หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สนับสนุนการสอนในสถานการณ์จำลองที่ใช้ชุดสร้างสถานการณ์จำลองด้วย virtual simulation

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-XQIV-756A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สนับสนุนการสอนในสถานการณ์จำลองที่ใช้ชุดสร้างสถานการณ์จำลองด้วย virtual simulation

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักเทคนิคด้านการใช้สถานการณ์จำลองทางการแพทย์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการสนับสนุนการสอนในสถานการณ์จำลองที่ใช้ชุดสร้างสถานการณ์จำลองด้วย virtual simulation โดยสามารถเตรียมความพร้อม สนับสนุนการใช้ virtual simulation ตลอดจนแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้อง และดูแลหลังการใช้งานชุดสร้างสถานการณ์จำลองด้วย virtual simulation

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักเทคนิคด้านการใช้สถานการณ์จำลองทางการแพทย์ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10104.01

เตรียมความพร้อมของ virtual simulation

1. ประสานงานกับผู้สอนเกี่ยวกับแผนการสอนในสถานการณ์จำลอง 

10104.01.01 214326
10104.01

เตรียมความพร้อมของ virtual simulation

2. เตรียม computer หรือ web-based simulator ได้ตามคู่มือการปฏิบัติของแต่ละอุปกรณ์ 

10104.01.02 214327
10104.01

เตรียมความพร้อมของ virtual simulation

3. ตรวจสอบความพร้อมของระบบและอุปกรณ์สำหรับการสอนในรูปแบบ computer หรือ web-based simulator ได้ตามคู่มือการปฏิบัติของแต่ละอุปกรณ์ 

10104.01.03 214328
10104.01

เตรียมความพร้อมของ virtual simulation

4. เตรียมระบบและอุปกรณ์สำหรับการสอนในรูปแบบ computer หรือ web-based simulator สำหรับสนับสนุนการสอนในสถานการณ์จำลอง 

10104.01.04 214329
10104.01

เตรียมความพร้อมของ virtual simulation

5. นำระบบและอุปกรณ์สำหรับการสอนในรูปแบบ computer หรือ web-based simulator ไปติดตั้งในสถานการณ์ จำลองได้ตามข้อกำหนด 

10104.01.05 214330
10104.02

สนับสนุนการใช้ virtual simulation

1. ควบคุมการ ใช้ระบบและอุปกรณ์สำหรับการสอนในรูปแบบ computer หรือ web-based simulator หรือ Augmented reality หรือ Virtual Reality สำหรับสนับสนุนการสอนในสถานการณ์จำลอง 

10104.02.01 214315
10104.02

สนับสนุนการใช้ virtual simulation

2.ช่วยเหลือผู้สอนในการใช้ระบบและอุปกรณ์สำหรับการสอนในรูปแบบ computer หรือ web-based simulator หรือ Augmented reality หรือ Virtual Reality 

10104.02.02 214316
10104.02

สนับสนุนการใช้ virtual simulation

 3.แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นของระบบและอุปกรณ์สำหรับการสอนในรูปแบบ computer หรือ web-based simulator ขณะสอน 

10104.02.03 214317
10104.03

แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ virtual simulation

1. ระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้นของโปรแกรมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 

10104.03.01 214320
10104.03

แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ virtual simulation

2. แก้ไขปัญหาสัญญาณเชื่อมต่อระหว่างเครื่องมือหรือปัญหาโปรแกรมหยุดทำงานในการใช้งาน computer หรือ web-based simulator หรือ Augmented reality หรือ Virtual Reality 

10104.03.02 214321
10104.03

แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ virtual simulation

3. เปลี่ยนชิ้นส่วนพื้นฐานของระบบ virtual simulation รูปแบบ computer ได้ตามมาตรฐาน 

10104.03.03 214322
10104.04

ดูแลหลังการใช้งาน Virtual simulation

1. ปิดระบบอุปกรณ์ computer web-based simulator augmented reality virtual realityหลังการใช้งาน 

10104.04.01 214323
10104.04

ดูแลหลังการใช้งาน Virtual simulation

2. จัดเก็บอุปกรณ์ computer and web-based simulator virtual reality/ augmented reality หลังการใช้งาน 

10104.04.02 214324
10104.04

ดูแลหลังการใช้งาน Virtual simulation

3. จัดเก็บข้อมูลจากอุปกรณ์ computer and web-based simulator virtual reality/ augmented reality หลังการใช้งาน 

10104.04.03 214325
10104.04

ดูแลหลังการใช้งาน Virtual simulation

4. ตรวจสอบโปรแกรมของอุปกรณ์ computer and web-based simulator virtual reality/ augmented reality ให้เป็นปัจจุบัน (Update) 

10104.04.04 214331
10104.04

ดูแลหลังการใช้งาน Virtual simulation

5. ติดต่อบริษัทผู้ผลิตหรือผู้ขายเพื่อดำเนินการส่งซ่อมหรือขออุปกรณ์ทดแทน 

10104.04.05 214332

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความรู้เกี่ยวกับชื่อ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) และหน้าที่หลักของอวัยวะสำคัญในร่างกายที่เกี่ยวข้องกับ virtual simulation

2. ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่พื้นฐานของบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วย

3. ความรู้เกี่ยวกับชื่อ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ของอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้ในการทำหัตถการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ virtual simulation

4. ความรู้เกี่ยวกับสรีรวิทยาพื้นฐานของมนุษย์ ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งค่า virtual simulation ได้แก่ ชื่อเรียกภาษาอังกฤษและค่าปกติของสัญญาณชีพ (ความดันโลหิต อัตราการหายใจ ชีพจร อุณหภูมิ) ชื่อเรียกเสียงปอด และหัวใจทั้งปกติและผิดปกติประเภทต่าง ๆ 

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการสื่อสารกับผู้สอนเพื่อทำความเข้าใจแผนการสอน

2.    ทักษะในการตรวจสอบความพร้อมใช้งานของหุ่นจำลองชนิด computer หรือ  web-based simulator

3.    ทักษะในการนำ computer หรือ web-based simulator ไปติดตั้งสถานการณ์จำลองให้ตรงกับแผนการสอนของอาจารย์

4.    ทักษะในการควบคุมระบบและอุปกรณ์การใช้งานของ virtual simulation

5.    ทักษะในการแก้ไขปัญหาของ computer หรือ web-based simulator

6.    ทักษะในการสื่อสารกับผู้สอน ผู้เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานอื่นๆ

7.    ทักษะในการดูแลระบบ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับvirtual simulation

8.    ทักษะในการจัดทำทะเบียนข้อมูลและการจัดเก็บเอกสาร

9.    ทักษะในการตรวจสอบปัญหาของ ระบบและอุปกรณ์ที่ใช้ใน virtual simulation

10.    ทักษะในการเปลี่ยนชิ้นส่วนพื้นฐานของอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการสอนในรูปแบบ virtual simulation

11.    ทักษะในการจัดเก็บข้อมูลภายหลังการใช้งาน virtual simulation

12.    ทักษะในการตรวจสอบและปรับโปรแกรมที่ติดตั้งในอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับ virtual simulation ให้เป็นปัจจุบัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับแผนการสอนด้วยสถานการณ์จำลอง

2.    ความรู้เกี่ยวกับชนิด องค์ประกอบ และอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับ virtual simulation บนพื้นฐานของ computer หรือ web-based simulator

3.    ความรู้เกี่ยวกับระบบการทำงานของ virtual simulation ด้วย computer หรือ web-based simulator

4.    ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบความพร้อมของ computer หรือ web-based simulatorเพื่อให้พร้อมใช้งาน                                      

5.    ความรู้เกี่ยวกับระบบการทำงานของ virtual simulation ด้วย computer หรือ web-based simulator

6.    ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการสอนด้วย Augmented Reality หรือ Virtual Reality

7.    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้อุปกรณ์และระบบการสอนในรูปแบบ computer หรือ web-based simulator หรือ Augmented Reality หรือ Virtual Reality

8.    ความรู้เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการสอนด้วย computer หรือ web-based simulator

9.    ความรู้เกี่ยวกับการเชื่อมต่อสัญญาณของอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการสอนรูปแบบ virtual simulation 

10.  ความรู้เกี่ยวกับการดูแลบำรุงรักษาอุปกรณ์การสอนที่เกี่ยวข้องกับ computer web-based simulator augmented reality virtual reality 

11.  ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบและวิธีการใช้โปรแกรมพื้นฐานที่ใช้ในการสอนรูปแบบ virtual simulation

12.  ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง          

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การ ปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(1)    หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

        1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

        2. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

        3. แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้

(2)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

       1.  ใบรับรองผลการศึกษา หรือ 

       2.  ใบรับรองการผ่านงาน หรือ

       3.  ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง 

(3)    คำแนะนำในการประเมิน

       เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะ สนับสนุนการสอนในสถานการณ์จำลองที่ใช้ชุดสร้างสถานการณ์จำลองด้วย virtual simulation โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(4)  วิธีการประเมิน    

     - พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ และแบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้

     - พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ ใบรับรองผลการศึกษา หรือ ใบรับรองการผ่านงาน หรือประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง การสอบข้อเขียนและการสอบสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

       ขอบเขตการปฏิบัติงานของการสนับสนุนการสอนในสถานการณ์จำลองที่ใช้ชุดสร้างสถานการณ์จำลองด้วย virtual simulation ครอบคลุมตั้งแต่เตรียมความพร้อมของ virtual simulation หมายถึง กระบวนการตั้งแต่การวางแผนตารางงานเพื่อให้มีการตรวจสอบความพร้อมใช้งาน computer หรือ web-based simulator โดยต้องเตรียมโปรแกรมที่ใช้ถูกต้องรวมทั้งติดตั้งตามที่ผู้สอนระบุไว้ในแผนการสอน นอกจากนี้ ยังต้องตรวจสอบ computer หรือ web-based simulator ว่าสามารถควบคุมและแสดงผลได้ถูกต้องสมบูรณ์เพื่อให้ผู้สอน สามารถสอนได้อย่างเต็มที่และลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นในขณะใช้งาน

       การสนับสนุนการใช้ virtual simulation หมายถึง การควบคุมการใช้งานรูปแบบ computer web-based simulator augmented reality virtual reality ในการสอนด้วยสถานการณ์จำลองให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ได้แก่ การทบทวนแผนการสอนในส่วนที่เกี่ยวข้องล่วงหน้า ก่อนถึงเวลาสอน ทำการซักซ้อมทำความเข้าใจกับผู้สอน เพื่อวางแผนการใช้งาน ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถเตรียมโปรแกรมแสดงผลได้ตามกำหนด เมื่อเริ่มการเรียนการสอน ให้ความช่วยเหลือในด้านเทคนิคกับผู้สอนและช่วยเหลือผู้สอนในการปรับเปลี่ยนตามผู้สอนกำหนด เพื่อให้สถานการณ์จำลองสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น    

       กระบวนการดูแลหลังการใช้ virtual simulation หมายถึง กระบวนการตรวจสอบดูแลและบำรุงรักษาระบบvirtual simulation จัดเก็บข้อมูลที่ได้หลังจากการใช้งาน ให้พร้อมสำหรับการใช้งานในครั้งถัดไป รวมทั้งตรวจสอบระบบโปรแกรมให้เป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ ถ้าหากอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการสอนในสถานการณ์จำลองตามรอบเวลานั้นอยู่ภายใต้การดูแลของตัวแทนหรือบริษัทผู้จำหน่าย ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องวางแผนเพื่อให้ตัวแทนหรือบริษัทผู้จำหน่ายเข้ามาทำการดูแลรักษา และดำเนินการติดต่อสื่อสารให้ได้ผลลัพธ์ที่กำหนด ขั้นตอนเตรียมความพร้อมของ virtual simulation ให้พร้อมใช้งาน การสนับสนุนการใช้ virtual simulation แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ virtual simulation และดูแลหลังการใช้งานชุดสร้างสถานการณ์จำลองด้วย virtual simulation 



คำแนะนำ 

     1)    สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถอธิบายขั้นตอนในการเตรียม การสนับสนุนการใช้งาน การแก้ไขปัญหา และการดูแลหลังการใช้งาน virtual simulation ได้

     2)    สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้

(1)    คำอธิบายรายละเอียด

      1. Virtual simulation หมายถึง สถานการณ์จำลอง (สิ่งแวดล้อม บุคคลจำลอง) ที่ถูกสร้างขึ้นด้วยระบบ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีใด ๆ และมีระบบจัดการ เพื่อให้มนุษย์สามารถควบคุมได้ตามเงื่อนไขที่สร้างไว้ ประกอบด้วย computer หรือ web-based simulator เป็นสถานการณ์จำลองที่ถูกสร้างผ่านโปรแกรมในคอมพิวเตอร์หรือผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยอาจแสดงในลักษณะรูปแบบหน้าจอสัญญาณชีพ อุปกรณ์ช็อกไฟฟ้า เครื่องช่วยหายใจ หรือเครื่องตรวจอวัยวะภายในด้วยคลื่นเสียง augmented reality หรือ virtual reality เป็นสถานการณ์จำลองที่สร้างขึ้นผ่านโปรแกรมที่กำหนดโดยผู้ใช้รับรู้ผ่านทางหน้าจอหรือแว่นตาที่ทำให้ผู้เรียนรับรู้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปจากความจริง

      2. ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ virtual simulation หมายถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบหรืออุปกรณ์ ได้แก่ ระบบการเชื่อมต่ออุปกรณ์และควบคุม การตอบสนองของระบบที่ไม่เป็นไปตามที่ผู้สอนกำหนดหรือการชำรุดของอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอนรูปแบบ virtual Simulation

      3. ชิ้นส่วนพื้นฐาน หมายถึง ชิ้นส่วนที่มีความจำเป็นในการทำงานของระบบ virtual simulation รูปแบบ computer ที่ไม่มีความซ้ำซ้อน สามารถเปลี่ยนได้ด้วยตนเอง เช่น สายส่งสัญญาณ หน้าจอแสดงผล ลำโพง ไมโครโฟนแป้นพิมพ์ เครื่องมือควบคุมการสั่งการ โดยรวมถึงการตั้งค่าการทำงานให้เหมาะสม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบข้อเขียน ประเมินความรู้การเตรียมความพร้อม สนับสนุนการใช้ virtual simulation ตลอดจนแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้อง และดูแลหลังการใช้งานชุดสร้างสถานการณ์จำลองด้วย virtual simulation

18.2 การสอบสัมภาษณ์ ประเมินความรู้สนับสนุนการใช้ virtual simulation และดูแลหลังการใช้งานชุดสร้างสถานการณ์จำลองด้วย virtual simulation



 



ยินดีต้อนรับ