หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำแผนซ่อมบำรุงประจำปีและแผนจัดซื้อชิ้นส่วนอะไหล่

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-SETR-698A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำแผนซ่อมบำรุงประจำปีและแผนจัดซื้อชิ้นส่วนอะไหล่

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO-08 7233 ช่างซ่อมบำรุงประจำโรงงาน/ช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักรโรงงาน                                 อุตสาหกรรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถจัดทำแผนซ่อมบำรุงประจำปี โดยตรวจสอบชิ้นส่วนอะไหล่เพื่อจัดทำแผนซ่อมบำรุง วางแผนการจัดซื้อชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนซ่อมบำรุงประจำปี รวมถึงจัดทำแผนงบประมาณการสั่งซื้อเครื่องจักร/อะไหล่ หรือแผนการส่งซ่อมได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พรบ. จดทะเบียนเครื่องจักร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 กรมโรงงาน2. พรบ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 25543. กฏกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร  ปั้นจั่น  และหม้อน้ำ  พ.ศ. 2564 4. กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 25625. กฎกระทรวง เรื่อง กําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 25586. กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2564 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-MR01-4-0021

ตรวจสอบชิ้นส่วนอะไหล่เพื่อจัดทำแผนซ่อมบำรุง

ตรวจสอบชิ้นส่วนอะไหล่อุปกรณ์เครื่องจักร ประเภทสิ้นเปลือง (ตรวจสอบในคลังและที่ต้องการใช้)

BMG-MR01-4-0021.01 213092
BMG-MR01-4-0021

ตรวจสอบชิ้นส่วนอะไหล่เพื่อจัดทำแผนซ่อมบำรุง

วิเคราะห์ชิ้นส่วนอะไหล่/อุปกรณ์ ที่มีความจำเป็นและสึกหรอง่าย

BMG-MR01-4-0021.02 213093
BMG-MR01-4-0021

ตรวจสอบชิ้นส่วนอะไหล่เพื่อจัดทำแผนซ่อมบำรุง

จัดทำ Check list ประเภทความสำคัญ อะไหล่ที่ต้องใช้เวลาในการจัดหา

BMG-MR01-4-0021.03 213094
BMG-MR01-4-0022

จัดทำแผนการจัดซื้อและงบประมาณชิ้นส่วนอะไหล่/เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

ประสานงานกับผู้ผลิตในการจัดซื้อชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

BMG-MR01-4-0022.01 213095
BMG-MR01-4-0022

จัดทำแผนการจัดซื้อและงบประมาณชิ้นส่วนอะไหล่/เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

จัดทำบัญชีรายชื่อบริษัทผู้จัดหาชิ้นส่วนหรือการส่งซ่อม

BMG-MR01-4-0022.02 213096
BMG-MR01-4-0022

จัดทำแผนการจัดซื้อและงบประมาณชิ้นส่วนอะไหล่/เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

วางแผนการจัดซื้อชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

BMG-MR01-4-0022.03 213097
BMG-MR01-4-0022

จัดทำแผนการจัดซื้อและงบประมาณชิ้นส่วนอะไหล่/เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

จัดทำแผนการจัดซื้อและงบประมาณการสั่งซื้อชิ้นส่วนอะไหล่/อุปกรณ์ เครื่องจักรรายปี

BMG-MR01-4-0022.04 213098
BMG-MR01-4-0022

จัดทำแผนการจัดซื้อและงบประมาณชิ้นส่วนอะไหล่/เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

ขออนุมัติแผนและประสานฝ่ายจัดซื้อเพื่อให้ดำเนินการตามแผน

BMG-MR01-4-0022.05 213099
BMG-MR01-4-0023

จัดทำแผนงานซ่อมบำรุงประจำปี

รวบรวมข้อมูลเพื่อการจัดทำแผนงานซ่อมบำรุงรายปีหรือทวนสอบแผนงานซ่อมบำรุงรายปี (กรณีมีแผนแล้ว)

BMG-MR01-4-0023.01 213100
BMG-MR01-4-0023

จัดทำแผนงานซ่อมบำรุงประจำปี

จัดทำแผนงานซ่อมบำรุงรายปี

BMG-MR01-4-0023.02 213101
BMG-MR01-4-0023

จัดทำแผนงานซ่อมบำรุงประจำปี

ขออนุมัติแผนซ่อมบำรุงประจำปี

BMG-MR01-4-0023.03 213102
BMG-MR01-4-0023

จัดทำแผนงานซ่อมบำรุงประจำปี

ถ่ายทอดแผนงานซ่อมบำรุงรายปีไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง

BMG-MR01-4-0023.04 213103

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการติดต่อสื่อสารในเชิงช่าง

2. ทักษะในการอ่าน การใช้ภาษาเชิงเทคนิค และการอ่านแบบเครื่องกล

3. ทักษะในการใช้เครื่องมือวัดเชิงกล และทางไฟฟ้า พร้อมตรวจสอบและตั้งค่าการใช้งานได้อย่างถูกต้อง

4. ทักษะในการปฏิบัติ ปรับปรุงแก้ไขเครื่องจักร อุปกรณ์ตามลำดับขั้นตอนตามคู่มือ

5. ทักษะในการวิเคราะห์ ปรับปรุงแก้ไขเครื่องจักร อุปกรณ์ขั้นสูง

6. ทักษะการสรุปผลการซ่อมบำรุง วัสดุอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นและสึกหรอง่าย

7. ทักษะการอ่านแบบเครื่องกล

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้การปฏิบัติขั้นพื้นฐานและขั้นสูงด้าน เครื่องจักรและอุปกรณ์

2. ความรู้เกี่ยวกับแบบเครื่องกล 

3. ความรู้ในกระบวนการผลิตพลังงานความร้อนและไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวลและชีวภาพ

4. ความรู้ด้านการถ่ายเทความร้อน Heat Transfer เทอร์โมไดนามิคส์ (Thermodynamics) และกลศาสตร์ของไหล (Fluid mechanics) เป็นต้น 

5. ความรู้ระบบผลิตไอน้ำจากหม้อน้ำ ระบบเตาเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวลและชีวภาพ

6. ความรู้ด้านการใช้งานอุปกรณ์ในกระบวนการผลิตเครื่องยนต์ก๊าซ หรือกังหันก๊าซ

7. ความรู้ด้านการใช้งานอุปกรณ์ในกระบวนการผลิต เครื่องกล และอุปกรณ์มาตรวัด มิเตอร์

8. ความรู้การใช้งานระบบบริหารและจัดการงานซ่อมบำรุงด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (ระบบ CMMS หรือ Computerized Maintenance Management System)

9. ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

10 ความรู้เกี่ยวกับ พรบ. และ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

     2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

     3. แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น                                                                                                                                                                        (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

     2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ

     3. ผลการสอบข้อเขียน

     4. ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     1. หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

       -    ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

       -    วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

       -    ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ง) วิธีการประเมิน

     1. สอบปรนัย

     2. สอบสัมภาษณ์

     3. สอบสถานการณ์จำลอง/แฟ้มสะสมผลงาน

     4. สอบข้อเขียน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ขั้นตอนการดำเนินงานในการทดสอบ และรายงานผล การเปลี่ยน/ปรับปรุง/การซ่อมบำรุง เครื่องจักรและอุปกรณ์โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามมาตรฐานแผนการดำเนินงาน และนโยบายของบริษัท ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง 

(ก) คำแนะนำ 

-N/A-

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

      1. การวางแผนการซ่อมบำรุงครื่องจักร (Preventive Maintenance) เป็นการดูแลชิ้นส่วนของเครื่องจักร ให้มีโอกาสล้มเหลวในการทำหน้าที่ของเค้าให้น้อยที่สุด ซึ่งเครื่องจักรจะต้องไม่หยุดกระทันหันในขณะที่ทำงาน แบ่งเป็น 2 แบบ

          - แผน PM ตามระยะเวลา (Time-based PM) เป็นการใช้เวลากำหนดเพื่อทำนายสภาพและคุณสมบัติของเครื่องจักร 

          - แผน PM ตามปริมาณการใช้งาน (Usage-based PM) เป็นการกำหนดตามลักษณะปริมาณการใช้งาน เช่น กำหนดตามจำนวนครั้ง (Cycle) หรือตามระยะทาง (กรณีเป็นยานพาหนะ)

      2. การตรวจสอบชิ้นส่วนอะไหล่ เป็นการตรวจสอบชิ้นส่วนที่มีในคลัง หรือที่รายงานในระบบริหารจัดการงานซ่อมบำรุง (Computerized Maintenance Management System: CMMS)

      3. CMMS เป็นระบบบริหารจัดการงานซ่อมบำรุงด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ออกแบบเพื่อเก็บข้อมูลงานซ่อมทั้งหมดในองค์กร ตั้งแต่การออกงานแจ้งซ่อม (Maintenance Notification: MN) หลังจากนั้นในแจ้งซ่อมจะนำเข้าสู่กระบวนการวางแผนงาน (Planning) ว่าใช้คน/เวลา เท่าไหร่ และจะเข้าไปซ่อมได้เมื่อไหร่ ใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง ลำดับความสำคัญแค่ไหน จนออกเป็นใบสั่งซ่อม (Maintenance Order: MO) 

       หลังจากนั้นช่างซ่อมจึงเข้าไปซ่อมเครื่องจักรที่เสียหาย มีการบันทึกข้อมูลการซ่อม ผลการซ่อมจะนำเก็บไปรวบรวมเพื่อประเมินผล และจัดทำกลยุทธในงานซ่อมต่อไป รวมถึงตลอดจนประสิทธิภาพในการผลิตโรงงาน โปรแกรมในงานซ่อมบำรุงรักษาด้วยระบบคอมพิวเตอร์เป็นกุญแจสำคัญของ ต้นทุน และประสิทธิภาพในการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3. การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย

 



ยินดีต้อนรับ