หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สนับสนุนการสอนในสถานการณ์จำลองที่ใช้หุ่นจำลองชนิด task trainer

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-DIYJ-753A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สนับสนุนการสอนในสถานการณ์จำลองที่ใช้หุ่นจำลองชนิด task trainer

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักเทคนิคด้านการใช้สถานการณ์จำลองทางการแพทย์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการสนับสนุนการสอนในสถานการณ์จำลองที่ใช้หุ่นจำลองชนิด task trainer โดยสามารถเตรียมหุ่นจำลองชนิด task trainer ให้พร้อมใช้งาน สนับสนุนการใช้งาน ดูแลหลังการใช้งาน ตลอดจนแก้ไขปัญหาทั่วไปที่พบบ่อย และปัญหาเฉพาะทางของหุ่นจำลองชนิด task trainer

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักเทคนิคด้านการใช้สถานการณ์จำลองทางการแพทย์ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10101.01

เตรียมหุ่นจำลองชนิด task trainer ให้พร้อมใช้งาน

1. ประสานงานกับผู้สอนเกี่ยวกับแผนการสอนในสถานการณ์จำลอง 

10101.01.01 214242
10101.01

เตรียมหุ่นจำลองชนิด task trainer ให้พร้อมใช้งาน

2. เตรียมหุ่นจำลองชนิด task trainer ตามแผนการสอน 

10101.01.02 214243
10101.01

เตรียมหุ่นจำลองชนิด task trainer ให้พร้อมใช้งาน

3. ตรวจสอบความพร้อมของหุ่นจำลองชนิด task trainer ตามแผนการสอน 

10101.01.03 214244
10101.01

เตรียมหุ่นจำลองชนิด task trainer ให้พร้อมใช้งาน

4. นำหุ่นจำลองชนิด task trainer ไปติดตั้งในสถานการณ์ จำลองได้ตามแผนการสอน

10101.01.04 214245
10101.02

สนับสนุนการใช้งานหุ่นจำลองชนิด task trainer

1. ควบคุมการใช้งานหุ่นจำลองชนิด task trainer สำหรับการสอนในสถานการณ์จำลอง

10101.02.01 214246
10101.02

สนับสนุนการใช้งานหุ่นจำลองชนิด task trainer

2. ช่วยเหลือผู้สอนในการใช้ หุ่นจำลองชนิด task trainer

10101.02.02 214247
10101.02

สนับสนุนการใช้งานหุ่นจำลองชนิด task trainer

3. แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นของหุ่นจำลองชนิด task trainer ขณะสอน

10101.02.03 214248
10101.03

ดูแลหุ่นจำลองชนิด task trainer หลังการใช้งาน

1. เก็บรักษาหุ่นจำลองชนิด task trainer ตามกำหนดในคู่มือการปฏิบัติของแต่ละอุปกรณ์

10101.03.01 214249
10101.03

ดูแลหุ่นจำลองชนิด task trainer หลังการใช้งาน

2. ทำความสะอาดหุ่นจำลองชนิด task trainer ได้ตามกำหนดในคู่มือการปฏิบัติของแต่ละอุปกรณ์ 

10101.03.02 214250
10101.03

ดูแลหุ่นจำลองชนิด task trainer หลังการใช้งาน

3. บำรุงรักษาหุ่นจำลองชนิด task trainer ได้ตามคู่มือการปฏิบัติของแต่ละอุปกรณ์ 

10101.03.03 214251
10101.03

ดูแลหุ่นจำลองชนิด task trainer หลังการใช้งาน

4. ประสานกับตัวแทนหรือบริษัทเพื่อติดตามการบำรุงรักษาหุ่นจำลองชนิด task trainer ตามรอบเวลาที่กำหนด 

10101.03.04 214252
10101.03

ดูแลหุ่นจำลองชนิด task trainer หลังการใช้งาน

5. จัดทำทะเบียนข้อมูลของหุ่นจำลองชนิด task trainer ให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบันตามข้อกำหนดของหน่วยงาน 

10101.03.05 214253
10101.03

ดูแลหุ่นจำลองชนิด task trainer หลังการใช้งาน

6. จัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานหุ่นจำลองชนิด task trainer

10101.03.06 214254
10101.04

แก้ไขปัญหาทั่วไปที่พบบ่อยของหุ่นจำลองชนิด task trainer

1. ระบุปัญหาทั่วไปที่พบบ่อยของหุ่นจำลองชนิด task trainer 

10101.04.01 214255
10101.04

แก้ไขปัญหาทั่วไปที่พบบ่อยของหุ่นจำลองชนิด task trainer

2. ซ่อมแซมหุ่นจำลองชนิด task trainer ในขั้นพื้นฐานได้ 

10101.04.02 214256
10101.04

แก้ไขปัญหาทั่วไปที่พบบ่อยของหุ่นจำลองชนิด task trainer

3. เปลี่ยนชิ้นส่วนของหุ่นจำลองชนิด task trainer ได้ตามคู่มือการปฏิบัติของแต่ละอุปกรณ์

10101.04.03 214257
10101.05

แก้ไขปัญหาเฉพาะทางของหุ่นจำลองชนิด task trainer

1. ระบุปัญหาเฉพาะทางของหุ่นจำลองชนิด task trainer 

10101.05.01 214270
10101.05

แก้ไขปัญหาเฉพาะทางของหุ่นจำลองชนิด task trainer

2. ติดต่อประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องในการซ่อมแซมหุ่นจำลองชนิด task trainer หรือการหาอุปกรณ์ทดแทน 

10101.05.02 214271
10101.05

แก้ไขปัญหาเฉพาะทางของหุ่นจำลองชนิด task trainer

3. ประยุกต์ใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมืออื่นๆ เพื่อทดแทนหุ่นจำลองชนิด task trainer ที่จำเป็นต้องใช้ในสถานการณ์จำลอง

10101.05.03 214272

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความรู้เกี่ยวกับชื่อ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) และหน้าที่หลักของอวัยวะสำคัญในร่างกายที่เกี่ยวข้องกับหุ่นจำลอง task trainer

2. ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่พื้นฐานของบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการทำหัตถการผู้ป่วย

3. ความรู้เกี่ยวกับชื่อ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ของอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้ในการทำหัตถการที่เกี่ยวข้องกับการใช้หุ่นจำลอง task trainer

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการสื่อสารกับผู้สอนเพื่อทำความเข้าใจแผนการสอน

2.    ทักษะในการตรวจสอบความพร้อมใช้งานของหุ่นจำลองชนิด task trainer  

3.    ทักษะในการนำหุ่นจำลองชนิด task trainer ไปติดตั้งสถานการณ์จำลองให้ตรงกับแผนการสอนของอาจารย์

4.    ทักษะในการควบคุมการใช้งานของหุ่นจำลองชนิด task trainer

5.    ทักษะในการแก้ไขปัญหาของหุ่นจำลอง

6.    ทักษะในการสื่อสารกับผู้สอน ผู้เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานอื่นๆ

7.    ทักษะในการดูแลบำรุงรักษาหุ่นจำลองชนิด task trainer

8.    ทักษะในการจัดทำทะเบียนข้อมูลและการจัดเก็บเอกสาร

9.    ทักษะในการตรวจสอบปัญหาของหุ่นจำลองชนิด task trainer

10.  ทักษะในการซ่อมแซมหุ่นจำลองชนิด task trainer

11.   ทักษะในการเปลี่ยนชิ้นส่วนของหุ่นจำลองชนิด task trainer

12.   ทักษะในการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ทดแทนหุ่นจำลองชนิด task trainer

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับแผนการสอนด้วยสถานการณ์จำลอง

2.    ความรู้เกี่ยวกับชนิดของ task trainer

3.    ความรู้เกี่ยวกับระบบการทำงานของ task trainer          

4.    ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบความพร้อมของหุ่นจำลองชนิด task trainer เพื่อให้พร้อมใช้งาน

5.    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการแก้ไขปัญหาของหุ่นจำลองชนิด task trainer         

6.    ความรู้เกี่ยวกับการดูแลบำรุงรักษาหุ่นจำลองชนิด task trainer7

7.    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการสื่อสารและการประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง

8.    ความรู้ในการใช้โปรแกรมเอกสารพื้นฐาน

9.    ความรู้ในการจัดทำข้อมูลให้เป็นระบบ

10.   ความรู้เกี่ยวกับปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นกับหุ่นจำลองชนิด task trainer

11.   ความรู้เกี่ยวกับชิ้นส่วนของหุ่นจำลองชนิด task trainer    

12.   ความรู้เกี่ยวกับประยุกต์ใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมืออื่นๆ เพื่อทดแทนหุ่นจำลองชนิด task trainer          

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การ ปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(1)    หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

        1.    หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

        2.    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

        3.    แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้

(2)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

       1.    ใบรับรองผลการศึกษา หรือ 

       2.    ใบรับรองการผ่านงาน หรือ

       3.    ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง 

(3)    คำแนะนำในการประเมิน

        เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะ สนับสนุนการสอนในสถานการณ์จำลองที่ใช้หุ่นจำลองชนิด task trainer โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(4) วิธีการประเมิน    

      - พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติ ได้แก่ หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ และการสอบปฏิบัติ 

      - พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ ใบรับรองผลการศึกษา หรือ ใบรับรองการผ่านงาน หรือประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง การสอบข้อเขียนและการสอบสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

       ขอบเขตการปฏิบัติงาน การสนับสนุนการสอนในสถานการณ์จำลองที่ใช้หุ่นจำลองชนิด task trainer ครอบคลุมตั้งแต่การตรวจสอบความพร้อมของหุ่นจำลองชนิด task trainer หมายถึง กระบวนการตั้งแต่การวางแผนตารางงานเพื่อให้มีการตรวจสอบความพร้อมใช้งานของหุ่นจำลองชนิด task trainer โดยต้องเตรียมให้มีชนิดและจำนวนของหุ่นจำลองชนิด task trainer ถูกต้องตามที่ผู้สอนระบุไว้ในแผนการสอน นอกจากนี้ ยังต้องตรวจสอบหุ่นจำลองชนิด task trainer ที่เตรียมไว้ว่า มีชิ้นส่วนครบถ้วน และสามารถใช้งานได้สมบูรณ์เต็มประสิทธิภาพทุกชิ้นเพื่อให้ผู้สอนสามารถสอนได้อย่างเต็มที่และลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นในขณะใช้งาน นอกจากนี้ ก่อนถึงวันและเวลาสอนที่กำหนดไว้ จะต้องนำหุ่นจำลองชนิด task trainer ที่เตรียมไว้แล้วไปติดตั้งในสถานที่สำหรับการสอนสถานการณ์จำลองได้ถูกต้องตามที่ผู้สอนกำหนดไว้

      กระบวนการสนับสนุนการใช้งาน หมายถึง การควบคุมการใช้งานหุ่นจำลองชนิด task trainer ในการสอนด้วยสถานการณ์จำลองให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ได้แก่ การทบทวนแผนการสอนในส่วนที่เกี่ยวข้องล่วงหน้า ก่อนถึงเวลาสอน ทำการซักซ้อมทำความเข้าใจกับผู้สอน เพื่อวางแผนการใช้งาน task trainer ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อเริ่มการเรียนการสอน ให้ความช่วยเหลือในด้านเทคนิคกับผู้สอน เพื่อให้สถานการณ์จำลองสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น      

      กระบวนการดูแลหุ่นจำลองชนิด task trainer หมายถึง กระบวนการตรวจสอบตามวงรอบการดูแลและบำรุงรักษาหุ่นชนิด task trainer ถ้าหากการดูแลและบำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการสอนในสถานการณ์จำลองตามรอบเวลานั้น อยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานที่ผู้เข้ารับการประเมินสังกัดอยู่ ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องดำเนินการตามแนวทางที่อยู่ในคู่มือหรือคำแนะนำได้ ถ้าหากอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการสอนในสถานการณ์จำลองตามรอบเวลานั้นอยู่ภายใต้การดูแลของตัวแทนหรือบริษัทผู้จำหน่าย ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องวางแผนเพื่อให้ตัวแทนหรือบริษัทผู้จำหน่ายเข้ามาทำการดูแลรักษา และดำเนินการติดต่อสื่อสารให้ได้ผลลัพธ์ที่กำหนด เมื่อได้ทำการดูแลและบำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการสอนในสถานการณ์จำลองตามรอบแล้ว ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลการบำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือได้อย่างเป็นระบบ   

(1)    คำแนะนำ 

        1)    สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถอธิบายหรือแสดงขั้นตอนในการเตรียม การสนับสนุนการใช้งาน การดูแลหลังการใช้งาน และการแก้ไขปัญหาทั่วไปที่พบบ่อยและปัญหาเฉพาะทางของหุ่นจำลองชนิด task trainer

        2)    สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้

(2)    คำอธิบายรายละเอียด

         1.    หุ่นจำลองชนิด task trainer หมายถึง หุ่นจำลองที่จำลองรูปร่างของมนุษย์ โดยจำลองแค่บางชิ้นส่วนของร่างกายหรือทั้งตัวก็ได้ โดยภายในโครงสร้างของหุ่นจำลอง ไม่สามารถแสดงสรีรวิทยาของมนุษย์ได้อย่างเสมือนจริง มักใช้ในการสอนทักษะเฉพาะหรือการฝึกหัตถการ เช่น การฝึกใส่ท่อช่วยหายใจ การฝึกฉีดยาหรือแทงเส้นเลือด เป็นต้น โดยการใช้งานหุ่นจำลองประเภทนี้สามารถนำไปประกอบกับร่างกายผู้ป่วยจำลอง เรียกว่า hybrid simulation เพื่อใช้สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะ ได้แก่ การฝึกทำหัตถการบางอย่างในหุ่นจำลองควบคู่ไปกับการฝึกการสื่อสารกับผู้ป่วยไปด้วยก็ได้

         2.    ปัญหาทั่วไปที่พบบ่อยของหุ่นจำลองชนิด task trainer หมายถึง ปัญหาที่ไม่ซับซ้อน เกิดขึ้นได้บ่อย สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเองเมื่อปฏิบัติตามคู่มือการใช้งานหุ่นจำลอง  เช่น ชิ้นส่วนหลุดออกจากกัน หรือชิ้นส่วนเสียหาย สสารหรือส่วนประกอบแบบหาได้ทั่วไปหมดหรือเสื่อมสภาพ เช่น น้ำ อากาศ เป็นต้น

         3.    ปัญหาเฉพาะทางของหุ่นจำลองชนิด task trainer เช่น ชิ้นส่วนหรือกลไกภายในเสียหายจนทำงานไม่ได้ สสารหรือส่วนประกอบที่ไม่สามารถหาได้ทั่วไปหมดหรือเสื่อมสภาพ เช่น น้ำมัน ก๊าซ เนื้อเทียม วงจรไฟฟ้า แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ สายไฟ เป็นต้น

         4.    ชิ้นส่วนของหุ่นจำลองชนิด task trainer หมายถึง ชิ้นส่วนของหุ่นจำลองที่ต้องเปลี่ยนตามรอบการใช้งานตามปกติ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบข้อเขียน ประเมินความรู้เตรียมหุ่นจำลองชนิด task trainer ให้พร้อมใช้งาน สนับสนุนการใช้งานหุ่นจำลองชนิด task trainer ดูแลหุ่นจำลองชนิด task trainer หลังการใช้งาน แก้ไขปัญหาทั่วไปที่พบบ่อยของหุ่นจำลองชนิด task trainer และแก้ไขปัญหาเฉพาะทางของหุ่นจำลองชนิด task trainer

18.2 การสอบสัมภาษณ์ ประเมินความรู้เตรียมหุ่นจำลองชนิด task trainer ให้พร้อมใช้งาน ดูแลหุ่นจำลองชนิด task trainer หลังการใช้งาน และแก้ไขปัญหาเฉพาะทางของหุ่นจำลองชนิด task trainer    

18.3 การสอบปฏิบัติ ประเมินการปฏิบัติงานเตรียมหุ่นจำลองชนิด task trainer ให้พร้อมใช้งาน สนับสนุนการใช้งานหุ่นจำลองชนิด task trainer ดูแลหุ่นจำลองชนิด task trainer หลังการใช้งาน แก้ไขปัญหาทั่วไปที่พบบ่อยของหุ่นจำลองชนิด task trainer และแก้ไขปัญหาเฉพาะทางของหุ่นจำลองชนิด task trainer



 



ยินดีต้อนรับ