หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปรับปรุงคุณภาพงานเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอน

สาขาวิชาชีพการเชื่อมอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WEL-ECFP-115B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปรับปรุงคุณภาพงานเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO : 3122


1 3122 หัวหน้าคุมงานด้านการผลิต

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
จำแนกประเภทของปัญหาด้านคุณภาพที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพงานเชื่อมได้สอดคล้องกับลักษณะงาน ดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพงานเชื่อมได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและจัดทำมาตรฐานคุณภาพของงานเชื่อมได้ถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างเชื่อมอาวุโส หัวหน้าช่างเชื่อม ผู้ชำนาญการเชื่อม ผู้ควบคุมงานเชื่อมอุตสาหกรรม นักเทคโนโลยีการเชื่อมอุตสาหกรรม หรือบุคลากรงานเชื่อมในสาขาวิชาชีพการเชื่อมอุตสาหกรรมและกลุ่มอาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ผู้ควบคุมงานเชื่อมอุตสาหกรรมนักเทคโนโลยีการเชื่อมอุตสาหกรรม  

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ISO 6520 Classification of geometric imperfection in metallic material. Part 1: Fusion welding

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30WD41

จำแนกชนิดของปัญหาด้านคุณภาพที่เกิดขึ้นกับงานเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอน

1. อธิบายชนิดของความไม่สมบูรณ์ในงานเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอนได้อย่างถูกต้อง

30WD41.01 214145
30WD41

จำแนกชนิดของปัญหาด้านคุณภาพที่เกิดขึ้นกับงานเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอน

2. อธิบายสาเหตุและวิธีการแก้ปัญหาความไม่สมบูรณ์ในงานเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอนได้อย่างถูกต้อง

30WD41.02 214146
30WD41

จำแนกชนิดของปัญหาด้านคุณภาพที่เกิดขึ้นกับงานเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอน

3. อธิบายเกณฑ์การยอมรับความไม่สมบูรณ์ในงานเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอนได้อย่างถูกต้อง

30WD41.03 214147
30WD42

ดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพงานเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอน

1. กำหนดขั้นตอนการแก้ไขปัญหาคุณภาพงานเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอนได้อย่างถูกต้อง

30WD42.01 214148
30WD42

ดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพงานเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอน

2. ดำเนินการตามขั้นตอนการแก้ไขปัญหาคุณภาพงานเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอนได้อย่างถูกต้อง

30WD42.02 214149
30WD43

จัดทำระเบียบวิธีปฏิบัติด้านคุณภาพงานเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอน

1. จัดทำคู่มือวิธีปฏิบัติงานเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอนได้อย่างถูกต้อง

30WD43.01 214150
30WD43

จัดทำระเบียบวิธีปฏิบัติด้านคุณภาพงานเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอน

2. จัดทำคู่มือวิธีการควบคุมคุณภาพงานเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอนได้อย่างถูกต้อง

30WD43.02 214151
30WD43

จัดทำระเบียบวิธีปฏิบัติด้านคุณภาพงานเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอน

3. จัดทำระเบียบวิธีปฏิบัติการปรับปรุงคุณภาพงานเชื่อม เหล็กกล้าคาร์บอนได้อย่างถูกต้อง

30WD43.03 214152

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถรวบรวมปัญหาคุณภาพด้านงานเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอน

2. สามารถจำแนกประเภทปัญหาคุณภาพงานเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอน

3. สามารถกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพงานเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอน

4. สามารถจัดเตรียมความพร้อมในการแก้ปัญหางานเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอน

5. สามารถดำเนินการแก้ใขตามกระบวนการแก้ปัญหางานเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอน

6. ความสามารถจัดทำมาตรฐานคุณภาพงานเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับชนิดของความไม่สมบูรณ์ในงานเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอน

2. ความรู้เกี่ยวกับปัญหาการเสียรูปทรงในงานเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอน

3. ความรู้เกี่ยวกับการเทคนิควิธีการแก้ปัญหาด้านคุณภาพงานเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอน

4. ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำมาตรฐานคุณภาพงานเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

1. เอกสารรายงานปัญหาคุณภาพด้านงานเชื่อม

2. ชิ้นงานเชื่อม หรือ ภาพถ่ายชิ้นงานเชื่อมที่เกิดปัญหา

3. เอกสารการแก้ไขปรับปรุงปัญหาด้านคุณภาพงานเชื่อม

4. เอกสารมาตรฐานคุณภาพของงานเชื่อม

5. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

หลักฐานที่แสดงถึงความรู้เกี่ยวกับชนิดของความไม่สมบูรณ์ในงานเชื่อม ปัญหาการเสียรูปทรงในงานเชื่อม เทคนิควิธีการแก้ปัญหาด้านคุณภาพงานเชื่อม และการจัดทำมาตรฐานคุณภาพงานเชื่อม



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญ ตรงตามสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน    

1. การสอบข้อเขียน

2. การสอบสัมภาษณ์

3. แฟ้มสะสมผลงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

การปรับปรุงคุณภาพงานเชื่อม คำนึงถึงประเภทของปัญหาด้านงานเชื่อม การจัดเตรียมความพร้อมในการแก้ปัญหา การกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาและการจัดทำมาตรฐานงานเชื่อม



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    1. ประเภทของปัญหาด้านงานเชื่อมจำแนกได้ 2 ลักษณะดังนี้คือ 

            1.1 ปัญหาความไม่สมบูรณ์ในงานเชื่อม ได้แก่ รอยแตกร้าว โพรงอากาศ สารฝังใน หลอมละลายไม่สมบูรณ์ รูปร่างภายนอกไม่สมบูรณ์ การกัดกร่อน การแตกหักเสียหาย

            1.2 ปัญหาของการเสียรูปทรงในชิ้นงานเชื่อม ได้แก่ การบิดงอ ความเค้นในงานเชื่อม  

    2. การกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาด้านคุณภาพงานเชื่อมจะต้องครอบคลุมถึง วิธีการป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นจากความไม่สมบูรณ์ในงานเชื่อมและปัญหาการเสียรูปทรงในชิ้นงานเชื่อม

    3. การจัดเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหาประกอบด้วย การประชุมคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง การวางแผนการปฏิบัติการแก้ไขตามแนวทางที่กำหนด การจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์

    4. กระบวนการแก้ไข ประกอบด้วย การแก้ไขทางกายภาพ และการให้ความรู้กับช่างเชื่อม

    5. มาตรฐานคุณภาพของงานเชื่อมจัดทำขึ้นหลังจากการแก้ปัญหาได้บรรลุตามแนวทางที่กำหนด และเพื่อให้ปัญหาในงานเชื่อมดังกล่าวไม่เกิดขึ้นอีกจึงต้องจัดทำเป็นมาตรฐานคุณภาพงานเชื่อมต่อไป

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. การสอบข้อเขียน ได้แก่ แบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก

2. การสอบสัมภาษณ์ 

3. แฟ้มสะสมผลงาน

            ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ