หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติการสอนงานช่างเชื่อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สาขาวิชาชีพการเชื่อมอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WEL-QOJN-118B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติการสอนงานช่างเชื่อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO : 3122


1 3122 หัวหน้าคุมงานด้านการผลิต

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
จัดเตรียมการสอนงานช่างเชื่อม โดยมีการวิเคราะห์งานช่างเชื่อมเพื่อกำหนดหัวข้อการสอน วางแผนและเตรียมสื่อการสอนงานช่างเชื่อม รวมถึงดำเนินการสอนงานช่างเชื่อมได้อย่างถูกต้อง ใช้วิธีการสอนงานได้อย่างเหมาะสมกับลักษณะงาน ถูกต้องตามขั้นตอนที่กำหนด ติดตามผลการสอนและประเมินผลการนำไปใช้งานได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างเชื่อมอาวุโส หัวหน้าช่างเชื่อม ผู้ชำนาญการเชื่อม ผู้ควบคุมงานเชื่อมอุตสาหกรรม นักเทคโนโลยีการเชื่อมอุตสาหกรรม หรือบุคลากรงานเชื่อมในสาขาวิชาชีพการเชื่อมอุตสาหกรรมและกลุ่มอาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ผู้ควบคุมงานเชื่อมอุตสาหกรรมนักเทคโนโลยีการเชื่อมอุตสาหกรรม 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30WD71

จัดเตรียมการสอนงานช่างเชื่อม

1. วิเคราะห์งานช่างเชื่อมเพื่อกำหนดหัวข้อการสอน

30WD71.01 214169
30WD71

จัดเตรียมการสอนงานช่างเชื่อม

2. วางแผนการสอนงานช่างเชื่อม


30WD71.02 214170
30WD71

จัดเตรียมการสอนงานช่างเชื่อม

3. เตรียมสื่อการสอนงานช่างเชื่อม

30WD71.03 214171
30WD72

ดำเนินการสอนงานช่างเชื่อมได้อย่างถูกต้อง

1. เลือกใช้วิธีการสอนงานได้อย่างเหมาะสมกับลักษณะงาน

30WD72.01 214172
30WD72

ดำเนินการสอนงานช่างเชื่อมได้อย่างถูกต้อง

2. ดำเนินการสอนได้ถูกต้องตามขั้นตอนที่กำหนด

30WD72.02 214173
30WD72

ดำเนินการสอนงานช่างเชื่อมได้อย่างถูกต้อง

3. ติดตามผลการสอนและประเมินผลการนำไปใช้งานอย่างถูกต้อง

30WD72.03 214174

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถวิเคราะห์งานช่างเชื่อมเพื่อกำหนดหัวข้อการสอน

2. สามารถวางแผนการสอนงานช่างเชื่อม

3. สามารถจัดทำสื่อการสอนงานช่างเชื่อม

4. สามารถดำเนินการสอนงานช่างเชื่อม

5. สามารถประเมินผลการสอนงานช่างเชื่อม

  

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์งาน

2. ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบสื่อการสอนเบื้องต้น

3. ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการสอน

4. ความรู้เกี่ยวกับการจัดเตรียมการสอน

5. ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการสอนหน้างาน (On the job training)

6. ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการสอนนอกงาน (Off the job training)

7. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการติดตามและประเมินผล (Follow up) การนำความรู้ไปใช้หลังการสอน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

1. เอกสารการวางแผนการสอนหรือฝึกอบรมช่างเชื่อม

2. ตัวอย่างสื่อการสอนช่างเชื่อม

3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

หลักฐานที่แสดงถึงความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์งาน กระบวนการเชื่อม ทฤษฎีและการปฏิบัติงานเชื่อมเบื้องต้น เทคนิคการสอนหน้างาน (On the job training) เทคนิคการสอนนอกงาน (Off the job training) การเป็นผู้สอนงาน วิธีการติดตามและประเมินผล (Follow up) การนำความรู้ไปใช้หลังการสอน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญ ตรงตามสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน    

1. การสอบข้อเขียน

2. การสอบสัมภาษณ์

3. แฟ้มสะสมผลงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

การวิเคราะห์และการวางแผนสอน ให้คำนึงถึงหัวข้อข้อการสอนที่สอดคล้องกับความต้องการ การปฏิบัติการสอนงาน ให้คำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ในการเตรียมการสอน เทคนิคการสอน หน้างาน (On the job training) เทคนิคการสอนนอกงาน (Off the job training)  การติดตามและการประเมินผลการนำความรู้ไปใช้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    1. งานเชื่อมได้ถูกวิเคราะห์อย่างถูกต้องเพื่อกำหนดเป็นหัวข้อการสอน

    2. การสอนได้รับการวางแผนไว้อย่างถูกต้อง

    3. ปัจจัยต่าง ๆ ในการเตรียมการสอน ได้แก่ สถานที่ วัสดุ เครื่องมืออุปกรณ์การฝึกและการสอน ความพร้อมของช่างเชื่อม รวมถึงการจัดกลุ่มช่างเชื่อมเพื่อทำการสอน

    4. การสอนช่างช่างเชื่อมแบบเทคนิคการสอนหน้างาน (On the job training)

    5. การสอนช่างเชื่อมแบบเทคนิคการสอนนอกงาน (Off the job training) ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ การนำเข้าสู่บทเรียน การให้เนื้อหา การประยุกต์ใช้งาน ประเมินผล

    6. การติดตามและประเมินผลการนำความรู้ไปใช้ของช่างเชื่อมจะทำการประเมินหลังการสอนแล้ว 3-6 เดือน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. การสอบข้อเขียน ได้แก่ แบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก

2. การสอบสัมภาษณ์ 

3. แฟ้มสะสมผลงาน

            ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ