หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการผลิตภาพการเพาะปลูกอ้อยอย่างต่อเนื่อง

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-WUEY-889A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการผลิตภาพการเพาะปลูกอ้อยอย่างต่อเนื่อง

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ เกษตรกรเพาะปลูกอ้อย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการจัดการผลิตภาพการเพาะปลูกอ้อยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประกอบด้วยการจัดการทรัพยากรเพื่อการเพาะปลูกอ้อยอย่างสมดุล การเพิ่มผลผลิตอย่างมีคุณธรรมและยั่งยืน การผลิตอ้อยคุณภาพสูง การพัฒนาการปฏิบัติงานของบุคคล และการพัฒนาระบบสนับสนุนการเพาะปลูกอ้อย     ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการจัดการผลิตภาพการเพาะปลูกอ้อยอย่างต่อเนื่อง สามารถจัดการทรัพยากรเพื่อการเพาะปลูกอ้อยอย่างสมดุล โดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยเฉพาะการจัดการทรัพยากรในท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ในการเพาะปลูกอ้อย และลดต้นทุนการเพาะปลูกอ้อย สามารถเพิ่มผลผลิตอย่างมีคุณธรรมและยั่งยืน โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก เพาะปลูกอ้อยเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติโดยถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถผลิตอ้อยที่มีคุณภาพ โดยผลิตอ้อยที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย สามารถพัฒนาการปฏิบัติงานของบุคคล โดยปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักความปลอดภัย บำรุงรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล และประสานให้คำปรึกษาแนะนำผู้ร่วมงาน ให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามแผน สามารถพัฒนาระบบสนับสนุนการเพาะปลูกอ้อย โดยจัดระบบเก็บข้อมูลและเอกสาร และเชื่อมโยงการผลิตกับการตลาด มีทักษะในการจัดการผลิตภาพการทำงาน ถ่ายทอด สอนงาน และกำกับดูแลผู้ร่วมงานให้บรรลุงานตามแผน เป็นแบบอย่างหรือผู้นำด้านจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
รหัสอาชีพ 6111 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก (ISCO, 2008)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B671

จัดการทรัพยากรเพื่อการเพาะปลูกอ้อยอย่างสมดุล

1.1 ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

B671.01 213261
B671

จัดการทรัพยากรเพื่อการเพาะปลูกอ้อยอย่างสมดุล

1.2 จัดการทรัพยากรในท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ในการเพาะปลูกอ้อย

B671.02 213262
B671

จัดการทรัพยากรเพื่อการเพาะปลูกอ้อยอย่างสมดุล

1.3 ลดต้นทุนการเพาะปลูกอ้อย

B671.03 213263
B672

เพิ่มผลผลิตอย่างมีคุณธรรมและยั่งยืน

2.1 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกอ้อย

B672.01 213264
B672

เพิ่มผลผลิตอย่างมีคุณธรรมและยั่งยืน

2.2 เพาะปลูกอ้อยเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติโดยถูกต้องตามกฎหมาย

B672.02 213265
B672

เพิ่มผลผลิตอย่างมีคุณธรรมและยั่งยืน

2.3 เพาะปลูกอ้อยอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

B672.03 213266
B673

ผลิตอ้อยที่มีคุณภาพ

3.1 ผลิตอ้อยที่ได้มาตรฐาน

B673.01 213267
B673

ผลิตอ้อยที่มีคุณภาพ

3.2 ผลิตอ้อยที่ปลอดภัย

B673.02 213268
B674

พัฒนาการปฏิบัติงานของบุคคล

4.1 ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักความปลอดภัย 

B674.01 213269
B674

พัฒนาการปฏิบัติงานของบุคคล

4.2 บำรุงรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล 

B674.02 213270
B674

พัฒนาการปฏิบัติงานของบุคคล

4.3 ให้คำแนะนำ กำกับดูแล ผู้ร่วมงานให้บรรลุงานตามแผน

B674.03 213271
B675

พัฒนาระบบสนับสนุนการเพาะปลูกอ้อย

5.1 จัดระบบเก็บข้อมูลและเอกสาร

B675.01 213272
B675

พัฒนาระบบสนับสนุนการเพาะปลูกอ้อย

5.2 เชื่อมโยงการผลิตกับการตลาด

B675.02 213273

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. รวบรวมข้อมูลการเพาะปลูกอ้อย

2. วิเคราะห์ สังเคราะห์ต้นทุนในการเพาะปลูกอ้อย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

การใช้ทรัพยากรหมุนเวียนในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ข้อมูลความต้องการของตลาดที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงงานน้ำตาล ตลาดในภูมิภาค หรือตลาดโลก


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

หลักฐานที่แสดงประสบการณ์การปฏิบัติงานจากหนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ผลการสอบจากหลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร หนังสือรับรองการอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

ไม่มี

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    การจัดการทรัพยากรเพื่อการเพาะปลูกอ้อยอย่างสมดุล คือการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการจัดการทรัพยากรในท้องถิ่นโดยนำมาหมุนเวียนใช้เพื่อประโยชน์ในการเพาะปลูกอ้อย  และลดต้นทุนการเพาะปลูกอ้อย

2.    การเพิ่มผลผลิตอย่างมีคุณธรรมและยั่งยืน คือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงความยั่งยืนของกิจกรรมการเพาะปลูกอ้อย ปฏิบัติงานอย่างมีคุณธรรมในเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติโดยถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 

3.    การผลิตอ้อยที่มีคุณภาพ คือการผลิตอ้อยที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและปลอดภัย เช่น อ้อยที่ได้รับการรับรองจากมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 

4.    การพัฒนาการปฏิบัติงานของบุคคล คือการพัฒนาคุณภาพผู้ปฏิบัติงานให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย

-    การปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักความปลอดภัย ประสิทธิภาพในที่นี้จะหมายถึง วิธีการทำงานที่ใช้เวลาและสูญเสียพลังงานในการทำงานน้อยที่สุด แต่เกิดประโยชน์และความพึงพอใจสูงสุด 

-    การบำรุงรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเป็นผู้มีสุขภาพดี มีพลัง ร่างกายแข็งแรง มีภูมิคุ้มกัน ส่งผลกระทบทางบวกต่อการปฏิบัติงานของบุคคล สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-    การให้คำแนะนำ กำกับดูแล ผู้ร่วมงานให้บรรลุงานตามแผน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจชัดเจนในวิธีปฏิบัติ รวมถึงการถ่ายทอดทักษะและเทคนิคต่าง ๆ ที่จำเป็นมาประยุกต์ใช้ในงานตามประสบการณ์

5.    การพัฒนาระบบสนับสนุนการเพาะปลูกอ้อย คือการจัดระบบเก็บข้อมูลและเอกสาร เพื่อนำข้อมูลกลับมาใช้ประโยชน์ มีการเชื่อมโยงการผลิตกับการตลาด เพื่อสนับสนุนการเพาะปลูกอ้อยให้ผลิตได้อย่างยั่งยืน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    หลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สามารถใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากรบรรยาย การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้ สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน

2.    รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ