดลวดลายขึ้น ผ้าบาติกเขียนลาย จึงเป็นผ้าที่มีลวดลายแบบอิสระ ไม่มีการวางภาพรูปแบบลวดลายสีสัน ดังนั้น จินตนาการและทักษะของช่างเขียนเทียนจึงมีความสำคัญ

3) เทคนิคลายเขียนย้อมสี เป็นผ้าบาติกที่ใช้เทคนิคการเขียนเทียน เพื่อกั้นสีหรือปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี และเพื่อสร้างรูปแบบลวดลาย หลังจากนั้นนำผ้าไปย้อมสี ในการย้อมสามารถทำให้หลากหลายสีได้ โดยเริ่มต้นจากการย้อมสีอ่อน เมื่อแช่ผ้าที่ย้อมไว้ตามกำหนดเวลา จะนำผ้าไปซักเพื่อนำกากสีที่ย้อมออก และหากต้องการให้ผ้าบาติกที่ย้อมมีหลายสี สามารถทำได้โดยนำผ้าที่ย้อมครั้งแรกที่ตากไว้จนแห้งสนิทมาเขียนลวดลายเส้นเทียนปิดทับลงไปอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเขียนเทียนเสร็จ นำไปย้อมสีเป็นครั้งที่ 2 และใช้เทคนิคเดียวกันในการย้อมสีครั้งต่อไป จนได้สีตามต้องการ

4) การเขียนลายเส้นเทียน หมายถึง การเขียนลายเส้นเทียนนั้น ต้องเขียนทั่วทั้งผืนในขณะที่เทียนกำลังร้อน ทำให้เทียนไหลติดซึมลงไปในเนื้อผ้า และไหลซึมผ่านเส้นใยของผ้าลงไปด้านหลัง ทำให้สามารถกันสีที่ระบาย ต้มหรือย้อมได้ และทำให้เกิดลวดลายขึ้น จะย้อมสีกี่ชั้นก็ตาม จะต้องเขียนเทียนปิดด้วยจันติ้งทุกครั้ง เริ่มด้วยการนำจันติ้งหรือปากกาเทียนตักน้ำเทียนที่ใจกลางหม้อบริเวณผิวน้ำเทียนด้านบน เพราะเป็นจุดที่น้ำเทียนมีอุณหภูมิคงที่สม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการตักน้ำเทียนบริเวณก้นหม้อเพราะจะมีเศษตะกอนที่ทำให้เส้นเทียนไม่สม่ำเสมอจากนั้นให้ลากจันติ้งหรือปากกาเทียนไปตามเส้นดินสอที่ร่างไว้ บางจุดอาจใช้แปรงหรือพู่กันระบายน้ำเทียนเป็นบริเวณกว้างตามที่ออกแบบไว้

5) การเขียนลายผ้าบาติก คือ การออกแบบลวดลายบนกระดาษด้วยดินสอ เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงใช้ปากกาสีดำลากเส้นตามรอยดินสอเพื่อให้ลวดลายชัดเจนขึ้น นำเทียนที่เขียนบาติกซึ่งหลอมละลายให้เหลวแล้วมาทาลงขอบเฟรม โดยใช้แปรงจุ่มเทียน แล้วนำมาทาลงบนขอบเฟรมให้ทั่วทั้ง 4 ด้าน ระวังอย่าให้หนาเกินไป เพราะจะทำให้ผ้าหลุดร่นได้ง่าย หลังจากนั้นจึงนำผ้าไปติดบนเฟรมโดยใช้วัสดุหรือของแข็งหน้าเรียบ เช่น ก้นขวด เหรียญกดลงบนขอบเฟรมและถูเบาๆ ทีละด้าน ทั้ง 4 ด้านของกรอบเฟรม นำลายที่เตรียมไว้สอดไว้ใต้เฟรมผ้าที่ขึงตึง เพื่อทำการลอกลายลงบนผ้าด้วยดินสอ 2B ขึ้นไปใช้จันติ้งตักน้ำเทียนที่มีอุณหภูมิพอเหมาะ โดยตักน้ำเทียนเททิ้ง 2 - 3 ครั้ง เพื่อเป็นการปรับอุณหภูมิของจันติ้ง แล้วจึงทดลองเขียนบนเศษผ้า เพื่อให้แน่ใจว่าเส้นเทียนได้ขนาดตามต้องการลงสีที่ต้องการลงในลาย คล้ายเป็นการระบายสีลงในช่องว่างด้วยพู่กัน โดยให้น้ำหนักสีอ่อนแก่เพื่อสร้างมิติ ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการออกแบบลวดลาย เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสร้างเอกลักษณ์ให้กับผืนผ้าบาติก และจะเป็นพื้นฐานสำหรับการระบายสีและย้อมสี นอกจากนี้ยังมีการออกแบบลายสำหรับการพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์เพื่อพิมพ์เส้นเทียน ในกรณีที่ต้องการผลิตลวดลายต่อเนื่อง

6) ผ้าบาติกพิมพ์ลาย เป็นผ้าบาติกที่พิมพ์ลายโดยใช้แม่พิมพ์ที่ทำจากไม้ ทองแดง หรือโลหะชนิดอื่น โดยใช้แม่พิมพ์จุ่มเทียนที่กำลังร้อนพอเหมาะ และนำมาพิมพ์ลวดลายลงบนผ้า จากนั้นจึงแต้มสีหรือนำไปย้อมสีผ้าบาติกพิมพ์ลาย จะมีลวดลายที่ซ้ำกันเป็นแพทเทิร์น โดยช่างพิมพ์จะพิมพ์เทียนลงบนผ้าทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ทำให้ความคมชัดของลวดลายมีลักษณะเหมือนกันทั้งสองด้าน เมื่อนำไปย้อมสภาพของสีและลวดลายจะมีความสดใสเหมือนกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

7) เทคนิคลายพิมพ์ย้อมสี คือ เป็นงานบาติกที่ต้องการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น ลักษณะเทคนิคการทำงานคล้ายบาติกลายเขียนย้อมสี แต่จะใช้วิธีการพิมพ์เทียนให้เกิดลวดลายแทนการเขียนด้วยปากกาเทียนจันติ้ง ลักษณะของแม่พิมพ์ที่ใช้จะทำด้วยโลหะประเภททองแดง ทองเหลือง สังกะสี ไม้ฉลุ หรืออาจจะ

ทำมาจากเชือก แม่พิมพ์หรือบล็อกพิมพ์ที่ทำจากโลหะเป็นแม่พิมพ์คุณภาพดี โดยเฉพาะทองแดงสามารถเก็บความร้อนและน้ำเทียนได้ดี และสามารถแสดงรายละเอียดได้มากกว่า หลังจากพิมพ์เทียนเรียบร้อยแล้วจะนำผ้าไปย้อมสีตามต้องการ การย้อมจะใช้เทคนิคเดียวกับบาติกลายเขียนย้อมสี

8) การพิมพ์เทียนสำหรับผ้าบาติก มีขั้นตอนการพิมพ์เทียน 3 - 4 ประเภท ดังนี้

        8.1) พิมพ์ลายเส้น เช่น ลายขอบ ดอกลาย หรือลายพื้น

        8.2 พิมพ์เทียนเพื่อกันสีจากการแต้มสีและระบายลาย ก่อนจะนำไปย้อมสีครั้งที่ 1

        8.3) พิมพ์เทียนเพื่อเก็บสีพื้น นิยมเก็บเป็นลวดลาย เพื่อจะได้สีลวดลายเป็นสีย้อมครั้งแรก

แล้วจึงนำไปย้อมสีที่ 2

        8.4) พิมพ์เทียนเพื่อเก็บสีบางส่วน โดยเฉพาะในรายละเอียดก่อนที่จะนำผ้าไปย้อมสีครั้งที่ 3

        เริ่มด้วยการนำแม่พิมพ์แช่ลงในนำเทียนเพียงแค่ระนาบของลวดลาย 30 วินาที ควบคุมให้ระนาบ

ของแม่พิมพ์ขนานกับผิวน้ำเทียน เพื่อให้แม่พิมพ์อมความร้อนอย่างพอดีและความร้อนแพร่กระจายได้อย่างทั่วถึง เมื่อครบ 30 วินาที แล้วให้ยกขึ้น จากนั้นสลัดน้ำเทียนออกจากแม่พิมพ์ 2 - 3 ครั้งโดยการสลัดจะต้องเกร็งแขนหรือให้ยืดตรงเพื่อให้ได้แรงเหวี่ยงที่สม่ำเสมอ หลังจากนั้นจึงนำแม่พิมพ์มากดทาบลงบนผืนผ้า ค้างไว้ 1 - 2 วินาที แล้วจึงยกแม่พิมพ์ขึ้น

9) การจัดวางลายผ้าบาติก คือ การวางลายผ้าบาติกตามแบบดั้งเดิมนั้น มีวิธีการวางลายในขณะที่พิมพ์เทียนลงบนผ้า 5 แบบ หมายถึง 

       9.1) การวางลายแบบปารัง คือ วางลายด้วยการพิมพ์ในโครงสร้างของเส้นทแยงมุมและสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน โดยพิมพ์ทีละแถวเรียงไปทางขวาจนหมดแถว แล้วจึงพิมพ์ขึ้นด้านบน

       9.2) การวางลายแบบเบอร์ปูตา คือ วางลายด้วยวิธีพิมพ์ลายที่ใช้กับแม่พิมพ์ที่มีจุดสนใจของลายอยู่มุมใดมุมหนึ่งของแม่พิมพ์ การพิมพ์จะต้องพิมพ์จากซ้ายไปขวา และหมุนแม่พิมพ์ให้จุดสนใจของลายรวมเป็นจุดเดียวกัน

      9.3) การวางลายแบบจาลัน ซามาวาง คือ ลายด้วยวิธีพิมพ์จากแม่พิมพ์ที่ออกแบบลาย 2 แบบแล้วนำมาพิมพ์สลับแถวควบคู่กันตลอดแนว

      9.4) การวางลายแบบตูบรุก คือ วางลายด้วยการพิมพ์ไปทางขวาแล้วพิมพ์ขึ้นด้านบน

      9.5) การวางลายแบบออนโดเอนเด คือ วางลายด้วยการพิมพ์ไปทางด้านขวาและพิมพ์ขึ้นด้านบนโดยวางแม่พิมพ์ด้านบนที่จุดกึ่งกลางกับลายพิมพ์แถวแรก

10) การจัดวางลวดลายผ้าบาติกแบบสร้างสรรค์ ผ้าบาติกในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีวิธีการวางลายตามแบบที่เป็นเอกลักษณ์ 2 ลักษณะ คือ

      10.1) วางลายให้ต่อกันเป็นแนวยาว ใช้กับลายขอบหรือลายริม

      11.2) วางลายต่อเนื่องกันเป็นเถา ใช้กับลวดลายช่อ กิ่ง ก้านหรือลำต้น ใช้วิธีพิมพ์ต่อกันให้ก้านซ้อนกับส่วนหนึ่งส่วนใดของดอกและใบ

11) การจัดองค์ประกอบสำาหรับผ้าบาติกลายพิมพ์ คือ การจัดองค์ประกอบในการทำาผ้าบาติกพิมพ์ลาย มี 3 วิธี 

     11.1) ลายซ้ำมักใช้กับการพิมพ์ลายหรือการเขียนลาย โดยมีรูปแบบที่มีลักษณะเหมือนกัน จัดช่องไฟให้พอเหมาะและขึ้นกับจำนวนสีที่จะย้อม

      11.2) ลายอิสระเป็นลายที่สามารถเขียนหรือจัดวางไว้ได้ในทุกส่วนของผืนผ้าขึ้นอยู่กับขนาดและสัดส่วนของผ้า และประโยชน์ที่จะนำไปใช้ประกอบกัน ควรคำนึงถึงความกลมกลืนของลาย และใช้สีย้อมที่เข้ากัน อาทิ ลายเดี่ยวที่โดดเด่น ให้นำมาพิมพ์ในส่วนกลางของผืนผ้า เพื่อให้เห็นลักษณะลายที่สมบูรณ์

      11.3) ลายเชิงเป็นลายบริเวณริมขอบผ้า รูปแบบของลายอาจแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับลายหลักของผ้าผืนนั้น อาทิ ลายเส้นหรือลายเครือเถา ควรใช้ร่วมกับลายขอบหรือลายเชิง เพื่อพิมพ์เป็นขอบผ้าทั้ง 4 ด้าน

12) น้ำเทียน หมายถึง การเตรียมเทียนหรือการผสมเทียนสำหรับวาดลายหรือพิมพ์ลายเพื่อกันสีให้เกิดลวดลายก่อนที่จะนำไปย้อม โดยเทียนสำหรับพิมพ์ลงผ้าครั้งแรก เส้นเทียนต้องมีความหนาแน่นและนูน

13) ลอกเทียน คือ การลอกเทียนออกจากผ้าบาติก โดยเติมน้ำสบู่หรือผงซักฟอกลงในน้ำ ต้มน้ำให้เดือดโดยมีปริมาณมากพอควร เมื่อน้ำเดือดให้จุ่มผ้าลงไปแล้วดึงขึ้น 1 - 2 ครั้ง จนเทียนละลายออกหมด ไม่ควรแช่นานเกินไปเพราะจะทำให้สีซีด ในกรณีที่มีเศษเทียนลอยอยู่บนผิวน้ำ ให้ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ซับคราบเทียนออกจนหมด 

สีย้อมบางประเภท สามารถใช้น้ำยาทำความสะอาด ช่วยละลายเทียนออก ในพื้นที่เล็กๆ ที่ไม่สะดวกต่อการต้มหรือรีด เมื่อแช่น้ำยาทำความสะอาดแล้ว ควรนำไปซักด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ล้างผ้าและแช่ผ้าเพื่อให้สีและเทียนออกจากผ้าจนหมด จากนั้นนำมาซักให้สะอาด นำผ้าไปตากหรือแขวนไว้ในที่ร่ม ที่อากาศถ่ายเทสะดวก จนผ้าแห้งสนิท

14) ตกแต่งผ้าบาติก หมายถึง หมายถึง การตกแต่งผ้าหลังการย้อม เพื่อป้องกันสีตกและซีดจางด้วยน้ำยากันสีตก และเพื่อช่วยให้ผ้าที่ย้อมสีแล้วมีความคงทนต่อการซักน้ำในระดับดี เป็นการเพิ่มคุณค่าและยกระดับมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ 

    14.1) ผ้าที่ย้อมด้วยสีเคมี ให้ใช้โซเดียมซิลิเกตในการล็อกสี

    14.2) ผ้าที่ย้อมด้วยสีจากธรรมชาติ ให้ใช้สารส้มหรือเกลือในการล็อกสี ทาสารล็อกสีให้ทั่วทั้งผืนผ้าทิ้งไว้ให้สารล็อกสีแห้ง 4 - 5 ชั่วโมง และควรวางผ้าในแนวราบเท่านั้น เพื่อป้องกันสีไหลซึมเข้าหากัน

    14.3) เพิ่มความเรียบลื่นเป็นมันให้เนื้อผ้าด้วยการลงแป้ง มีส่วนผสม ดังนี้ แป้งมันหรือแป้งข้าวเจ้า 1 ช้อนโต๊ะ น้ำเย็น 1 ถ้วยตวง น้ำเดือด 3 ถ้วยตวง กวนแป้งจนสุกเป็นสีขาวขุ่น จากนั้นให้นำผ้าลงแช่ในน้ำแป้ง 1 - 2 ชั่วโมง เมื่อน้ำแป้งซึมเข้า เส้นใยอย่างทั่วถึงแล้วให้ยกขึ้น นำไปตากในที่ร่มให้แห้ง และนำไปรีดด้วยไฟปานกลาง



(ค)  เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็น 

           N/A 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

พิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า และให้เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UOC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EOC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC)



ยินดีต้อนรับ