หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สนับสนุนให้เยาวชนได้ใช้ศักยภาพในการพัฒนาตนเอง

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-RYAR-069B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สนับสนุนให้เยาวชนได้ใช้ศักยภาพในการพัฒนาตนเอง

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

เจ้าหน้าที่ให้บริการเยาวชน


1 3412 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานสังคมสงเคราะห์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ เป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการเสริมพลังเยาวชนในการนำจุดแข็งและศักยภาพของตนมาใช้ในการดำเนินการจัดการกับความท้าทาย ปัญหา และการพัฒนาตนเอง สามารถใช้เครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อจัดทำแผนผังจุดแข็ง จุดอ่อน และความต้องการด้านการพัฒนาตนเองของเยาวชน รวมถึงสามารถทำงานร่วมกับเยาวชนในการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล บันทึกประวัติส่วนบุคคล ให้การสนับสนุนเยาวชนจัดการกับความเครียดความท้าทายอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ โดยการให้คำปรึกษาและคำแนะนำ ตลอดจนมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อส่งเสริมการรับฟังเสียงและความเป็นอยู่ที่ดีของเยาวชน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ทำงานกับเยาวชน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-    อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก -    พ.รบ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546-    พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560-    ประมวลกฎหมายอาญาที่เกี่ยวกับการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิ์ (มาตรา 305)-    พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550  -    พ.ร.บ. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559-    พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  -    พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553  

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30211

ใช้เครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อจัดทำแผนผังจุดแข็ง จุดอ่อน และความต้องการด้านพัฒนาการของเยาวชน

1.ระบุเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับจัดทำแผนผังจุดแข็ง จุดอ่อน และความต้องการด้านการพัฒนาของเยาวชน

30211.01 212494
30211

ใช้เครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อจัดทำแผนผังจุดแข็ง จุดอ่อน และความต้องการด้านพัฒนาการของเยาวชน

2.ใช้เครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อจัดทำแผนผังจุดแข็ง จุดอ่อน และความต้องการด้านการพัฒนาของเยาวชน


30211.02 212495
30212

ส่งเสริมเยาวชนให้สามารถนำจุดแข็งของตนมาใช้เพื่อวางแนวทางของตนเอง

1.ร่วมกับเยาวชนในการนำจุดแข็งของตนเองมาใช้เสริมสร้างศักยภาพในการฟื้นตัวและบรรลุศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ 

30212.01 212497
30212

ส่งเสริมเยาวชนให้สามารถนำจุดแข็งของตนมาใช้เพื่อวางแนวทางของตนเอง

2.สนับสนุนเยาวชนพัฒนาวิธีหาทางออกของตนเองและเอื้ออำนวยให้สามารถดำเนินการได้

30212.02 212498
30213

ร่วมกับเยาวชนในการพัฒนาแผนรายบุคคล

1.ร่วมกับเยาวชนในการพัฒนาแผนรายบุคคลที่ระบุเป้าหมาย กิจกรรม และกรอบเวลาสำหรับความก้าวหน้า พร้อมด้วยการสนับสนุน ที่เยาวชนต้องการ

30213.01 213863
30214

บันทึกประวัติส่วนบุคคลของเยาวชน

1.บันทึกประวัติส่วนบุคคลของเยาวชน

30214.01 213864
30214

บันทึกประวัติส่วนบุคคลของเยาวชน

2.ปฏิบัติตามขั้นตอนและระเบียบปฏิบัติเพื่อคุ้มครองเมื่อบันทึกประวัติเยาวชนเป็นรายบุคคล

30214.02 213865
30215

สนับสนุนให้เยาวชนจัดการกับปัญหาอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์

1.สนับสนุนเยาวชนในการจัดการปัญหาผ่านการเสริมพลัง ให้คำปรึกษา และคำแนะนำ

30215.01 213866
30215

สนับสนุนให้เยาวชนจัดการกับปัญหาอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์

2.ใช้กระบวนการการจัดการรายกรณีเพื่อร่วมกับเยาวชนในการแก้ปัญหาอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์

30215.02 213867
30216

ติดตามความก้าวหน้าของแผนรายบุคคลร่วมกับเยาวชน

1.กำกับ ทบทวนและติดตามความก้าวหน้าของแผนรายบุคคลของเยาวชน

30216.01 213868
30216

ติดตามความก้าวหน้าของแผนรายบุคคลร่วมกับเยาวชน

2.ส่งเสริมและสนับสนุนเยาวชนให้บรรลุความต้องการตามแผนรายบุคคลของตนเอง

30216.02 213869
30217

ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการรับฟังเสียงและสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของเยาวชน

1.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาเยาวชน

30217.01 213870
30217

ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการรับฟังเสียงและสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของเยาวชน

2.ร่วมกับชุมชนเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยของเยาวชน และการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายในกระบวนการตัดสินใจ

30217.02 213871

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการสื่อสารเพื่อสร้างความไว้วางใจ

2.    ทักษะการคิดสร้างสรรค์

3.    ทักษะการประเมินผล

4.    ทักษะการบันทึกประวัติรายบุคคล

5.    ทักษะการเสริมพลังและการให้คำปรึกษา

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เรื่องการใช้เครื่องมือสำหรับการพัฒนาแผนรายบุคคลของเยาวชน

2.    ความรู้เกี่ยวกับการจัดการรายกรณี

3.    ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หลักฐานแสดงประสบการณ์การทำงานกับเยาวชน หรือ การทำงานที่เกี่ยวข้อง

2.    หลักฐานการผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

3.    ผลงาน/รางวัล จากการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    หลักฐานการเรียน เช่น วุฒิการศึกษาแสดงการจบการศึกษาในหลักสูตร/คณะที่เกี่ยวข้องกับการ 

ทำงาน หรือ

2.    หลักฐานการผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

- N/A - 

(ง)    วิธีการประเมิน

1.    ข้อสอบปรนัย 

2.    ข้อสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

การใช้เครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อจัดทำแผนผังจุดแข็ง จุดอ่อน และความต้องการด้านการพัฒนาของเยาวชน โดยเกี่ยวข้องการวิเคราะห์ศักยภาพส่วนบุคคลของเยาวชนด้วยเครื่องมือ SWOT Analysis เพื่อวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ข้อจำกัดและโอกาสต่าง ๆ ที่เยาวชนมี กระบวนการนี้จะทำให้เยาวชนเข้าใจจุดอ่อน และแก้ไขจุดอ่อนได้ทันเวลา สามารถยับยั้งภัยคุกคามหรือป้องกันล่วงหน้าได้ รับรู้ประโยขน์จากจุดแข็ง เพื่อเสริมสร้างโอกาสได้มากขึ้น (Yiaga Africa,2019)

การจัดทำแผนรายบุคคลเพื่อพัฒนาตนเองของเยาวชน หมายถึง กรอบหรือแนวทาง ในการพัฒนาเยาวชนให้มีความรอบรู้ ทักษะ และพฤติกรรมที่เหมาะสม ที่จะช่วยให้เยาวชนสามารถพัฒนาตนเองให้บรรลุตามเป้าหมายตามความต้องการ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการเสริมจุดแข็ง (Strength) และพัฒนาจุดอ่อน (weakness) ของเยาวชน ด้วยกระบวนในการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล ซึ่งประกอบด้วย 1) การประเมินจุดแข็ง จุดอ่อนของเยาวชน 2) การเลือกวิธีการพัฒนาที่เหมาะสม 3) การนำไปฏิบัติจริง  และ 4) การติดตามประเมินผล (Satitirat C., 2020 as cited in Chompunut S., 2003)

การแก้ปัญหาอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ คือ การสนับสนุนเยาวชนในการจัดการความท้าทายผ่านการเสริมพลังและการให้คำปรึกษา ด้วยการสร้างสัมพันธภาพแบบสองทางระหว่างผู้ทำงานกับเยาวชน ผู้ทำงานควรมีทักษะในการกระตุ้นให้เยาวชนได้รู้ถึงภาวะจิตใจของตน มีแนวทางแก้ไขปัญหาของตนเองได้ และใช้กระบวนการการจัดการรายกรณีเพื่อร่วมกับเยาวชน และครอบครัวในการจัดการความท้าทายและความต้องการทุกมิติอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ทำงานกับเยาวชน เป็นผู้ทำหน้าที่ผู้จัดการรายกรณี (Case Manager) ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ ในการประเมิน วางแผนออกแบบบริการ ประสานเชื่อมโยงแหล่งทรัพยากร การติดตามประเมินผล พิทักษ์สิทธิ์ เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนได้เข้าถึงบริการที่สอดคล้องกับความต้องการ สามารถจัดการความท้าทายหรือคลี่คลายปัญหาที่ซับซ้อนได้ นำไปสู่การพึ่งตนเองและคุณภาพชีวิตที่ดี  (อภิญญา เวชยชัย,2559)

การติดตามความก้าวหน้าของแผนรายบุคคลร่วมกับเยาวชน หมายถึง การติดตาม ประเมินบริการของหน่วยงานที่รับการส่งต่อเยาวชน ติดตามผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการให้บริการนั้นว่าส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรกับเยาวชน และกำกับติดตามการดำเนินการตามแผนบริการ แผนพัฒนาเยาวชนรายบุคคล หากพบว่าขั้นตอนใดยังมีปัญหา ประสานทีมสหวิชาชีพเพื่อหาทางออกร่วมกัน (อภิญญา เวชยชัย,2559)

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    ข้อสอบปรนัย

2.    ข้อสอบสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ