หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

อธิบายหลักการเชื่อมอะลูมิเนียม

สาขาวิชาชีพการเชื่อมอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WEL-KDFM-114B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ อธิบายหลักการเชื่อมอะลูมิเนียม

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO : 7212.3 Welder

ISCO : 3122 Manufacturing Supervisors

 


1 3122 หัวหน้าคุมงานด้านการผลิต
1 7212 ช่างเชื่อมและช่างตัดโลหะด้วยเปลวไฟ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้ที่มีความรู้พื้นฐานในการเชื่อมอะลูมิเนียม รู้ความสามารถในการเชื่อมได้ของอะลูมิเนียม  รู้สาเหตุของปัญหาในการเชื่อมอะลูมิเนียม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างเชื่อมทิก ช่างเชื่อมมิก ที่ทำงานในสาขาวิชาชีพการเชื่อมอุตสาหกรรม หรือมาจากกลุ่มอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ช่างเชื่อมทิกช่างเชื่อมมิกนักเทคโนโลยีการเชื่อมอุตสาหกรรม  

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
AWS D1.2 Structure welding code aluminumISO/TR 15608: Welding - Guidelines for a metallic material grouping system 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30WD31

รู้ความสามารถในการเชื่อมได้ของอะลูมิเนียม

1. อธิบายหลักการทำความสะอาดผิวชิ้นงานอะลูมิเนียมก่อนการเชื่อม

30WD31.01 214141
30WD31

รู้ความสามารถในการเชื่อมได้ของอะลูมิเนียม

2. อธิบายหลักการควบคุมอุณหภูมิระหว่างเที่ยวเชื่อม (Interpass temperature) ตามใบสั่งงานได้อย่างถูกต้อง

30WD31.02 214142
30WD32

รู้สาเหตุของปัญหาในการเชื่อมอะลูมิเนียม

1. ระบุปัญหาที่เกิดจากการเตรียมชิ้นงานได้

30WD32.01 214143
30WD32

รู้สาเหตุของปัญหาในการเชื่อมอะลูมิเนียม

2. ระบุปัญหาที่เกิดจากกระบวนการเชื่อมได้

30WD32.02 214144

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการเตรียมงานสำหรับการเชื่อมอะลูมิเนียม

2. สามารถปฏิบัติตามกรรมวิธีการเชื่อมอะลูมิเนียม

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับความสามารถในการเชื่อมได้ของอะลูมิเนียม

2. ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของปัญหาในการเชื่อมอะลูมิเนียม

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

1. การเตรียมงานสำหรับการเชื่อมอะลูมิเนียม

2. การปฏิบัติตามกรรมวิธีการเชื่อมอะลูมิเนียม



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

หลักฐานที่แสดงถึงความรู้เกี่ยวกับความสามารถในการเชื่อมได้ของอะลูมิเนียม และรู้สาเหตุของปัญหาในการเชื่อมอะลูมิเนียม



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญ ตรงตามสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน    

1. การสอบข้อเขียน

2. การสอบสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

    การปฏิบัติงานให้คำนึงถึงการปฏิบัติตามกรรมวิธีการเชื่อมอะลูมิเนียม รู้ความสามารถในการเชื่อมได้ของอะลูมิเนียม และรู้สาเหตุของปัญหาในการเชื่อมอะลูมิเนียม



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    ผิวอะลูมิเนียมเกิดออกไซด์ได้ง่าย ซึ่งมีคุณสมบัติแข็งและมีจุดหลอมเหลวสูงคือ 2060 °C ทำให้ทนต่อการกัดกร่อนจากกรด ด่าง และอากาศ ความสามารถในการทนต่อการกัดกร่อนของอะลูมิเนียมนั้น ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของอะลูมิเนียม ธาตุบางชนิดที่อยู่ในอะลูมิเนียม เช่น ทองแดง เหล็ก จะทำให้ความสามารถต่อการทนต่อการกัดกร่อนลดลง ความแข็งของอะลูมิเนียมมีค่าต่ำ คือ 15-25 HB ค่าความต้านแรงดึงมีค่า 40-100 Mpa ค่าความเค้นราก 10-80 MPa ค่ายังโมดูลัส 71000 Mpa (1/3 ของเหล็ก) ค่าความต้านแรงดึงของอะลูมิเนียม จะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อได้รับความร้อน เช่นที่ 200 °C ค่าความต้านแรงดึงจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด ค่าความต้านแรงดึงที่เพิ่มขึ้นจากการขึ้นรูปเย็น จะลดลงถ้าอะลูมิเนียมได้รับความร้อน อะลูมิเนียมมีโอกาสเป็นรูพรุนได้ง่ายขณะทำการเชื่อม ซึ่งเกิดจากแก๊สไฮโดรเจนอันเกิดขึ้นในระหว่างเชื่อม



    การทำความสะอาดอะลูมิเนียมก่อนทำการเชื่อม

    การทำความสะอาดพื้นผิวอะลูมิเนียมก่อนทำการเชื่อมเป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้แน่ใจว่ารอยเชื่อมมีคุณภาพสูง แข็งแรง และทนทาน ชั้นออกไซด์ตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวอะลูมิเนียมมีจุดหลอมเหลวสูงกว่าโลหะพื้นฐาน ซึ่งชั้นออกไซด์นี้จะขัดขวางการไหลของโลหะเชื่อม จำกัดการซึมผ่านวัสดุเติม (Filler) ลงในบริเวณเชื่อม และทำให้เกิดรอยเชื่อมที่อ่อนแอและมีรูพรุน จึงจำเป็นต้องทำความสะอาดพื้นผิวก่อนทำการเชื่อม มีหลายวิธีในการทำความสะอาดอะลูมิเนียมก่อนเชื่อม  วิธีที่นิยมใช้ ได้แก่

    1. การเช็ดพื้นผิวด้วยตัวทำละลาย เช่น อะซิโตน เพื่อขจัดคราบไขมัน น้ำมัน และสิ่งสกปรก สวมถุงมือและแว่นตานิรภัยเมื่อใช้ตัวทำละลาย ระบายอากาศในบริเวณที่ทำงานให้เพียงพอ

    2. การใช้สารเคมีทำความสะอาด มีสารเคมีทำความสะอาดอะลูมิเนียมชนิดพิเศษที่มีวางจำหน่ายโดยทั่วไป โดยใช้งานตามคำแนะนำของผู้ผลิตอย่างเคร่งครัด เมื่อใช้สารเคมีทำความสะอาดควรสวมถุงมือ และแว่นตานิรภัย

    3. การใช้แปรงลวด ใช้แปรงลวดสแตนเลสขัดพื้นผิวอะลูมิเนียมเพื่อขจัดชั้นออกไซด์ โดยขัดในทิศทางเดียวเพื่อหลีกเลี่ยงการทิ้งรอยขีดข่วนบนพื้นผิว ใช้แปรงดูดฝุ่นเพื่อกำจัดเศษโลหะออก

    4. การใช้เลเซอร์ การทำความสะอาดด้วยเลเซอร์เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงในการขจัดชั้นออกไซด์ออกจากอะลูมิเนียม วิธีนี้รวดเร็ว แม่นยำ และไม่ต้องใช้สารเคมี แต่มีค่าใช้จ่ายสูงจึงอาจไม่คุ้มค่าสำหรับงานเชื่อมขนาดเล็ก



    วิธีการควบคุมอุณหภูมิระหว่างเที่ยวเชื่อม

    มีวิธีการควบคุมอุณหภูมิระหว่างเที่ยวเชื่อมหลายวิธี วิธีที่นิยมใช้ ได้แก่ การใช้เทอร์โมมิเตอร์อินฟราเรด ช่างเชื่อมควรปฏิบัติตามกรรมวิธีการเชื่อมเพื่อกำหนดอุณหภูมิระหว่างเที่ยวเชื่อมที่เหมาะสมสำหรับงานแต่ละงาน



    ผลกระทบของอุณหภูมิระหว่างเที่ยวเชื่อมที่ไม่เหมาะสม

    อุณหภูมิระหว่างเที่ยวเชื่อมที่ต่ำเกินไป อาจทำให้เกิดรอยแตก รอยร้าว และข้อบกพร่องอื่นๆ ในรอยเชื่อม

    อุณหภูมิระหว่างเที่ยวเชื่อมที่สูงเกินไป อาจทำให้เกิดการเผาไหม้ของโลหะ รอยเชื่อมมีรูพรุน และลดความแข็งแรงของรอยเชื่อม

    

    แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับอุณหภูมิระหว่างเที่ยวเชื่อมในงานเชื่อม

    1. ควรปฏิบัติตามกรรมวิธีการเชื่อมเพื่อกำหนดอุณหภูมิระหว่างเที่ยวเชื่อมที่เหมาะสมสำหรับงานแต่ละงาน

    2. ควบคุมอุณหภูมิระหว่างเที่ยวเชื่อมให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมตลอดระยะเวลาการเชื่อม

    3. วัดอุณหภูมิของชิ้นงานสม่ำเสมอ

    4. บันทึกอุณหภูมิระหว่างเที่ยวเชื่อมในเอกสารการเชื่อม

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. การสอบข้อเขียน ได้แก่ แบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก

2. การสอบสัมภาษณ์ 

            ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ