หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เพาะปลูกอ้อยได้ตามมาตรฐาน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-WCBW-882A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เพาะปลูกอ้อยได้ตามมาตรฐาน

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ เกษตรกรเพาะปลูกอ้อย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูกอ้อยได้ตามมาตรฐาน ซึ่งประกอบด้วยการวางแผนเพาะปลูกอ้อยตามมาตรฐาน และการเพาะปลูกอ้อยตามเกณฑ์กำหนดของมาตรฐานการปฏิบัติทางการ เกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงาน     ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการเพาะปลูกอ้อยได้ตามมาตรฐาน สามารถวางแผนเพาะปลูกอ้อยตามมาตรฐาน โดยสำรวจรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานการเพาะปลูกอ้อย และศึกษาเกณฑ์กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงาน สามารถเพาะปลูกอ้อยตามเกณฑ์กำหนดของมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงาน ในด้านการเลือกพื้นที่เพาะปลูกอ้อย การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรอย่างปลอดภัย การจัดการก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อย การเก็บเกี่ยวและจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อย การขนส่งโดยรักษาคุณภาพอ้อย การดูแลสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม และบันทึกข้อมูลเพื่อการตรวจประเมินและตามสอบผลิตผล มีทักษะทางเทคนิคในการทำงาน สามารถเลือกใช้หลักการและเครื่องมือในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย และแก้ปัญหาทางเทคนิคหน้างานควบคู่กับการใช้คู่มือหรือภายใต้การแนะนำ และมีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
รหัสอาชีพ 6111 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก (ISCO, 2008)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B571

วางแผนเพาะปลูกอ้อยตามมาตรฐาน

1.1 สำรวจรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานการเพาะปลูกอ้อย

B571.01 213216
B571

วางแผนเพาะปลูกอ้อยตามมาตรฐาน

1.2 ศึกษาเกณฑ์กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงาน

B571.02 213217
B572

เพาะปลูกอ้อยตามเกณฑ์กำหนดของมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงาน

2.1 เลือกพื้นที่เพาะปลูกอ้อย

B572.01 213218
B572

เพาะปลูกอ้อยตามเกณฑ์กำหนดของมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงาน

2.2 ใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรอย่างปลอดภัย

B572.02 213219
B572

เพาะปลูกอ้อยตามเกณฑ์กำหนดของมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงาน

2.3 จัดการก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อย

B572.03 213220
B572

เพาะปลูกอ้อยตามเกณฑ์กำหนดของมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงาน

2.4 เก็บเกี่ยวและจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อย

B572.04 213221
B572

เพาะปลูกอ้อยตามเกณฑ์กำหนดของมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงาน

2.5 ขนส่งโดยรักษาคุณภาพอ้อย

B572.05 213222
B572

เพาะปลูกอ้อยตามเกณฑ์กำหนดของมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงาน

2.6 ดูแลสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม

B572.06 213223
B572

เพาะปลูกอ้อยตามเกณฑ์กำหนดของมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงาน

2.7 บันทึกข้อมูลเพื่อการตรวจประเมินและตามสอบผลิตผล

B572.07 213224

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1.มาตรฐานการเพาะปลูกอ้อย (การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อย GAP)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

การสำรวจรวบรวมข้อมูล

(ข) ความต้องการด้านความรู้

เกณฑ์กำหนดของมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

หลักฐานที่แสดงประสบการณ์การปฏิบัติงานจากหนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ผลการสอบจากหลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร หนังสือรับรองการอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

ไม่มี

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    การวางแผนเพาะปลูกอ้อยตามมาตรฐาน คือการสำรวจรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานการเพาะปลูกอ้อยในมิติต่าง ๆ รวมทั้งศึกษาเกณฑ์กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติทางการ เกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices, GAP) สำหรับอ้อยโรงงาน

2.    การเพาะปลูกอ้อยตามเกณฑ์กำหนดของมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงาน คือการดำเนินการเพาะปลูกอ้อยตามเกณฑ์กำหนดของมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงานในด้านต่าง ๆ คือ

-    พื้นที่ปลูก กำหนดให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนโลหะหนักและวัตถุอันตรายทางการเกษตร ที่จะทำให้เกิดการตกค้างหรือปนเปื้อนในผลิตผล ในระดับที่เกินมาตรฐานตามข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

-    การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้เบื้องต้นเรื่องชนิดศัตรูพืชของอ้อย และการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ถูกต้อง กรณีมีความจำเป็น ต้องใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร ให้ใช้ตามคําแนะนําของกรมวิชาการเกษตร หรือคําแนะนําในฉลากที่ขึ้นทะเบียนอยางถูกตองกับกรมวิชาการเกษตร ต้องเก็บวัตถุอันตรายทางการเกษตรและทำลายภาชนะบรรจุที่ใช้หมดแล้วอย่างถูกต้อง

-    การจัดการก่อนการเก็บเกี่ยว กำหนดให้มีการอนุรักษ์และบำรุงดิน คัดเลือกท่อนพันธุที่มีตาสมบูรณ์ปลอดศัตรูพืช และตรงตามพันธุ์ที่บันทึก ต้องกำจัดและควบคุมศัตรูพืชหลังการปลูกและตัดอ้อยอย่างถูกต้องตามคำแนะนำของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง

-    การเก็บเกี่ยวและปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว กำหนดให้เก็บเกี่ยวอ้อยอายุไม่น้อยกว่า 10 เดือน หรือน้ำอ้อยมีความหวานไม่น้อยกว่า 20 องศาบริกซ์ ไม่เผาใบอ้อยเพื่อเก็บเกี่ยวและหลังการเก็บเกี่ยว

-    การขนส่ง กำหนดให้ต้องส่งอ้อยที่เก็บเกี่ยวแล้วถึงโรงงานผลิตน้ำตาลอย่างช้าไม่เกิน 3 วัน ไม่มีสิ่งปลอมปน เช่น ดิน หิน หรือวัตถุอื่นใดที่ไม่ใช่อ้อย รวมทั้งส่วนของต้นอ้อยที่ไม่ต้องการ ปะปนรวมไปกับลำอ้อยบนรถขนส่ง โดยให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายที่เกี่ยวข้อง

-    สุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน กำหนดให้มีการดูแลสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานอย่างเหมาะสมและเพียงพอ

-    การบันทึกข้อมูล กำหนดให้มีการบันทึกข้อมูลเพื่อให้สามารถตรวจประเมินและตามสอบสินค้าในระดับฟาร์ม และเก็บรักษาการบันทึกข้อมูลไม่น้อยกว่า 2 ปี ข้อมูลเหล่านี้ ได้แก่ 

: จำนวนพื้นที่ปลูก ผลผลิตต่อไร่ และความหวาน 

: ที่มาของปัจจัยการผลิต เช่น ท่อนพันธุ์ ปุ๋ย วัตถุอันตรายทางการเกษตร

: การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร

: หลักฐานการฝึกอบรมของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับศัตรูพืชของอ้อยและการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร

: การอนุรักษ์และบำรุงดิน

: การกำจัดและควบคุมศัตรูพืช

: วันที่ปลูก และวันที่เก็บเกี่ยว

: ผู้รับซื้อผลิตผล

: หนังสือสัญญาการซื้อขายอ้อย

: บันทึกรายงานของคณะทำงานควบคุมการผลิตประจำโรงงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    ประเมินความสามารถในการทำงานจากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค 

2.    หลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สามารถใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากรบรรยาย การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้ สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน

3.    รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ