หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบคุณภาพงานเชื่อมแม็กตามใบสั่งงานรอยเชื่อมต่อชนท่อ (Butt Weld)

สาขาวิชาชีพการเชื่อมอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WEL-FTPE-097B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบคุณภาพงานเชื่อมแม็กตามใบสั่งงานรอยเชื่อมต่อชนท่อ (Butt Weld)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO : 7212.3 Welder


1 7212 ช่างเชื่อมและช่างตัดโลหะด้วยเปลวไฟ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้ที่สามารถตรวจสอบคุณภาพงานเชื่อมแม็ก รอยเชื่อมต่อชนท่อ (Butt Weld) ตามแบบงานได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างเชื่อมแม็ก ที่ทำงานในสาขาวิชาชีพการเชื่อมอุตสาหกรรม หรือมาจากกลุ่มอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
AWS D1.1 Structure welding code steelAWS D1.6 Structure welding code stainless steelAWS A5.9 Specification for Bare Stainless Steel Welding Electrodes and Rods AWS A5.18 Specification for carbon steel electrode and rods for gas shielding arcISO 2553 Welded, brazed and soldered joint- Symbolic representation on drawingISO 9606 Qualification of welders - Fusion   ISO 5817 Welding-Fusion-Welded joint in steel, nickel, titanium and their alloys (beam welding excluded)- quality levels for imperfection 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10MA91

ทำความสะอาดชิ้นงานเชื่อมแม็กรอยเชื่อมต่อชนท่อ (Butt Weld) ได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล

1. ทำความสะอาดชิ้นงานระหว่างการเชื่อมได้อย่างถูกต้อง

10MA91.01 214054
10MA91

ทำความสะอาดชิ้นงานเชื่อมแม็กรอยเชื่อมต่อชนท่อ (Butt Weld) ได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล

2. ทำความสะอาดชิ้นงานหลังการเชื่อมได้อย่างถูกต้อง

10MA91.02 214055
10MA92

ตรวจสอบคุณภาพรอยเชื่อมแม็กรอยเชื่อมต่อชนท่อ (Butt Weld) ด้วยการตรวจพินิจตามมาตรฐานสากล

1. ระบุความไม่สมบูรณ์ของรอยเชื่อมต่อชนท่อ (Butt Weld) ได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล

10MA92.01 214056
10MA92

ตรวจสอบคุณภาพรอยเชื่อมแม็กรอยเชื่อมต่อชนท่อ (Butt Weld) ด้วยการตรวจพินิจตามมาตรฐานสากล

2. ตรวจสอบรอยเชื่อมต่อชนท่อ (Butt Weld) ด้วยการตรวจพินิจได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล

10MA92.02 214057

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

มีทักษะการใช้เครื่องเจียรไฟฟ้า


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถจัดเตรียมอุปกรณ์การทำความสะอาดชิ้นงานเชื่อม

2. สามารถทำความสะอาดชิ้นงานเชื่อม

3. สามารถตรวจสอบรอยเชื่อมต่อชนท่อ (Butt Weld) ด้วยการตรวจพินิจได้

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ทำความสะอาดชิ้นงานเชื่อม

2. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทำความสะอาดชิ้นงานเชื่อม

3. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบชิ้นงานเชื่อมด้วยการตรวจพินิจ

4. ความรู้เกี่ยวกับความไม่สมบูรณ์ของชิ้นงานเชื่อม

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

ชิ้นงานที่ผ่านการเชื่อมรอยเชื่อมต่อชนท่อ (Butt Weld)



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

หลักฐานที่แสดงถึงความรู้เกี่ยวกับ การตรวจสอบรอยเชื่อมด้วยการตรวจพินิจ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญ ตรงตามสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน    

1. การสอบข้อเขียน

2. การสาธิตปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

การตรวจสอบคุณภาพรอยเชื่อม ให้คำนึงถึงคุณภาพชิ้นงานที่ได้รับการเชื่อมแล้ว



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. คุณภาพของชิ้นงานที่ได้รับการเชื่อมแล้วต้องผ่านการตรวจสอบด้วยการตรวจพินิจ ตามข้อกำหนด ISO 5817 เช่น จุดบกพร่องแบบรอยต่อไม่ดี แนวเชื่อมนูนเกิน รอยกัดแหว่ง เป็นต้น

2. ปฏิบัติการแก้ไขปรับปรุงชิ้นงานเชื่อมให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด เช่น การเจียรนัย การเชื่อมซ่อม เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. การสอบข้อเขียน ได้แก่ แบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก

2. การสาธิตปฏิบัติงาน ให้ปฏิบัติตามใบสั่งงาน 

            ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ