หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมสารเคมีและอุปกรณ์ในการทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิง

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-ZBTV-636A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมสารเคมีและอุปกรณ์ในการทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิง

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO-08     1321 หัวหน้าแผนกควบคุมคุณภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่อธิบายถึงการเตรียมอุปกรณ์ในการทดสอบ  โดยต้องมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในด้านของเครื่องมือทดสอบ สารเคมี และวัตถุอันตราย ในห้องปฏิบัติการ วิธีการเตรียมพื้นที่และอุปกรณ์ในการทดสอบได้ถูกต้องตามเทคนิคหรือมาตรฐานการทดสอบ และเป็นไปตามหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. คู่มือปฏิบัติด้านความปลอดภัย ห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2558

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-QC01-3-0021

จัดเตรียมสารเคมีในการทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิง

อธิบายวิธีการทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิง

BMG-QC01-3-0021.01 200000
BMG-QC01-3-0021

จัดเตรียมสารเคมีในการทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิง

ระบุชนิดเคมีที่ใช้ในการทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิง

BMG-QC01-3-0021.02 200001
BMG-QC01-3-0021

จัดเตรียมสารเคมีในการทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิง

อธิบายวิธีใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในการการปฎิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี

BMG-QC01-3-0021.03 200002
BMG-QC01-3-0021

จัดเตรียมสารเคมีในการทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิง

อธิบายหลักการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีในห้องปฎิบัติการอย่างปลอดภัย

BMG-QC01-3-0021.04 200003
BMG-QC01-3-0021

จัดเตรียมสารเคมีในการทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิง

จัดเตรียมสารเคมีในการทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิง

BMG-QC01-3-0021.05 200004
BMG-QC01-3-0022

จัดเตรียมอุปกรณ์/เครื่องมือในการทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิง

อธิบายวิธีการใช้งานอุปกรณ์/เครื่องมือในการทดสอบ

BMG-QC01-3-0022.01 199997
BMG-QC01-3-0022

จัดเตรียมอุปกรณ์/เครื่องมือในการทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิง

อธิบายหลักการทำงานในห้องปฎิบัติการอย่างปลอดภัย

BMG-QC01-3-0022.02 199998
BMG-QC01-3-0022

จัดเตรียมอุปกรณ์/เครื่องมือในการทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิง

จัดเตรียมเครื่องมือ/อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการเพื่อรับเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น

BMG-QC01-3-0022.03 199999
BMG-QC01-3-0023

จัดเก็บสารเคมีและดูแลรักษาอุปกรณ์ในห้องทดสอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

ทำความสะอาดอุปกรณ์ทดสอบหลังเสร็จสิ้นการทดสอบในแต่ละวัน

BMG-QC01-3-0023.01 199993
BMG-QC01-3-0023

จัดเก็บสารเคมีและดูแลรักษาอุปกรณ์ในห้องทดสอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

จัดเก็บอุปกรณ์การทดสอบได้ถูกต้องตามหลักการเก็บในห้องทดสอบ

BMG-QC01-3-0023.02 199994
BMG-QC01-3-0023

จัดเก็บสารเคมีและดูแลรักษาอุปกรณ์ในห้องทดสอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

จัดเก็บและทิ้งของเสียได้อย่างถูกวิธี

BMG-QC01-3-0023.03 199995
BMG-QC01-3-0023

จัดเก็บสารเคมีและดูแลรักษาอุปกรณ์ในห้องทดสอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

ดูแลรักษาอุปกรณ์ในห้องทดสอบให้มีความปลอดภัยและอยู่ในสภาพใช้งานได้อยู่เสมอ

BMG-QC01-3-0023.04 199996

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการได้ถูกต้องตามมาตรฐานการทดสอบ

2. มีทักษะในจัดการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง

3. มีทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงวิทยาศาสตร์หรือเชิงเทคนิค

4. มีทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ในการจัดเตรียมอุปกรณ์การทดสอบตามหลักความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

2. ความรู้เรื่องสารเคมีและเก็บรักษาสารเคมีแต่ละประเภท ที่ใช้ในการทดสอบอย่างปลอดภัย

3. ความรู้ด้านการทำความสะอาดอุปกรณ์การทดสอบได้ถูกต้องตามเทคนิคการทดสอบ

4. ความรู้ความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมดำเนินการ เช่น .docx .xlsx และ .pptx และโปรแกรมด้านการจัดทำบัญชี เป็นต้น

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

     2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

     3. แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

     2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับการการผลิตน้ำใช้ในอุตสาหกรรม หรือการดำเนินงานในด้านที่เกี่ยวข้อง

     3. ผลการสอบข้อเขียน

     4. ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     1. ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับการวางแผนการจัดซื้อ-จัดหาวัตถุดิบโดยพิจารณาหลักฐานด้านความรู้

     2. หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

         - ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

         - วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

         - ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ง) วิธีการประเมิน

     1. สอบปรนัย

     2. สอบสัมภาษณ์

     3. สอบสถานการณ์จำลอง/แฟ้มสะสมผลงาน

     4. สอบข้อเขียน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการเตรียมอุปกรณ์ในการทดสอบให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของบริษัท ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

(ก) คำแนะนำ 

       ผู้ดำเนินงานด้านการเตรียมอุปกรณ์ในการทดสอบ จะต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทดสอบ เครื่องมือทดสอบ สารเคมี และวัตถุอันตราย ในห้องปฏิบัติการ วิธีการเตรียมพื้นที่และอุปกรณ์ในการทดสอบได้ถูกต้องตามเทคนิคหรือมาตรฐานการทดสอบ และเป็นไปตามหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ                                                      (ข) คำอธิบายรายละเอียด 

     1. ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ หมายถึง ความปลอดภัยในการใช้สารเคมี การใช้เครื่องมือทดสอบ และการเตรียมพื้นที่ทดสอบเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ การเก็บรักษาสารเคมี อุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

     2. อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล หมายถึง อุปกรณ์ป้องกันสารเคมี ได้แก่ อุปกรณ์ป้องกันหน้า ตา มือ เท้า ร่างกาย การได้ยิน และระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3. การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย

 



ยินดีต้อนรับ