หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เก็บตัวอย่างก๊าซชีวภาพ

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-NQXG-637A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เก็บตัวอย่างก๊าซชีวภาพ

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO-08     7549 คนทำก๊าซชีวภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่อธิบายถึงการเก็บตัวอย่าง โดยต้องมีความรู้ด้านองค์ประกอบของสสารหรือตัวอย่างที่จะดำเนินการเก็บ และทักษะที่จำเป็นในการเก็บตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์ผล ดำเนินงานตามแผนการเก็บตัวอย่าง ใช้เครื่องมือเก็บตัวอย่างได้เหมาะสมและถูกวิธี พร้อมจัดส่งตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พรบ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 25542. กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-QC01-3-0031

เก็บตัวอย่างก๊าซชีวภาพเพื่อนำไปวิเคราะห์

ระบุมาตรการความปลอดภัยในการเก็บตัวอย่างก๊าซชีวภาพ

BMG-QC01-3-0031.01 200009
BMG-QC01-3-0031

เก็บตัวอย่างก๊าซชีวภาพเพื่อนำไปวิเคราะห์

อธิบายวิธีการเก็บและการรักษาสภาพตัวอย่างก๊าซชีวภาพก่อนส่งตรวจวิเคราะห์

BMG-QC01-3-0031.02 200010
BMG-QC01-3-0031

เก็บตัวอย่างก๊าซชีวภาพเพื่อนำไปวิเคราะห์

อธิบายวิธีการใช้อุปกรณ์เก็บตัวอย่างก๊าซชีวภาพและเลือกใช้อุปกรณ์  ป้องกันภัยส่วนบุคคลในการเก็บตัวอย่างก๊าซชีวภาพได้อย่างเหมาะสม

BMG-QC01-3-0031.03 200011
BMG-QC01-3-0031

เก็บตัวอย่างก๊าซชีวภาพเพื่อนำไปวิเคราะห์

เก็บตัวอย่างก๊าซชีวภาพเพื่อส่งวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการได้ถูกต้อง ตามวิธีการปฎิบัติงานหรือข้อกำหนด

BMG-QC01-3-0031.04 200012
BMG-QC01-3-0031

เก็บตัวอย่างก๊าซชีวภาพเพื่อนำไปวิเคราะห์

ทำความสะอาดอุปกรณ์/เครื่องมือหลังการใช้งาน พร้อมจัดเก็บได้อย่างถูกต้อง

BMG-QC01-3-0031.05 200013
BMG-QC01-3-0032

แปรผลการวิเคราะห์ตัวอย่างก๊าซชีวภาพและและจัดทำรายงาน

อ่านค่าผลการวิเคราะห์ตัวอย่างก๊าซชีวภาพ

BMG-QC01-3-0032.01 200005
BMG-QC01-3-0032

แปรผลการวิเคราะห์ตัวอย่างก๊าซชีวภาพและและจัดทำรายงาน

แปรผลค่าการวิเคราะห์ตัวอย่างก๊าซชีวภาพพร้อมกันตรวจสอบ ค่าการวิเคราะห์ว่าอยู่ในสภาวะปกติ

BMG-QC01-3-0032.02 200006
BMG-QC01-3-0032

แปรผลการวิเคราะห์ตัวอย่างก๊าซชีวภาพและและจัดทำรายงาน

บันทึกค่าและจัดทำรายงานผลการวิเคราะห์ตัวอย่างก๊าซชีวภาพ

BMG-QC01-3-0032.03 200007
BMG-QC01-3-0032

แปรผลการวิเคราะห์ตัวอย่างก๊าซชีวภาพและและจัดทำรายงาน

ประสานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อรายงานผลการวิเคราะห์วัตถุดิบ (ก๊าซชีวภาพ) ในการผลิตไฟฟ้าเพื่อควบคุมคุณภาพเชื้อเพลิงในการผลิต

BMG-QC01-3-0032.04 200008

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการเก็บตัวอย่างนำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ

2. ทักษะในการวิเคราะห์/แปรผลเทียบกับค่ามาตรฐาน

3. มีทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงวิทยาศาสตร์หรือเชิงเทคนิค

4. มีทักษะในการใช้อุปกรณ์การเก็บตัวอย่างได้เหมาะสมกับเชื้อเพลิงและถูกวิธีการหลักการเก็บตัวอย่างทดสอบ

5. มีทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

6. ทักษะในการจัดทำรายงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้ในการเก็บและการรักษาสภาพตัวอย่างก่อนส่งตรวจวิเคราะห์ 

2. มีความรู้ด้านสมบัติทางเคมีและชีวภาพของเชื้อเพลิง/วัตถุดิบ

3. มีความรู้ด้านเครื่องมือทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิง/วัตถุดิบ การอ่านข้อมูล การบันทึกผล และเลือกใช้เครื่องมือได้อย่างเหมาะสม

4. ความรู้ในการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลให้เหมาะสมกับงาน

5. มีความรู้ด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมดำเนินการ เช่น .docx .xlsx และ .pptx และโปรแกรมด้านการจัดทำบัญชี เป็นต้น

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

     2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

     3. แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

    2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับการการผลิตน้ำใช้ในอุตสาหกรรม หรือการดำเนินงานในด้านที่เกี่ยวข้อง

    3. ผลการสอบข้อเขียน

    4. ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     1. หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

        - ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

        - วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

        - ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ง) วิธีการประเมิน

     1. สอบปรนัย

     2. สอบสัมภาษณ์

     3. สอบสถานการณ์จำลอง/แฟ้มสะสมผลงาน

     4. สอบข้อเขียน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการเก็บตัวอย่างให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของบริษัท ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

(ก) คำแนะนำ 

      ผู้ดำเนินงานด้านการเก็บตัวอย่าง จะต้องมีความรู้ด้านองค์ประกอบของสสารหรือตัวอย่างที่จะดำเนินการเก็บ และทักษะที่จำเป็นในการเก็บตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์ผล ดำเนินงานตามแผนการเก็บตัวอย่าง ใช้เครื่องมือเก็บตัวอย่างได้เหมาะสมและถูกวิธี พร้อมจัดส่งตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง     

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

     1. มาตรการความปลอดภัย หมายถึง ความปลอดภัยในการเก็บตัวอย่างน้ำเสียในบ่อบำบัดน้ำเสีย ระดับความลึกของบ่อ และตำแหน่งการเก็บตัวอย่าง เป็นต้น 

     2. ข้อกำหนดการเก็บตัวอย่าง หมายถึง การสุ่มเลือกเก็บตัวอย่าง เวลาที่เก็บ ปริมาณการเก็บตัวอย่างและการรักษาสภาพตัวอย่าง เพื่อส่งวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3. การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย

 



ยินดีต้อนรับ