หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องจากการปฏิบัติงานของนักเทคนิคด้านการใช้สถานการณ์จำลองทางการแพทย์ในศูนย์ฝึกสถานการณ์จำลอง

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-BLKF-764A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องจากการปฏิบัติงานของนักเทคนิคด้านการใช้สถานการณ์จำลองทางการแพทย์ในศูนย์ฝึกสถานการณ์จำลอง

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักเทคนิคด้านการใช้สถานการณ์จำลองทางการแพทย์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องจากการปฏิบัติงานของนักเทคนิคด้านการสถานการณ์จำลองทางการแพทย์ในศูนย์ฝึกสถานการณ์จำลอง ครอบคลุม การวิเคราะห์ความเสี่ยงของการปฏิบัติงานในศูนย์ฝึกสถานการณ์จำลองและสามารถสรุปผลการประเมินความเสี่ยงของการปฏิบัติงานในศูนย์ฝึกสถานการณ์จำลอง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักเทคนิคด้านการใช้สถานการณ์จำลองทางการแพทย์ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10503.01

วิเคราะห์ความเสี่ยงของการปฏิบัติงานในศูนย์ฝึกสถานการณ์จำลอง

1. ระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานและจากการเรียนการสอนหรือการประเมินในศูนย์ฝึกสถานการณ์จำลอง

10503.01.01 214381
10503.01

วิเคราะห์ความเสี่ยงของการปฏิบัติงานในศูนย์ฝึกสถานการณ์จำลอง

2. ระบุปัจจัยแวดล้อมของการเกิดความเสี่ยงในศูนย์ฝึกสถานการณ์จำลอง 

10503.01.02 214382
10503.01

วิเคราะห์ความเสี่ยงของการปฏิบัติงานในศูนย์ฝึกสถานการณ์จำลอง

3. รวบรวมข้อมูลความเสี่ยงของการปฏิบัติงานในศูนย์ฝึกสถานการณ์จำลอง

10503.01.03 214383
10503.02

สรุปผลการประเมินความเสี่ยงของการปฏิบัติงานใน ศูนย์ฝึกสถานการณ์จำลอง

1. ตรวจสอบการทำงานเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานในศูนย์ฝึกสถานการณ์จำลอง 

10503.02.01 214384
10503.02

สรุปผลการประเมินความเสี่ยงของการปฏิบัติงานใน ศูนย์ฝึกสถานการณ์จำลอง

2. รายงานผลการประเมินความเสี่ยงของการปฏิบัติงานในศูนย์ฝึกสถานการณ์จำลอง

10503.02.02 214385
10503.02

สรุปผลการประเมินความเสี่ยงของการปฏิบัติงานใน ศูนย์ฝึกสถานการณ์จำลอง

3. กำหนดแนวทางป้องกันความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานในศูนย์ฝึกสถานการณ์จำลอง

10503.02.03 214386

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

แสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ ดังนี้

10301  ควบคุมระบบภาพและเสียง (AV system) สำหรับสนับสนุนการสอนในสถานการณ์จำลอง

10302  ควบคุมข้อมูลโปรแกรมสำเร็จรูป และฐานข้อมูลการจัดการเรียนการสอนสำหรับการสอนในสถานการณ์จำลอง

10401  สนับสนุนผู้สอนในวางแผนการสร้างสถานการณ์จำลอง

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการจัดการความเสี่ยง (Risk Management)

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยง (Risk Management)

2. มีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงานของนักเทคนิคด้านการสถานการณ์จำลองทางการแพทย์ในศูนย์ฝึกสถานการณ์จำลอง

3. มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิทธิผู้ป่วยและพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การ ปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(1)    หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

        1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

        2. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

        3. แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้

(2)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. ใบรับรองผลการศึกษา หรือ 

        2. ใบรับรองการผ่านงาน หรือ

        3. ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง 

(3)    คำแนะนำในการประเมิน

         เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องจากการปฏิบัติงานของนักเทคนิคด้านการสถานการณ์จำลองทางการแพทย์ในศูนย์ฝึกสถานการณ์จำลองโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(4)    วิธีการประเมิน    

     - พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติ ได้แก่ หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้

     - พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ ใบรับรองผลการศึกษา หรือ ใบรับรองการผ่านงาน หรือประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง การสอบข้อเขียนและการสอบสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

      ขอบเขตการปฏิบัติงานประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องจากการปฏิบัติงานของนักเทคนิคด้านการสถานการณ์จำลองทางการแพทย์ในศูนย์ฝึกสถานการณ์จำลอง ครอบคลุมขั้นตอนตั้งแต่การวิเคราะห์ความเสี่ยงคือการตรวจสอบกระบวนการทำงานเพื่อระบุความเสี่ยงและปัจจัย/สาเหตุของการเกิดความเสี่ยง รวบรวมข้อมูลความเสี่ยงที่เคยเกิดขึ้น รายงานผลข้อมูลที่ได้เพื่อนำไปกำหนดแนวทางป้องกันความเสี่ยงที่ปฏิบัติได้จริง  และสามารถสรุปผลได้หลังการ implement กระบวนการแก้ไขความเสี่ยงแล้ว โดยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องจากการปฏิบัติงานในที่นี้ประกอบด้วย ความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ/ความรุนแรงต่อร่างกายและจิตใจจากการทำงานของบุคลากรในศูนย์ ความเสี่ยงต่ออันตรายที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้ป่วยจำลองหรือผู้ป่วย       (ในกรณีจัด in-situ simulation)  ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องความลับของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของศูนย์ และความเสี่ยงต่อการรั่วไหลของข้อมูลในศูนย์ เช่น การถูกโจรกรรมผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น  

(1)    คำแนะนำ 

        1)  สำหรับผู้เข้ารับประเมินในหน่วยสมรรถะนี้  ต้องสามารถอธิบายหรือแสดงถึงการการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องจากการปฏิบัติงานของนักเทคนิคด้านการสถานการณ์จำลองทางการแพทย์ในศูนย์ฝึกสถานการณ์จำลอง ครอบคลุม การวิเคราะห์ความเสี่ยงของการปฏิบัติงานในศูนย์ฝึกสถานการณ์จำลองและสามารถสรุปผลการประเมินความเสี่ยงของการปฏิบัติงานในศูนย์ฝึกสถานการณ์จำลอง 

        2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้

(2)    คำอธิบายรายละเอียด

         1. การจัดการความเสี่ยง (Risk Management) หรือ การบริหารความเสี่ยง  คือ การจัดการความเสี่ยง ในกระบวนการ ประกอบด้วยขั้นต้น ระบุ วิเคราะห์ ประเมิน ดูแล ตรวจสอบ และ การควบคุมความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับ กิจกรรม หน้าที่และกระบวนการทำงาน เพื่อให้องค์กรลดความเสียหายจากความเสี่ยงมากที่สุด อันเนื่องมาจากภัยที่องค์กรต้องเผชิญในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือเรียกว่า อุบัติภัย (Accident)

         2. ความเสี่ยงทางกายภาพ คือ  ความเสี่ยงที่เกิดจากภัยคุกคาม โดยมีลักษณะทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา เช่น โดนมีดผ่าตัดที่อยู่ในชั้นเก็บของบาดมือตอนล้วงไปหยิบอุปกรณ์ , มีเข็มฉีดยาที่ไม่มีปลอกเข็มอยู่บนชั้นเก็บของ , อุณหภูมิภายในห้องเรียนร้อนเกินไป เปิดแอร์เย็นเกินไปจนระบบแอร์มีน้ำแข็งเลยทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพลมไม่ออกทางช่องแอร์

         3. ความเสี่ยงทางจิตใจ คือ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นแล้วส่งผลกระทบต่อกระบวนการคิดหรืออารมณ์ ไม่ว่าจะเกิดจาก คำพูด การกระทำ หรือ ภาพที่พบเห็น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบข้อเขียน ประเมินความรู้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงของการปฏิบัติงานในศูนย์ฝึกสถานการณ์จำลอง ประกอบด้วยการระบุความเสี่ยง ระบุปัจจัยของการเกิดความเสี่ยง รวบรวมข้อมูลความเสี่ยง

18.2 การสอบสัมภาษณ์ ประเมินความรู้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงของการปฏิบัติงานในศูนย์ฝึกสถานการณ์จำลอง ประกอบด้วยการระบุความเสี่ยง ระบุปัจจัยของการเกิดความเสี่ยง รวบรวมข้อมูลความเสี่ยง



 



ยินดีต้อนรับ