หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมการเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือตามใบสั่งงานรอยเชื่อมต่อชนแผ่น (Butt Weld)

สาขาวิชาชีพการเชื่อมอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WEL-HCLG-065B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมการเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือตามใบสั่งงานรอยเชื่อมต่อชนแผ่น (Butt Weld)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO : 7212.3 Welder


1 7212 ช่างเชื่อมและช่างตัดโลหะด้วยเปลวไฟ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้ที่สามารถเตรียมการเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือตามใบสั่งงานได้ เช่น อ่านใบสั่งงานเชื่อม เตรียมชิ้นงาน ลวดเชื่อม เครื่องเชื่อม อุปกรณ์การเชื่อม และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือ ที่ทำงานในสาขาวิชาชีพการเชื่อมอุตสาหกรรม หรือมาจากกลุ่มอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
AWS D1.1 Structure welding code steelAWS D1.6 Structure welding code stainless steelAWS A5.9 Specification for Bare Stainless Steel Welding Electrodes and Rods AWS A5.18 Specification for carbon steel electrode and rods for gas shielding arcISO 2553 Welded, brazed and soldered joint- Symbolic representation on drawingISO 9606 Qualification of welders - Fusion   ISO 5817 Welding-Fusion-Welded joint in steel, nickel, titanium and their alloys (beam welding excluded)- quality levels for imperfection 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10MM41

อธิบายใบสั่งงานเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือรอยเชื่อมต่อชนแผ่น (Butt Weld) ได้อย่างถูกต้อง

1. อธิบายสัญลักษณ์ที่ใช้กับรอยเชื่อมต่อชนแผ่น (Butt Weld) ในใบสั่งงานได้อย่างถูกต้อง

10MM41.01 213904
10MM41

อธิบายใบสั่งงานเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือรอยเชื่อมต่อชนแผ่น (Butt Weld) ได้อย่างถูกต้อง

2. อธิบายพารามิเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมตามใบสั่งงานได้อย่างถูกต้อง

10MM41.02 213905
10MM42

เตรียมวัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือตามใบสั่งงานรอยเชื่อมต่อชนแผ่น (Butt Weld) ได้อย่างถูกต้อง

1. เตรียมชิ้นงานสำหรับรอยเชื่อมต่อชนแผ่น (Butt Weld) ตามใบสั่งงานได้อย่างถูกต้อง

10MM42.01 213906
10MM42

เตรียมวัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือตามใบสั่งงานรอยเชื่อมต่อชนแผ่น (Butt Weld) ได้อย่างถูกต้อง

2. เตรียมลวดเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือตามใบสั่งงานได้อย่างถูกต้อง

10MM42.02 213907
10MM42

เตรียมวัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือตามใบสั่งงานรอยเชื่อมต่อชนแผ่น (Butt Weld) ได้อย่างถูกต้อง

3. เตรียมเครื่องเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือและอุปกรณ์ตามใบสั่งงานได้อย่างถูกต้อง

10MM42.03 213908

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความรู้เกี่ยวกับการตัดโลหะด้วยแก๊ส

2. มีทักษะการใช้เครื่องเจียรไฟฟ้า

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถอ่านแบบงานเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือ รอยเชื่อมต่อชนแผ่น (Butt Weld)

2. สามารถเตรียมเครื่องเชื่อมและอุปกรณ์การเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือ

3. สามารถเตรียมโลหะชิ้นงานเชื่อม

4. สามารถเลือกลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์

5. สามารถปรับพารามิเตอร์ในการเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือ

6. สามารถจัดเตรียมสถานที่ทำงานเชื่อม

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์งานเชื่อมรอยเชื่อมต่อชนแผ่น (Butt Weld) ตามมาตรฐาน ISO และ AWS เช่น ขนาดของขาแนวเชื่อม ขนาดของคอแนวเชื่อม ตำแหน่งแนวเชื่อม สัญลักษณ์รอยต่อชนแผ่น เป็นต้น

2. ความรู้เกี่ยวกับลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ เช่น ชนิดของสารพอกหุ้ม รหัสลวดเชื่อมตามมาตรฐาน AWS เป็นต้น

3. ความรู้เกี่ยวกับชิ้นงานเชื่อม รอยต่อเชื่อม ตำแหน่งท่าเชื่อม

4. ความรู้เกี่ยวกับการปรับตั้งขั้วเชื่อมและกระแสไฟ ค่าพารามิเตอร์ในการเชื่อม เช่น กระแสไฟตรงต่อขั้วตรง กระแสไฟตรงต่อกลับขั้ว กระแสไฟสลับ กระแสไฟเชื่อม แรงดันเชื่อม ความเร็วในการเชื่อม เป็นต้น

5. ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมเครื่องเชื่อมและอุปกรณ์การเชื่อม เช่น เครื่องเชื่อมแบบ Transformer เครื่องเชื่อมแบบ Rectifier หัวเชื่อม สายกราวด์ (cable ground) ค้อนเคาะสแลก และแปรงลวด

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

1. แสดงการอ่านแบบงานหรือใบสั่งงานเชื่อม รอยเชื่อมต่อชนแผ่น (Butt Weld)

2. แสดงการเตรียมโลหะชิ้นงาน ลวดเชื่อม เครื่องเชื่อม และอุปกรณ์การเชื่อม

3. แสดงการตั้งค่ากระแสไฟเชื่อม และต่อขั้วเชื่อม



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

หลักฐานที่แสดงถึงความรู้เกี่ยวกับ สัญลักษณ์งานเชื่อมรอยเชื่อมต่อชนแผ่น (Butt Weld) ตามมาตรฐาน ISO AWS กระบวนการเชื่อม ลวดเชื่อม ชิ้นงานเชื่อม รอยต่อเชื่อม ตำแหน่งท่าเชื่อม การปรับตั้งขั้วเชื่อมและกระแสไฟ พารามิเตอร์ในการเชื่อม ขั้นตอนการเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือ การเตรียมเครื่องเชื่อมและอุปกรณ์การเชื่อม 



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญ ตรงตามสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน    

1. การสอบข้อเขียน

2. การสาธิตปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

การเตรียมการปฏิบัติงานให้คำนึงถึงใบสั่งงานเชื่อม เครื่องเชื่อม โลหะชิ้นงานเชื่อม ลวดเชื่อม การต่อขั้วเชื่อม สถานที่ทำงานเชื่อม อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเชื่อม



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. ใบสั่งงานรอยเชื่อมต่อชนแผ่น (Butt Weld) ประกอบด้วย แบบงานเชื่อมและสัญลักษณ์งานเชื่อม โลหะชิ้นงาน กระบวนการเชื่อม รอยต่อเชื่อม ลวดเชื่อม ตำแหน่งท่าเชื่อม และค่าพารามิเตอร์ในการเชื่อม

2. ใช้เครื่องเชื่อมแบบเรียงกระแส Rectifier

3. ใช้แผ่นเหล็กกล้าคาร์บอน หนาตั้งแต่ 6-9 มิลลิเมตร 

4. ใช้ลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ตามมาตรฐาน AWS A5.1 แบบด่าง (E-7016)

5. ใช้ต่อขั้วเชื่อมสำหรับเครื่องเชื่อมแบบ Rectifier ต่อขั้วเชื่อมแบบกระแสตรงต่อกลับขั้ว (DCEP) 

6. สถานที่ทำงานต้องทำความสะอาด บำรุงรักษา จัดเก็บเครื่องมืออุปกรณ์ในงานเชื่อมอย่างเป็นระเบียบ และมีอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยในการทำงาน 

7. อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการเชื่อม ได้แก่ เครื่องเชื่อม หน้ากาก ถุงมือ คีมจับชิ้นงาน ค้อนเคาะสแลก

8. บริเวณการสาธิตการปฏิบัติงานต้องมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. การสอบข้อเขียน ได้แก่ แบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก

2. การสาธิตปฏิบัติงาน ให้ปฏิบัติตามใบสั่งงาน 

            ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ