หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สนับสนุนให้เยาวชนสามารถระบุและบรรลุเป้าหมายของตนเอง

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-QAUZ-066B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สนับสนุนให้เยาวชนสามารถระบุและบรรลุเป้าหมายของตนเอง

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ทำงานกับเยาวชน


1 3412 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานสังคมสงเคราะห์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ เป็นผู้ที่มีความรู้และความเข้าใจในหลักการสำคัญของการมีส่วนร่วมของเยาวชนอย่างมีความหมาย สามารถทำงานร่วมกับเยาวชนเพื่อสำรวจและระบุความต้องการและแรงบันดาลใจของเยาวชน พร้อมทั้งกำหนดวิธีการในการส่งเสริมเยาวชนให้รู้สึกปลอดภัยในการแสดงความคิดเห็น บอกแรงบันดาลใจ ความต้องการ และความกังวล ซึ่งจะนำไปสู่การเติมเต็มศักยภาพของเยาวชน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ทำงานกับเยาวชน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-    อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก -    พ.รบ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546-    พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30111

ร่วมกับเยาวชนเพื่อสำรวจ ระบุความต้องการ แรงบันดาลใจและความกังวลของเยาวชน

1.เสริมพลังให้กับเยาวชนให้มีส่วนร่วมในกระบวนการสำรวจความต้องการและแรงบันดาลใจของตนเอง ในการประเมินและวิเคราะห์ความต้องการทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม

30112.01 212435
30112

ส่งเสริมเยาวชนให้แสดงความคิดเห็น ความต้องการ แรงบันดาลใจ และความกังวล

1.ส่งเสริมความตระหนักรู้ในตนเอง การแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกของเยาวชน

30113.01 212441
30112

ส่งเสริมเยาวชนให้แสดงความคิดเห็น ความต้องการ แรงบันดาลใจ และความกังวล

2.สนับสนุนเยาวชนให้สามารถค้นหาแรงบันดาลใจ ความต้องการและความกังวลของตนเอง

30113.02 212442

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ

2.    ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์

3.    ทักษะการสื่อสาร เช่น การตั้งคำถาม การฟัง การสังเกต

4.    ทักษะการรวบรวมข้อมูล

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเรื่องคุณค่าของการมีส่วนร่วมของเยาวชน

2.    ความรู้เกี่ยวกับความต้องการและแรงบันดาลใจของเยาวชน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หลักฐานแสดงประสบการณ์การทำงานกับเยาวชน หรือ การทำงานที่เกี่ยวข้อง

2.    หลักฐานการผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

3.   ผลงาน/รางวัล จากการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    หลักฐานการเรียน เช่น วุฒิการศึกษาแสดงการจบการศึกษาในหลักสูตร/คณะที่เกี่ยวข้องกับการ 

ทำงาน หรือ

2.    หลักฐานการผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

- N/A - 

(ง)    วิธีการประเมิน

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

กระบวนการสำรวจ หมายถึง วิธีการที่ทำให้ทราบถึงความต้องการ แรงบันดาลใจและความกังวลของเยาวชนเพื่อนำไปสู่การทบทวนตนเอง เข้าใจตนเองมากขึ้น โดยใช้ทักษะการสื่อสารเพื่อทำให้เกิดการตระหนักรู้ในตนเอง กล้าแสดงความคิดเห็น กล้าแสดงออก เกิดการยอมรับตนเอง เรียนรู้ และมีเป้าหมายในการดำเนินชีวิต (สมพร โตนวล, 2558)

การประเมินและระบุความต้องการด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมของเยาวชน หมายถึง การประเมินความต้องการจำเป็นของเยาวชน ความสามารถของครอบครัวและผู้ปกครองเยาวชนในการตอบสนองความต้องการนั้น ๆ ของเยาวชน และปัจจัยด้านครอบครัวและสิ่งแวดล้อมที่อาจส่งผลกระทบต่อครอบครัวของเยาวชน ตลอดจนระบุแนวทางแก้ไขที่ให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีของเยาวชน โดยกระบวนการนี้มุ่งเน้นไปที่การตระหนักถึงจุดแข็งและศักยภาพของเยาวชนและครอบครัวของพวกเขา (Cox and Bentovim, 2000). 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.ข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ