หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมวัสดุและอุปกรณ์สำหรับผลิตผ้าบาติก

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-YLGU-411B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมวัสดุและอุปกรณ์สำหรับผลิตผ้าบาติก

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 7316 ช่างเขียนลายผ้าบาติก

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 7318 คนทำผ้าบาติก

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ครอบคลุมการเตรียม และเลือกใช้วัสดุ และอุปกรณ์สำหรับผลิตผ้าบาติก โดยสามารถอธิบายระบุประเภทและชนิดของอุปกรณ์ที่ใช้ผลิตผ้าบาติก และสามารถบำรุงรักษา และจัดเก็บอุปกรณ์ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ผลิตผ้าบาติก หรือ ปาเต๊ะ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10111

เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ในการผลิตผ้าบาติกเขียนลาย - พิมพ์ลาย 


1.1 ระบุประเภทและชนิดของอุปกรณ์ที่ใช้ผลิตผ้าบาติก 

10111.01 214394
10111

เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ในการผลิตผ้าบาติกเขียนลาย - พิมพ์ลาย 


1.2 อธิบายวิธีการใช้อุปกรณ์ผลิตผ้าบาติก

10111.02 214395
10111

เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ในการผลิตผ้าบาติกเขียนลาย - พิมพ์ลาย 


1.3 บำรุงรักษาและการจัดเก็บอุปกรณ์ได้อย่างเป็นระบบและถูกต้องเหมาะสม

10111.03 214396
10112

เลือกใช้วัสดุในการผลิตผ้าบาติกเขียนลาย - พิมพ์ลาย


2.1 ตรวจสอบคุณลักษณะวัสดุ เช่น ขี้ผึ้ง ประเภทของสี และชนิดผ้าที่ใชในการผลิตผ้าบาติก

10112.01 214397
10112

เลือกใช้วัสดุในการผลิตผ้าบาติกเขียนลาย - พิมพ์ลาย


2.2 เลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับการผลิตผ้าบาติก

10112.02 214398
10112

เลือกใช้วัสดุในการผลิตผ้าบาติกเขียนลาย - พิมพ์ลาย


2.3 บำรุงรักษาและการจัดเก็บวัสดุได้อย่างเป็นระบบและถูกต้องเหมาะสม

10112.03 214399

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  การใช้ผ้าขาวในการทำผ้าบาติก ได้แก่ ผ้าฝ้าย ผ้าลินิน และผ้าไหม

2)  การใช้เทียนที่มีส่วนผสมของขี้ผึ้งและพาราฟินในการทำผ้าบาติกเพื่อเป็นวัสดุกั้นสี และใช้สำหรับเขียนหรือพิมพ์ลายเทียนลงบนผ้าก่อนที่จะนำไปย้อม โดยมีส่วนผสมเพิ่มเติม เช่น ยางสน น้ำมันพืช และไขมันสัตว์ 

3)  การใช้สีย้อมที่เหมาะสมกับผ้าและมีเนื้อสีที่สร้างการดูดซับที่ดี สนับสนุนให้ใช้สีย้อมจากพืชพรรณธรรมชาติในชุมชน หรือสีสังเคราะห์ที่สกัดมาจากธรรมชาติ ซึ่งมีทั้งแบบสีผงและสีน้ำ 

เป็นการลดมลพิษต่อผู้สวมใส่และช่างบาติก และรักษาสิ่งแวดล้อม

4)  การใช้เตาในการควบคุมอุณหภูมิเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการสร้างลวดลายผ้าบาติก เตาที่ให้ความร้อนอย่างสม่ำเสมอจะทำให้เทียนมีความหนืดเหลวพอเหมาะ เพื่อให้ช่างบาติกนำเทียนไปเขียนหรือพิมพ์เพื่อสร้างลวดลายบนผ้าผืนได้อย่างสะดวก ได้เส้นที่คมชัด สม่ำเสมอ

5)  การใช้กระทะควรเป็นกระทะโลหะสำหรับต้มขี้ผึ้ง และต้มน้ำสีย้อมผ้า และต้มน้ำลอกเทียน

6)  การใช้อ่างเคลือบหรืออ่างพลาสติก ใช้สำหรับซักผืนผ้า หรือย้อมสีผ้า ควรเป็นอ่างที่มีขนาดใหญ่ เพื่อความสะดวกต่อการพลิกกลับให้ผ้าได้รับสีหรือล้างผ้าได้อย่างทั่วถึง สีย้อมจะกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ และได้ความเข้มของสีตามที่ต้องการ

7)  การใช้ถุงมือยางสำหรับสวมเวลาย้อมสี

8)  การใช้จันติ้ง ปากกาเทียนสำหรับวาดลวดลายลงบนผืนผ้ามีลักษณะคล้ายกับกรวยขนาดเล็กที่มีด้ามจับที่ปลายจะมีท่อเล็ก ๆ เพื่อให้น้ำเทียนไหลออกมาเป็นเส้นลงบนผืนผ้า ท่อจันติ้งจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่เพื่อสร้างลายเส้นที่มีความหนาบางแตกต่างกัน

9)  การใช้แปรงและพูกัน เพื่อใช้สำหรับวาดเทียนเพื่อปิดบริเวณที่ต้องการไม่ให้ติดสีเวลาย้อม หรือใช้ระบายสีพื้น ระบายลวดลายตามที่ร่างไว้ โดยควรใช้แปรงและพู่กันหลายขนาดเพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่และลักษณะของลวดลายที่จะเขียน

10) การใช้ฟองน้ำ เมื่อต้องการระบายสีในพื้นที่ขนาดใหญ่ สามารถใช้ฟองน้ำจุ่มสีแทนแปรงและพู่กันได้ ฟองน้ำยังสามารถใช้แต้มสีเพื่อสร้างลวดลายที่แตกต่างจากแปรงและพู่กัน ด้วยการตัดฟองน้ำเป็นรูปร่างและขนาดต่างๆ เพื่อสร้างลวดลายและพื้นผิวที่เป็นเอกลักษณ์บนผืนผ้า

11) การใช้แม่พิมพ์หรือบล็อก ทำจากวัสดุที่หลากหลาย เช่น ไม้ หรือโลหะ เช่น ทองแดง ทองเหลือง อะลูมิเนียม สังกะสี เพื่อสร้างลวดลายบนผืนผ้าบาติก โดยมีประเภทการใช้งานของแม่พิมพ์แบ่งออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ แม่พิมพ์ลายเส้น แม่พิมพ์ปิดลาย และแม่พิมพ์ปิดพื้น

12) การใช้กรอบไม้ คือ โครงไม้สี่เหลี่ยม ใช้สำหรับยึดผ้าให้แน่น ขึงผ้าให้ตึงเพื่อให้ได้พื้นผิวที่เรียบ สะดวกต่อการวาดลวดลาย

13) การใช้โต๊ะสำาหรับพิมพ์เทียน โดยโต๊ะที่ใช้ควรมีพื้นโต๊ะและขาที่มีความแข็งแรงพื้นโต๊ะควรปูพื้นด้วยวัสดุที่ไม่ติดเทียน นิยมใช้กาบกล้วยปูโต๊ะเพื่อป้องกันไม่ให้เทียนจากจันติ้งหรือแม่พิมพ์ติดพื้นโต๊ะ

14) การใช้ราวตากผ้า ควรทำจากไม้หรือสเตนเลสที่มีความแข็งแรงใช้สำหรับตากผืนผ้าที่ล้างหรือย้อมสี

15) การใช้เครื่องรีดผ้า ใช้สำหรับรีดผ้าเพื่อขัดผิวของผ้าบาติกให้เรียบเงา

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับการทำความสะอาดผ้าขาวแต่ละชนิดก่อนนำไปทำผ้าบาติก 

2) ความรู้เกี่ยวกับการเลือกส่วนผสมเพิ่มเติมในการทำเทียน 

3) ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้สีย้อมที่รักษาสิ่งแวดล้อม

4) ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิความร้อนของเตาซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการสร้างลวดลายผ้าบาติก 

5) ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้ภาชนะสำหรับต้มขี้ผึ้ง และต้มน้ำสีย้อมผ้า และต้มน้ำลอกเทียน

6) ความรู้เกี่ยวกับการซักผืนผ้า หรือย้อมสีผ้า 

7) ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้ถุงมือยางสำหรับสวมเวลาย้อมสี

8) ความรู้เกี่ยวกับการใช้จันติ้ง ปากกาเทียนสำหรับวาดลวดลายลงบนผืนผ้า

9) ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้แปรงและพูกัน เพื่อใช้สำหรับวาดเทียน

10) ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้ฟองน้ำ เมื่อต้องการระบายสีในพื้นที่ขนาดใหญ่ 

11) ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้แม่พิมพ์หรือบล็อก 

12) ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้กรอบไม้ 

13) ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้โต๊ะสำหรับพิมพ์เทียน 

14) ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้ราวตากผ้า 

15) ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้เครื่องรีดผ้า 

16) ความรู้เกี่ยวกับการเก็บและบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ในการทำผ้าบาติก

17) ความรู้เกี่ยวกับการเก็บวัสดุในการทำผ้าบาติก

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับความรู้ที่ต้องการ (Knowledge Evidence) และหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

 

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   1)  เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือผู้ว่าจ้าง หรือ

   2)  ผลงานประกอบการประเมิน หรือผลงานผ้าบาติก หรือชิ้นงาน

   3)  แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolios) 



(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   1)  หนังสือหรือเอกสารรับรองผลการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ที่ต้องการ หรือ

   2)  ใบประกาศนียบัตร



(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

   การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ



(ง) วิธีการประเมิน

     เทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ (RESK : Recognition of Existing Skills and Knowledge)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ 

     การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ



(ข)  คำอธิบายรายละเอียด

1) ผ้าบาติก (Batik) หรือ ผ้าปาเต๊ะ (Batek) เป็นคำที่ใช้เรียกผ้าชนิดหนึ่งที่มีวิธีการทำ ให้เกิดลวดลายที่เกิดจากการกั้นสีด้วยเทียน หรือวัสดุอื่นปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี แล้วนำไปแต้มระบายหรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสีเฉพาะเนื้อผ้าที่ไม่มีรอยเทียนหรือไม่ถูกกั้นสีเท่านั้น มีทั้งพิมพ์เทียน แต้มสี ระบายสี ย้อมสี ผ้าบาติกในแต่ละผืนนั้นจึงมีความสวยงามแตกต่างกัน 

2) อุปกรณ์ในการทำผ้าบาติก มีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์ลวดลาย อุปกรณ์เหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยสร้างสรรค์ ความสะดวกด้านเทคนิคการสร้างสรรค์เท่านั้นแต่ยังส่งผลถึงความสวยงามของลวดลาย เช่น เตา กระทะ อ่างเคลือบหรืออ่างพลาสติก ถุงมือยาง จันติ้ง แปรงและพู่กัน ฟองน้ำ แม่พิมพ์หรือบล็อก  กรอบไม้ โต๊ะสำหรับพิมพ์เทียน ราวตากผ้า เครื่องรีดผ้า เป็นต้น

3) วัสดุในการทำผ้าบาติกวัสดุที่ใช้ในการทำผ้าบาติกมีหลายชนิด การใช้วัสดุที่ถูกต้องและเหมาะสมจะทำให้ผลงานที่สำเร็จออกมามีคุณภาพ มีดังนี้ เช่น ผ้าขาว เทียน สีย้อม 

    3.1) ผ้า ผ้าที่จะทำบาติกให้สวยงาม จะต้องไม่หนาจนเกินไป ไม่มีแป้งและสารเคมีตกแต่งผิว เมื่อเขียนเทียนน้ำเทียนจะซึมผ่านอีกด้านหนึ่งได้ไม่เต็มที่ทำให้กันสีได้ไม่ดีเท่าที่ควร ผ้าที่เหมาะกับการทำผ้าบาติก ควรใช้ผ้าที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าลินิน ผ้าไหม ผ้ารามี ผ้าซาติน ผ้าเรยอง ผ้าลอน ผ้าที่มีใยสังเคราะห์จือปนจะทำให้ย้อมสีติดไม่ดีเท่าที่ควร

     3.2) เทียนผสมยางสน นำมาเขียนหรือพิมพ์ลวดลายลงบนผ้า ยางสนทำให้เทียนมีความเหนียว

     3.3) สีย้อม ในส่วนของสีย้อมมีอยู่หลายชนิด สีที่เหมาะกับการทำผ้าบาติกต้องใช้สีย้อมเย็น คือย้อมในน้ำสีที่มีอุณหภูมิประมาณ 30 องศาเซลเซียส และไม่ควรร้อนเกิน 40 องศาเซลเซียส ถ้าร้อนกว่านี้จะทำให้เทียนละลาย

     3.4) ถุงมือ ควรใช้ถุงมือสีส้ม ซึ่งเป็นถุงมือที่ใช้กับสารเคมี เป็นเครื่องช่วยป้องกันไม่ให้มือถูกสารเคมีที่ผสมอยู่ในสี

4) เทคนิคการสร้างลวดลายผ้าบาติก

        -  บาติกลายเขียนย้อมสี

        -  บาติกลายพิมพ์ย้อมสี

        -  บาติกพิมพ์เทียนระบายสี

        -  บาติกลายเขียนระบายสี

        -  บาติกแบบระบายสี

        -  บาติกเทคนิคผสม

5) แบบในการทำผ้าบาติก หรือ ลวดลายของผ้าบาติกภาคใต้ของประเทศไทย แบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้ 

     5.1) ผ้าบาติกลาดลายเรขาคณิต ลวดลายเลขาคณิตมีกลุ่มลายที่สำคัญ 5 กลุ่ม คือ 

           - ผ้าปาติกลายปารัง  เป็นลวดลายเก่าแก่ดั้งเดิม แพร่หลายอยู่บนผืนผ้าในพื้นที่ของคาบสมุทรมาตราและคาบสมุทรมลายู ลวดลายปารังมีโครงสร้างที่ประกอบไปด้วยเส้นแนวเฉียงและเส้นแนวตั้ง รายละเอียดภายในลวดลายจะเป็นกลุ่มลายพรรณพฤกษาและลายสัตว์ นิยมสร้างสรรค์ขึ้นสำหรับใช้เป็นผ้านุ่ง และผลิตภัณฑ์อื่นๆ อย่างหลากหลาย 

           - ผ้าบาติกลายเรขาคณิต เป็นลวดลายที่เก่าแก่ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะมุสลิมและยังได้รับความนิยมต่อเนื่องยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน ลวดลายประกอบไปด้วย รูปทรงแฉกที่มีลักษณะเป็นรัศมีคล้ายดวงดาว

           - ผ้าบาติกลายจุดกลม ผ้าบาติกที่มีจุดกำเนิดจากราชสำนักเมืองยอกยากาตาร์ ประเทศอินโดนีเซีย และแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีแหล่งผลิตอยู่ที่กาลิมันตันและชวา

           - ผ้าบาติกลายข้นจิ เป็นลวดลายโบราณที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะจีนผ่านเส้นทางการค้าในคาบสมุทรมลายู ซึ่งต่อมาถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง

        - ผ้าบาติกลายเส้นใยของผ้า เป็นลวดลายที่ได้แรงบันดาลใจมาจากเส้นใยของผ้าไหม

     5.2) ผ้าบาติกลวดลายจากธรรมชาติ มีกลุ่มลายที่สำคัญ 4 กลุ่ม

        - ผ้าบาติกลวดลายพรรณพฤกษา ประกอบไปด้วยลวดลายของกิ่ง ใบ ดอก ก้าน และผล 

ที่จัดองค์ประกอบลวดลายต่อเนื่องกันคล้ายกับลวดลายเครือเถาแบบศิลปะไทยและจีน เป็นลวดลายของพืชพรรณพื้นถิ่น อาทิ ดอกบัว ผักบุ้ง และผักน้ำชนิดอื่นๆ

        - ผ้าบาติกลวดลายสัตว์จตุบาท เป็นลวดลายของสัตว์สี่เท้า เช่น ม้า ช้าง นำมาจัดองค์ประกอบร่วมกับลายเครือเถาของพืชพรรณจากจินตนาการ

        - ผ้าบาติกลวดลายปักษา เป็นรูปสัตว์ปีกจากจินตนาการที่มีลักษณะคล้ายนกยูงและนกแก้วช่างบาติกได้ผสมผสานลวดลายขึ้นใหม่

        - ผ้าบาติกลวดลายจากธรรมชาติและชีวิตประจำวัน เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงดาว ดวงจันทร์ 

เขาพระสุเมรุ และข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน และยังมีผ้าบาติกลายตัวอักษรอิสลามประดิษฐ์ ที่เผยแพร่เข้ามาตามเส้นทางการเผยแผ่ศาสนา



(ค)  เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็น 

           N/A 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

พิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า และให้เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UOC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EOC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC)



ยินดีต้อนรับ