หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์และรายงานผลการทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิงชีวมวล

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-RXZT-638A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์และรายงานผลการทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิงชีวมวล

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO-08     1321 หัวหน้าแผนกควบคุมคุณภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่อธิบายถึงการทดสอบ วิเคราะห์ และรายงานผล โดยต้องมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในด้านวิธีการหรือกระบวนการทดสอบ การใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์ และวิเคราะห์คุณภาพเชื้อเพลิงเป็นอย่างดี พร้อมจัดทำรายงานผลการวิเคราะห์คุณภาพเชื้อเพลิง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พรบ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-QC01-3-0041

ทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิงในกระบวนการเผาไหม้

วางแผนการทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิงเพื่อให้ควบคุมคุณภาพของเชื้อเพลิงขาเข้า

BMG-QC01-3-0041.01 200020
BMG-QC01-3-0041

ทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิงในกระบวนการเผาไหม้

อธิบายวิธีการทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิงชีวมวล

BMG-QC01-3-0041.02 200021
BMG-QC01-3-0041

ทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิงในกระบวนการเผาไหม้

ทดสอบคุณภาพของเชื้อเพลิงตามวิธีการทดสอบ

BMG-QC01-3-0041.03 200022
BMG-QC01-3-0041

ทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิงในกระบวนการเผาไหม้

เก็บข้อมูลการเผาไหม้เพื่อนำไปวิเคระห์คุณภาพเชื้อเพลิง

BMG-QC01-3-0041.04 200023
BMG-QC01-3-0041

ทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิงในกระบวนการเผาไหม้

วิเคราะห์คุณภาพเชื้อเพลิงในกระบวนการเผาไหม้

BMG-QC01-3-0041.05 200024
BMG-QC01-3-0042

วิเคราะห์คุณภาพเชื้อเพลิงก่อนเข้าระบบเผาไหม้

ตรวจสอบสัดส่วนของวัตถุดิบที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการเผาไหม้

BMG-QC01-3-0042.01 200017
BMG-QC01-3-0042

วิเคราะห์คุณภาพเชื้อเพลิงก่อนเข้าระบบเผาไหม้

วิเคราะห์คุณภาพเชื้อเพลิงและองค์ประกอบ ก่อนเข้าระบบเผาไหม้

BMG-QC01-3-0042.02 200018
BMG-QC01-3-0042

วิเคราะห์คุณภาพเชื้อเพลิงก่อนเข้าระบบเผาไหม้

วิเคราะห์ข้อมูลการเผาไหม้และผลการเผาไหม้ เพื่อนำไปปรับปรุงประสิทธิภาพของเชื้อเพลิง

BMG-QC01-3-0042.03 200019
BMG-QC01-3-0043

บันทึกผลและจัดทำรายงานการวิเคราะห์คุณภาพเชื้อเพลิง/วัตถุดิบ

บันทึกผลคุณภาพเชื้อเพลิง ก่อน-หลัง การเผาไหม้

BMG-QC01-3-0043.01 200014
BMG-QC01-3-0043

บันทึกผลและจัดทำรายงานการวิเคราะห์คุณภาพเชื้อเพลิง/วัตถุดิบ

รายงานผลการวิเคราะห์คุณภาพเชื้อเพลิง/วัตถุดิบ

BMG-QC01-3-0043.02 200015
BMG-QC01-3-0043

บันทึกผลและจัดทำรายงานการวิเคราะห์คุณภาพเชื้อเพลิง/วัตถุดิบ

จัดทำรายงานและรายงานผลการวิเคราะห์คุณภาพเชื้อเพลิงต่อฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (ฝ่ายการจัดซื้อ การจัดการคลัง) และจัดเตรียมวัตถุดิบ ในการจัดหาเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพต่อไป)

BMG-QC01-3-0043.03 200016

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการจัดทำแผนการทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิง/วัตถุดิบ เพื่อให้ควบคุมเชื้อเพลิง/วัตถุดิบให้มีคุณภาพตลอดเวลามีทักษะในการจัดทำรายงานการทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิง/วัตถุดิบ

2. ทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงวิทยาศาสตร์หรือเชิงเทคนิค

3. ทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

4. ทักษะในการวิเคราะห์ผล และจัดทำรายงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ด้านการทดสอบและวิเคราะห์คุณภาพเชื้อเพลิงชีวมวลตามมาตรฐานสมาคมการทดสอบและวัสดุอเมริกัน (American Society for Testing and Materials; ASTM)

2. ความรู้ด้านสมบัติทางเคมีและชีวภาพ รวมถึงด้านสมบัติของเชื้อเพลิงทั้ง Proximate analysis, Ultimate analysis และค่าความร้อน (calorific value)

3. ความรู้ด้านเครื่องมือทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิง/วัตถุดิบ การอ่านข้อมูล การบันทึกผล และเลือกใช้เครื่องมือได้อย่างเหมาะสม

4. ความรู้ด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมที่เกี่ยวช้องกับงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

     2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

     3. แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

     2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับการการผลิตน้ำใช้ในอุตสาหกรรม หรือการดำเนินงานในด้านที่เกี่ยวข้อง

    3. ผลการสอบข้อเขียน

    4. ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     1. ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับการวางแผนการจัดซื้อ-จัดหาวัตถุดิบโดยพิจารณาหลักฐานด้านความรู้

     2. หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

         - ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

         - วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

         - ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ง) วิธีการประเมิน

     1. สอบปรนัย

     2. สอบสัมภาษณ์

     3. สอบสถานการณ์จำลอง/แฟ้มสะสมผลงาน

     4. สอบข้อเขียน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการทดสอบ วิเคราะห์ และรายงานผลให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของบริษัท ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

(ก) คำแนะนำ 

      ผู้ดำเนินงานด้านการทดสอบ วิเคราะห์ และรายงานผล จะต้องมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในด้านวิธีการหรือกระบวนการทดสอบ การใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์ และวิเคราะห์คุณภาพเชื้อเพลิงเป็นอย่างดี พร้อมจัดทำรายงานผลการวิเคราะห์คุณภาพเชื้อเพลิง

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

      การทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิง/วัตถุดิบ หมายถึง การทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิงตามมาตรฐาน ดังนี้

      - ทดสอบ proximate analysis วิเคราะห์ปริมาณคาร์บอนคงตัว ความชื้น เถ้า สารที่ระเหยได้ ตามมาตรฐาน ASTM D3172-3175 หรือ ASTM D5142

      - ทดสอบ Ultimate analysis วิเคราะห์ปริมาณคาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน กำมะถัน ตามมาตรฐาน ASTM D5373 และ ASTM D3176-3177

      - ทดสอบค่าความร้อน (calorific value) ตามมาตรฐาน ASTM D586

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3. การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย

 



ยินดีต้อนรับ