หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบประสิทธิภาพการย่อยสลายและการหมัก

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-NMMT-598A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบประสิทธิภาพการย่อยสลายและการหมัก

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO-08     7549 คนทำก๊าซชีวภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถสำรวจ ตรวจสอบ ประสิทธิภาพการย่อยสลายและการหมัก โดยต้องมีความรู้ด้านองค์ประกอบทางเคมี และการประเมินปริมาณผลผลิต และทักษะในการสำรวจ ตรวจสอบ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิต รวมทั้งสามารถระบุปัญหาที่เกิดขึ้นในการย่อยสลายและการหมัก รวมถึงการติดต่อประสานงานส่วนงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประสานงานด้านการผลิต

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. คู่มือการปฏิบัติงาน การบำรุงรักษา และป้องกันอุบัติเหตุจากระบบก๊าซชีวภาพสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมและขยะชุมชน โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน 25562. คู่มือการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกแบบ การผลิต การควบคุมคุณภาพ และการใช้ก๊าซชีวภาพ (Biogas) สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม โดยสำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม 2553 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-RG01-4-0031

ตรวจสอบปัญหาในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

อธิบายหลักการของกระบวนการบ่อยสลายและการหมักของระบบผลิตก๊าซชีวภาพ

BMG-RG01-4-0031.01 203774
BMG-RG01-4-0031

ตรวจสอบปัญหาในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

อธิบายหลักการเกิดปฏิกิริยาชีวเคมีของกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

BMG-RG01-4-0031.02 203775
BMG-RG01-4-0031

ตรวจสอบปัญหาในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

อธิบายเกี่ยวกับสมบัติของผลที่ได้จากแต่ละขั้นของกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

BMG-RG01-4-0031.03 203776
BMG-RG01-4-0031

ตรวจสอบปัญหาในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

ตรวจสอบปัญหาในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

BMG-RG01-4-0031.04 203777
BMG-RG01-4-0031

ตรวจสอบปัญหาในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

วิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

BMG-RG01-4-0031.05 203778
BMG-RG01-4-0031

ตรวจสอบปัญหาในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

จัดทำแผนเพื่อหาแนวทางการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

BMG-RG01-4-0031.06 203779
BMG-RG01-4-0032

ตรวจสอบค่าคงที่ความปลอดภัยของในกระบวนการย่อยและการหมัก

อธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีเกี่ยวกับการคงอยู่ และการทำงานของจุลินทรีย์ที่ใช้ในการย่อยสลายและการหมัก

BMG-RG01-4-0032.01 203780
BMG-RG01-4-0032

ตรวจสอบค่าคงที่ความปลอดภัยของในกระบวนการย่อยและการหมัก

ตรวจสอบ Activity ของจุลินทรีย์ในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

BMG-RG01-4-0032.02 203781
BMG-RG01-4-0032

ตรวจสอบค่าคงที่ความปลอดภัยของในกระบวนการย่อยและการหมัก

วิเคราะห์ค่าคงที่และรวบรวมปัญหาของกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

BMG-RG01-4-0032.03 203782
BMG-RG01-4-0032

ตรวจสอบค่าคงที่ความปลอดภัยของในกระบวนการย่อยและการหมัก

วิเคราะห์และปรับภาระโหลดตามตัวแปรที่มีผลต่อค่าคงที่กระบวนการย่อยสลายและการหมัก

BMG-RG01-4-0032.04 203783
BMG-RG01-4-0032

ตรวจสอบค่าคงที่ความปลอดภัยของในกระบวนการย่อยและการหมัก

รายงานผลและประสานงานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

BMG-RG01-4-0032.05 203784
BMG-RG01-4-0033

จัดทำแผนงานปฏิบัติและแผนงานป้องกัน

อธิบายวิธีการในการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง

BMG-RG01-4-0033.01 203785
BMG-RG01-4-0033

จัดทำแผนงานปฏิบัติและแผนงานป้องกัน

รวบรวมปัญหาในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

BMG-RG01-4-0033.02 203786
BMG-RG01-4-0033

จัดทำแผนงานปฏิบัติและแผนงานป้องกัน

วิเคราะห์ความเสี่ยง โอกาส และผลกระทบ

BMG-RG01-4-0033.03 203787
BMG-RG01-4-0033

จัดทำแผนงานปฏิบัติและแผนงานป้องกัน

จัดทำแผนการปฏิบัติการเชิงป้องกันสำหรับกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

BMG-RG01-4-0033.04 203788

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการอ่านและแปรผลข้อมูลหรือผลทางวิทยาศาสตร์

2. ทักษะด้านการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางวิทยาศาสตร์

3. ทักษะในการใช้ตรรกะและเหตุผลในการระบุจุดแข็งและจุดอ่อนและสรุปแนวทางการแก้ปัญหา

4. ทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ด้านกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ

2. ความรู้ด้านสมบัติทางเคมีและชีวภาพ ของผลผลิตจากกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

3. ความรู้ด้านองค์ประกอบ สภาวะแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลต่อการย่อยสลายในสภาวะไม่ใช้อากาศ และระบบที่เกี่ยวข้องของการผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อเป็นพื้นฐานในการปรับปรุงกระบวนการผลิตหรือเสนอแนะการดำเนินงาน

4. ความรู้ด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

     2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

     3. แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

     2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ

     3. ผลการสอบข้อเขียน

     4. ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     1. หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

       - ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

       - วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

       - ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ง) วิธีการประเมิน

    1. สอบปรนัย

    2. สอบสัมภาษณ์

    3. สอบสถานการณ์จำลอง

    4. สอบข้อเขียน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการสำรวจ ตรวจสอบ ประสิทธิภาพการย่อยสลายและการหมักให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของบริษัท ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

(ก)    คำแนะนำ 

-N/A-

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

     1. ผลที่ได้จากกระบวนการย่อยสลายและการหมัก หมายถึง ผลและผลผลิตที่เกิดขึ้นจากกระบวนการย่อยสลายแต่ละขั้นตอน ได้แก่ 

        ขั้น 1 ไฮโดรลิซิส (Hydrolysis) 

        ขั้น 2 แอซิดิฟิเคชั่น หรือ แอซิโดเจเนซิส (Acidification/ Acidogenesis) 

        ขั้น 3 อะซิโตเจเนซิส (Acetogenesis) และ

        ขั้น 4 เมทาไนเซชั่น หรือ เมทาโนเจเนซิส (Methanization/Methanogenesis)

    2. คาคงที่ของกระบวนการย่อยสลายและการหมัก หมายถึง การทำงาน ของจุลินทรีย์ และผลที่เกิดขึ้นตามขึ้นตอนของการย่อยสลายและการหมัก ต้องมีค่าเป็นไปตามแผนประเมิน และกระบวนการสามารถดำเนินการไปได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

     3. ภาระโหลดตามตัวแปรที่มีผลต่อค่าคงที่ หมายถึง การปรับ เติม หรือลด ปริมาณองค์ประกอบที่มีผลกระทบต่อกระบวนการตามตัวแปรต่าง ๆ เช่นอุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่าง หรือสารอาหาร ให้เหมาะสมกับกระบวนการแต่ละขั้นตอน เพื่อให้จุลินทรีย์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และได้ผลผลิตตามเป้าหมาย

     4. ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง หมายถึง ผู้ปฏิบัติ ส่วนงาน ที่เกี่ยวข้องและมีหน้าที่ปฏิบัติงานอยู่ในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก ได้แก่ งานควบคุมกระบวนการ งานวิเคราะห์และควบคุมองค์ประกอบ ฝ่ายจัดเก็บ และฝ่ายปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพ เป็นต้น ที่จำเป็นต้องทราบหรือใช้ข้อมูลในการประเมินผลร่วมกับการทำงาน

      5. ปัญหาในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก หมายถึง ข้อผิดปกติทั้งด้านการผลิต และเชิงเทคนิคที่เกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการผลิต ความต่อเนื่อง ผลคุณภาพของผลผลิต

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3. การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย

 



ยินดีต้อนรับ